คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถาวร ตันตราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: ศาลไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมและยืนราคาขายที่เหมาะสม
ศาลมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา และมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีวันที่ 1 ธันวาคม 2531 โดยจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2) ในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี มีผู้เสนอราคาสูงสุดกว่าราคาประเมินจำเลยคัดค้านลอย ๆ ว่าเป็นราคาต่ำกว่าราคาประเมินของกรมที่ดิน แต่เมื่อราคาที่เสนอเป็นราคาเหมาะสมกับสภาพทรัพย์สิน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์นั้นไป เป็นการใช้ ดุลพินิจโดยสุจริต มิได้เป็นการแสดงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีสมรู้กับ โจทก์และผู้ร้องจำเลยจะขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดใหม่ โดยแสดง หนังสือรับรองราคาประเมินเข้ามาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์โรงแรมและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสและมรดก
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1 โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แบ่งมรดกที่ดิน, โรงแรม, เงินฝาก, รายได้โรงแรม ระหว่างทายาทและอดีรภัสยา โดยคำนึงถึงสัดส่วนการเป็นเจ้าของและรายได้
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน ทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภรรยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111และมาตรา 1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้ทายาทคนหนึ่งปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ทายาทคนนั้นก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357-358/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อฉ้อโกงทางธุรกิจ ศาลตัดสินลงโทษตามบทอาญาที่หนักที่สุด
จำเลยทั้งสามตกลงทำการชั่งเศษทองแดงที่จำเลยทั้งสามตกลงซื้อจากโจทก์ร่วมรวม 13 ครั้ง ต่างวันเวลากันด้วยเครื่องชั่งที่ผิดอัตราซึ่งถูกแก้ไขโดยเจตนาลดเครื่องชั่งทำให้ได้เศษทองแดงเกินไป เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270และพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31หลายกรรมต่างกัน รวม 13 ครั้ง แต่การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามแต่ละครั้งนั้น จำเลยทั้งสามมีและใช้เครื่องชั่งในวันเวลาเดียวกัน เท่ากับจำเลยทั้งสามมีเจตนาเดียวกันเป็นกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 270 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357-358/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อฉ้อโกงและบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192
จำเลยทั้งสามตกลงทำการชั่งเศษทองแดงที่จำเลยทั้งสามตกลงซื้อจากโจทก์ร่วมรวม 13 ครั้ง ต่างวันเวลากันด้วยเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา และถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยเจตนาลดเครื่องชั่งทำให้ได้เศษทองแดงเกินไป เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270และพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 หลายกรรมต่างกัน รวม 13 ครั้ง แต่การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งนั้นจำเลยทั้งสามมีและใช้เครื่องชั่งในวันเวลาเดียวกันเท่ากับจำเลยทั้งสามมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเศษทองแดงหรือใช้ราคาแก่โจทก์ร่วม โดยโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามกระทงละ 6 เดือนและ 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามกระทงละ 3 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามไม่เกินกระทงละ 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกคู่ความฎีกาได้แต่ข้อกฎหมาย ที่จำเลยฎีกาว่าจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยทั้งสามกระทำความผิดเพียงสองกระทงนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการลงโทษ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้จากการเล่นแชร์: หนังสือสัญญาค้ำประกันที่ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์มีจำเลยที่ 2ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสองที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ตามพันธะ ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เท่านั้นมิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเล่นแชร์: หนังสือสัญญาค้ำประกันต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680วรรคสอง ที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามพันธะข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตม์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103, 104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ปรากฏในสัญญาเล่นแชร์ ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ถือเป็นหลักฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเล่นแชร์ กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3ลงชื่อต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือว่าเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรตาม ป.รัษฎากร เอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่ลงชื่อต่อท้ายสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ถือเป็นหลักฐานการค้ำประกันตาม ม.680 ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง ที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามพันธะ ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามมาตรา 680

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยหลังเสียชีวิต: สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก vs. ทายาท
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยถึงแก่กรรม จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยโดยไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาโดยวินิจฉัยว่าผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยซึ่ง ถึงแก่กรรมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามพินัยกรรมแทนจำเลยต่อไป ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลงเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ผู้จัดการมรดกหาได้ตกทอดไปยังทายาทของจำเลยไม่ และข้อเท็จจริง ตามคำร้องของโจทก์และคำแถลงของ ส.คงได้ความแต่เพียงว่าส.เป็นทายาทของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่า ส.เป็นผู้ปกครอง ทรัพย์มรดกหรือมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกของ ก.แต่อย่างใดส.จึงไม่สามารถจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หากในที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ส.ย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยที่ไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ.
of 60