คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถาวร ตันตราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดีเหนือทรัพย์สิน แม้ไม่ยื่นคำร้องก่อนขายทอดตลาด และความชอบด้วยกฎหมายของการงดการไต่สวน
คำร้องของผู้ร้องฉบับก่อนเป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ส่วนคำร้องของผู้ร้องฉบับหลังเป็นการร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลภายนอกไว้ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุตามบทกฎหมายคนละเหตุคนละมาตราเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือร้องซ้ำ คำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287ไม่ใช่คำฟ้องตามมาตรา 1(3) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล คงเสียแต่ค่าคำร้องเหมือนคำร้องธรรมดา และการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรืออนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดมิได้ขัดแย้งกัน ไม่ได้ทำให้คำร้องนั้นเสียไป ตามคำร้องหมายความว่าหากเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้ จึงขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามป.วิ.พ. มาตรา 287 โดยเท้าความถึงคำร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 289 ฉบับก่อน ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ จำเลย ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคลดังกล่าวมีโอกาสคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้ว ซึ่งตามคำคัดค้านของโจทก์นั้นก็มิได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องตามสัญญาจำนองว่าเป็นเงินเท่าใด และผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองนั้นหรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้อง คำคัดค้านของโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดการไต่สวนจึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่องเพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง เป็นแต่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายโดยปลอดจำนองตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ร้องและเมื่อขายทอดตลาดได้แล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจลงโทษในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่ละกระทงไม่เกินห้าปี การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยสมควรได้รับโทษเพียงกรรมเดียวจะเป็นฐานจำหน่ายเฮโรอีน หรือฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อจำหน่ายก็ได้ กับขอให้ลงโทษในสถานเบาด้วยนั้น เป็นการฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ราคาขายทอดตลาดต่ำกว่าวงเงินจำนองและราคาประเมิน ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและชอบที่จะยกเลิกได้
ในการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับวงเงินจำนองพร้อมค่าอุปกรณ์ ถ้าจะขายราคาต่ำกว่านั้นควรให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองยินยอมหรือมีเหตุผลพิเศษเพื่อประโยชน์ของคู่ความ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้ผู้ซื้อทรัพย์ ไปในราคาเพียง 205,000 บาท ต่ำกว่าวงเงินจำนองเมื่อ 5 ปีก่อน ถึง45,000 บาท ทั้งที่เพิ่งเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และไม่ ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปใน ราคานี้ และได้ความต่อมาว่า หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนี้แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาด ใหม่มีผู้ซื้อได้โดยให้ราคาสูงสุดถึง 360,000 บาท ซึ่งสูงกว่า การ ขายทอดตลาดครั้งพิพาทถึง 155,000 บาท ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปนั้น ต่ำ เกิน ไปมาก ไม่ใช่ราคาที่พอสมควร ส่อให้เห็นวี่แวว อันไม่สุจริต ถือได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดฝ่าฝืนบทบัญญัติ ว่าด้วย การ บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง โจทก์จึงชอบ ที่จะขอให้ยกเลิกเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1838/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์โดยร่วมกันกระทำผิด: การกระทำความผิดร่วมกันในสถานที่เปลี่ยวและการคืนเงินบางส่วนไม่ถือเป็นเจตนาดี
วันเกิดเหตุ ผ. พาผู้เสียหายซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศชมวัดโดยเรือรับจ้างของจำเลย ขากลับเมื่อจำเลยขับเรือมาถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จำเลยหยุดเรือแล้วพูดภาษาไทยกับ ผ. ว่าต้องการค่าโดยสาร เมื่อผู้เสียหายทราบจึงหยิบกระเป๋าสตางค์ออกมาแต่ยังไม่ทันส่งเงินให้ ผ. ได้หยิบเอาเงิน2,000 บาท จากกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปส่งให้จำเลยบอกผู้เสียหายว่าเป็นค่าโดยสาร จำเลยแสดงท่าทางไม่พอใจต้องการเงินค่าโดยสารมากกว่านั้นอีก ผ. จึงหยิบเงินจากกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายให้จำเลยอีก 500 บาท ผ. ยังแจ้งแก่ผู้เสียหายว่าไม่เพียงพอ ต้องการอีก 50 เหรียญสหรัฐอเมริกา แต่ผู้เสียหายไม่มีให้ ผู้เสียหายเป็นชาวต่างประเทศและเป็นผู้โดยสารคนเดียวอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับ ผ. และจำเลยแสดงท่าทางขึงขังผู้เสียหายกลัวอันตรายจึงไม่กล้าขัดขืน เมื่อจำเลยขับเรือเข้าไปถึงฝั่ง ผู้เสียหายเห็นว่าปลอดภัยจึงได้พยายามเรียกร้องเอาเงินคืนผ.เอาเงินจากจำเลยคืนผู้เสียหาย1,000บาทจากนั้นผ.และจำเลยก็แยกย้ายกันไป พฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า ผ. กับจำเลยรู้เห็นว่าจะกระทำการดังกล่าวด้วยกัน เป็นการร่วมกันกระทำความผิดเป็นตัวการด้วยกัน ส่วนการที่ ผ. และจำเลยคืนเงินบางส่วนให้ผู้เสียหายเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิด เพราะผู้เสียหายโวยวายขอเงิน การคืนเงินบางส่วนให้อาจเป็นการผ่อนคลายไม่ให้ผู้เสียหายติดใจดำเนินคดี จะนำมาเป็นเครื่องชี้เจตนาในการกระทำผิดหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1838/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์ร่วมกัน: การกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยมีเจตนาข่มขู่เพื่อให้ได้ทรัพย์สิน
