คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถาวร ตันตราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก: ผู้จัดการมรดกในฐานะส่วนตัว vs. กองมรดก และอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของมารดาโจทก์ แม้จำเลยที่ 1เป็นยาย ของโจทก์ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ให้ตนเองและให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตาย ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก หาได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยาย อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยาย ไม่ แม้จำเลยที่ 1ได้ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทน ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์กลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จึงไม่ต้องห้ามตามป.พ.พ. มาตรา 1562. โจทก์เป็นทายาทของผู้ตาย ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 1 ตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จึงไม่อาจยกอายุความมรดก1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ทรัพย์พิพาทมิใช่มรดกของผู้ตาย เพราะจำเลยที่ 1 และสามีซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองแปลง โดยใส่ชื่อผู้ตายและบุคคลอื่นไว้แทนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ การกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับหรือไม่ อยู่ในดุลพินิจ ของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่ความหลังจำเลยถึงแก่กรรม และการฟ้องคดีเกี่ยวกับจัดการมรดก
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1ผู้มรณะนั้นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์จึงให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังไปแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องของโจทก์ที่ 1 ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 2เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 เสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: ความผิดกรรมเดียวและความรับผิดชอบของผู้ร่วมกระทำ
การที่ผู้เสียหายและผู้ตายอยู่ใกล้กันและจำเลยกับพวกใช้ไม้ตีและใช้มีดแทงผู้เสียหายจนล้มลง ระหว่างนั้นพวกจำเลยอีกคนหนึ่งใช้มีดแทงผู้ตายถึงแก่ความตายโดยจำเลยยืนถือไม้ พวกของจำเลยยืนถือมีดอยู่ข้าง ๆ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งคราวเดียวกันสืบเนื่องจากการโต้เถียงถึงกับจำเลยจะชกต่อยกับผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกเข้าไปห้าม พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันมาทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกในคราวเดียวกัน พวกจำเลยใช้มีดปาดตาลยาวประมาณ 1 คืบ เป็นอาวุธแทงผู้ตายถูกที่เหนือราวนมข้างขวาทะลุเข้าปอด เลือดตกในอกขวามาก เป็นการเลือกแทงบริเวณอวัยวะสำคัญ และแทงอย่างแรง ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในชั่วระยะเวลาไม่นาน เป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า การร่วมกันไปใช้ไม้และมีดปลายแหลมเป็นอาวุธตีและแทงผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกที่ไม่ชอบกัน เห็นได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาต้องการทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกทุกคนไม่แบ่งแยกว่าใครเป็นใคร ลักษณะของเจตนาในการกระทำความผิดเป็นอันเดียวกันแม้จะมีการกระทำหลายหน ต่อบุคคลหลายคนด้วยกันก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การพยายามฆ่าผู้เสียหายและฆ่าผู้ตายถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียว ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: การปิดบังข้อมูลทายาทเพื่อฉ้อฉลทรัพย์มรดก และการวินิจฉัยสถานะความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.โดยมิได้ระบุว่าผู้ร้องเป็นทายาทและได้ให้ความยินยอมด้วย และบัญชีเครือญาติท้ายคำร้องมีข้อความเพียงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของป. กับ อ. เท่านั้น ยังมิใช่กรณีปิดบังทรัพย์มรดกเพื่อฉ้อฉลทายาทอื่น แม้ในคดีที่ผู้คัดค้านพิพาทกับบุคคลอื่นศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป.แต่ในคดีดังกล่าวไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป. เพราะเหตุที่ ป.จดทะเบียนสมรสกับ อ. มารดาผู้คัดค้านในภายหลังหรือไม่ ดังนั้นในคดีนี้ศาลชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวซึ่งผู้ร้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โดยตรงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: การพิสูจน์ความเป็นทายาทและเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.โดยมิได้ระบุว่าผู้ร้องเป็นทายาทและได้ให้ความยินยอมด้วย และบัญชีเครือญาติท้ายคำร้องมีข้อความเพียงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของ ป.กับ อ.เท่านั้น ยังมิใช่กรณีปิดบังทรัพย์มรดกเพื่อฉ้อฉลทายาทอื่น
แม้ในคดีที่ผู้คัดค้านพิพาทกับบุคคลอื่นศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป. แต่ในคดีดังกล่าวไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป.เพราะเหตุที่ ป.จดทะเบียนสมรสกับ อ.มารดาผู้คัดค้านในภายหลังหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ศาลชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวซึ่งผู้ร้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โดยตรงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าสินค้าเป็นสัญญากู้ และน้ำหนักพยานหลักฐานในการพิสูจน์สัญญากู้
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เมื่อจำเลยขอรับเช็คคืน แล้วทำสัญญากู้ให้ไว้กับโจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้บัญญัติมิให้ศาลยอมรับฟังพยานที่เป็นพี่น้องกับคู่ความฝ่ายที่อ้าง โจทก์มี บ. น้องของโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เบิกความยืนยันตรงกับโจทก์ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำนวน 170,000 บาท ส่วนจำเลยเองมีแต่เพียงตัวจำเลยเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุนว่ารับสินค้าของโจทก์ไปขาย แล้วโจทก์ให้จำเลยลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ ประกอบกับจำเลยรับราชการเป็นครูการที่จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่มีการกรอกข้อความนั้น ผิดวิสัยของบุคคลที่มีความรู้ทั่ว ๆ ไปคำพยานโจทก์จึงมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้ดีกว่าพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน เริ่มนับจากวันผิดนัดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ไปเก็บจากลูกค้าเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2526 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2526 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 รวมเป็นเงิน 28,989.20 บาท จำเลยที่ 1ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 โจทก์จึงอาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์รับผิดใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันเกิดเหตุตามมาตรา 686อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนั้นมิใช่เริ่มนับตั้งวันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การรับรู้ของผู้แทนกรมทางหลวง vs. ข้าราชการในสังกัด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดยฟังว่าพนักงานของโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนฟ้องเกิน 1 ปีการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องผิดต่อกฎหมายเนื่องจากโจทก์เป็นกรมในรัฐบาล มีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ ตามประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 218ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 32 วรรคสอง อธิบดีจึงเป็นผู้แทนของกรมแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ ไม่จำต้อง ถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ผิดต่อกฎหมาย และมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานปากเดียว และการรับฟังพยานหลักฐานโดยรวม
ขณะที่โจทก์ร่วมที่ 2 นอนอยู่ที่ห้องโถงซึ่งมีหลอดไฟนีออนขนาดใหญ่เปิดไว้ ได้ยินเสียงคนขึ้นบันไดบ้านจึงลืมตาดู เห็นจำเลยที่ 2 กับคนร้ายอีกสองคน ต่างถืออาวุธปืนสั้นคนละกระบอกเดินขึ้นบันได จำเลยที่ 2เดินเข้าไปในห้องนอนของบุตรสาวโจทก์ร่วมที่ 1ซึ่งอยู่อีกห้องนอนหนึ่ง แล้วจำเลยที่ 2 ออกจากห้องนั้นมาค้นตัวโจทก์ที่ 2 ถามหาทรัพย์สิน จำเลยที่ 2 ให้โจทก์ร่วมนอนตะแคงหันหน้าเข้าข้างฝา จากนั้นจำเลยที่ 2 ลงไปข้างล่าง หลังจากนั้นคนร้ายอีกคนหนึ่งก็พาโจทก์ร่วมที่ 2 ลงมาข้างล่าง ซึ่งมีไฟฟ้าเปิดไว้อยู่แล้ว เห็นจำเลยที่ 2 จะไม่ได้บอกถึง ลักษณะคนร้ายให้โจทก์ร่วมที่ 1 และเจ้าพนักงานตำรวจ ที่มาที่เกิดเหตุฟังก็ไม่พิรุธถึงขนาดที่จะรับฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ร่วมที่ 2 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนถึงลักษณะ ของคนร้าย หลังจากเกิดเหตุในวันนั้นเป็นเวลาไม่นาน ข้อเท็จจริงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมที่ 2เห็นและจำเลยที่ 2 ได้ว่าเป็นคนร้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยเกินคำขอในอุทธรณ์: ความชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า ขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งทรัพย์ที่ปล้นมาหรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดดังนี้ ข้อหาปล้นทรัพย์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย เป็นการพิพากษาเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 215
of 60