วันเกิดเหตุ ผ.พาผู้เสียหายซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศชมวัดโดยเรือรับจ้างของจำเลย ขากลับเมื่อจำเลยขับเรือมาถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จำเลยหยุดเรือแล้วพูดภาษาไทยกับ ผ.ว่าต้องการค่าโดยสาร เมื่อผู้เสียหายทราบจึงหยิบกระเป๋าสตางค์ออกมาแต่ยังไม่ทันส่งเงินให้ ผ.ได้หยิบเอาเงิน 2,000 บาท จากกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปส่งให้จำเลย บอกผู้เสียหายว่าเป็นค่าโดยสาร จำเลยแสดงท่าทางไม่พอใจต้องการเงินค่าโดยสารมากกว่านั้นอีก ผ.จึงหยิบเงินจากกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายให้จำเลยอีก 500 บาท ผ.ยังแจ้งแก่ผู้เสียหายว่าไม่เพียงพอ ต้องการอีก 50 เหรียญสหรัฐอเมริกา แต่ผู้เสียหายไม่มีให้ ผู้เสียหายเป็นชาวต่างประเทศและเป็นผู้โดยสารคนเดียว อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับ ผ.และจำเลยแสดงท่าทางขึงขัง ผู้เสียหายกลัวอันตรายจึงไม่กล้าขัดขืน เมื่อจำเลยขับเรือเข้าไปถึงฝั่งผู้เสียหายเห็นว่าปลอดภัยจึงได้พยายามเรียกร้องเอาเงินคืน ผ.เอาเงินจากจำเลยคืนผู้เสียหาย1,000 บาท จากนั้น ผ.และจำเลยก็แยกย้ายกันไป พฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า ผ.กับจำเลยรู้เห็นว่าจะกระทำการดังกล่าวด้วยกัน เป็นการร่วมกันกระทำความผิดเป็นตัวการด้วยกัน ส่วนการที่ ผ.และจำเลยคืนเงินบางส่วนให้ผู้เสียหายเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิด เพราะผู้เสียหายโวยวายขอเงิน การคืนเงินบางส่วนให้อาจเป็นการผ่อนคลายไม่ให้ผู้เสียหายติดใจดำเนินคดี จะนำมาเป็นเครื่องชี้เจตนาในการกระทำผิดหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายสภาพยางรถยนต์และความเร็วในการขับขี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ยางล้อหน้าด้านขวามือของรถยนต์ที่จำเลยขับอยู่ในสภาพเก่า และบรรยายว่าจำเลยขับรถลงเนินด้วยความเร็วสูงนั้น เป็นการบรรยายฟ้องประกอบข้อหาที่จำเลยขับรถด้วยความประมาทฟ้องโจทก์ได้บรรยายพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) แล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ายางล้อหน้าด้านขวาของรถยนต์ที่จำเลยขับมีสภาพยางเก่าอย่างไรฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ (แถบบันทึกเสียง) ต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุนความน่าเชื่อถือ จึงจะใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงได้
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ แต่เสียงในแถบบันทึกเสียงที่จำเลยอ้างว่าเป็นเสียงโจทก์นั้น จำเลยมีตัวจำเลยเพียงปากเดียวเบิกความว่าเป็นเสียงของโจทก์ที่พูดโต้ตอบกับจำเลยโดยจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้น่าเชื่อว่าเป็นเสียงของโจทก์โจทก์ปฏิเสธว่าเสียงในแถบบันทึกเสียงไม่มีเสียงของโจทก์และโจทก์ไม่ได้พูดโต้ตอบกับจำเลยดังที่ปรากฏในเอกสารที่จำเลยอ้างว่าถอดจาก แถบบันทึกเสียง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เคยพูดโต้ตอบกับจำเลยตามเสียง ที่บันทึก ไว้ในแถบบันทึกเสียง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทมาตราโดยศาลอุทธรณ์ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้จำเลยไม่อาจฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 จำคุก 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 วรรคสาม โทษจำคุกคงเป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับ บทกฎหมายที่ลงโทษจำเลยโดยระบุวรรคให้ถูกต้องอันเป็นการแก้ไข เล็กน้อย และคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยยังมิได้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมิได้มีการกระทำโดยทุจริตนั้น การที่ จะวินิจฉัยว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ และจำเลยกระทำโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาที่ต้อง พิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ใต้ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้โจทก์เป็นผู้รื้อโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลคงพิพากษาให้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยรื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้จำเลยไปจดทะเบียนทางภารจำยอมให้โจทก์หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี โดยมิได้ขออนุญาตจากจำเลยและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะ ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความ จำเลยนำสืบว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยขออนุญาตจากจำเลยโดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ การนำสืบดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่มีน้ำหนักอันควรรับฟัง.
of 60