พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าธรรมเนียมประทานบัตร, การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียม, และอายุความหนี้เงิน
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้ จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมประทานบัตร, อายุความ, การเพิกถอนประทานบัตร: สิทธิเรียกร้องค่าธรรมเนียมยังไม่ขาดอายุความ แม้มีการเพิกถอนประทานบัตร
จำเลยได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่แล้วไม่ว่าจำเลยจะใช้เนื้อที่ที่ระบุในประทานบัตรทำเหมืองแร่หรือไม่ จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ในการทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้นเป็นรายปีแก่โจทก์เพราะพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55บังคับให้ต้องชำระค่าธรรมเนียมล่วงหน้าเป็นรายปี กฎกระทรวงฉบับที่ 45(พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ข้อ 2 ได้กำหนดค่าธรรมเนียมตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมไว้ และกฎกระทรวงนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกโดย อาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลใช้บังคับแก่ประทานบัตรของจำเลยด้วย จำเลยจะอ้างว่าไม่ได้ตกลงด้วยในการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าธรรมเนียมตามอัตราใหม่ได้ ค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ในการทำเหมืองตามประทานบัตรเป็นหนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มิได้กำหนดให้ผู้ออกประทานบัตรเมื่อเพิกถอนประทานบัตรจะต้องสงวนสิทธิเรียกร้องเอาค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระไว้จึงจะฟ้องบังคับได้ การที่โจทก์สั่งเพิกถอนประทานบัตรของจำเลยจึงไม่ทำให้หนี้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ต้องระงับไปแม้ไม่สงวนสิทธิไว้โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ ค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ในการทำเหมืองแร่ ต้องชำระล่วงหน้าเป็นรายปี เมื่อโจทก์กำหนดเอาวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปีจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวของปี 2525ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2524 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28พฤศจิกายน 2529 จึงยังไม่เกินกำหนดอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำเหมืองแร่ vs. สิทธิครอบครองที่ดิน: ประทานบัตรไม่สร้างสิทธิในที่ดิน การต่ออายุประทานบัตรล่าช้าทำให้สิทธิทำเหมืองแร่สิ้นสุด
ประทานบัตรที่โจทก์มีอยู่เดิมนั้นออกโดยพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 ซึ่งมาตรา 51 บัญญัติว่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่ได้ให้อำนาจแก่ผู้ถือประทานบัตรหวงห้าม หรือถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินในเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่นั้นเลยคงเพียงให้ขุดล้างแร่ได้เท่านั้นแม้โจทก์จะเคยได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในเขตที่ดินอันรวมถึงที่พิพาทด้วยแต่โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเกินกำหนดตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรณีจึงสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ และแนะนำให้โจทก์ยื่นขอประทานบัตรใหม่ การขอประทานบัตรใหม่โดยยังมิได้รับประทานบัตรนั้น โจทก์ยังไม่มีสิทธิใดๆ ในที่พิพาทเท่ากับโจทก์ยื่นเรื่องราวขออนุญาตทำเหมืองแร่ใหม่เหมือนบุคคลทั่วๆ ไปเมื่อได้ความว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยได้มาโดยการจับจองเมื่อ พ.ศ.2492 ได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2493 จำเลยได้แจ้งการครอบครองและทางการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยแล้ว จำเลยได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาทุกปีปลูกข้าว มันสำปะหลังและยางพารา กรีดน้ำยางได้มา 10 ปีเศษแล้วดังนี้จำเลยย่อมมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ และย่อมมีสิทธิคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่ว่าประทานบัตรที่โจทก์ขอใหม่นั้นทับที่ของจำเลยซึ่งครอบครองและมี น.ส.3 แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยและขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านนั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1889/2514 และที่ 1890/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำเหมืองแร่ vs. สิทธิครอบครองที่ดิน: ประทานบัตรไม่สร้างสิทธิในที่ดิน การครอบครองโดยชอบธรรมมีน้ำหนักกว่า
ประทานบัตรที่โจทก์มีอยู่เดิมนั้นออกโดยพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 ซึ่งมาตรา 51 บัญญัติว่า ประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่ได้ให้อำนาจแก่ผู้ถือประทานบัตรหวงห้าม หรือถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินในเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่นั้นเลย คงเพียงให้ขุดล้างแร่ได้เท่านั้น แม้โจทก์จะเคยได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในเขตที่ดินอันรวมถึงที่พิพาทด้วย แต่โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเกินกำหนดตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรณีจึงสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ และแนะนำให้โจทก์ยื่นขอประทานบัตรใหม่ การขอประทานบัตรใหม่โดยยังมิได้รับประทานบัตรนั้น โจทก์ยังไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท เท่ากับโจทก์ยื่นเรื่องราวขออนุญาตทำเหมืองแร่ใหม่เหมือนบุคคลทั่ว ๆ ไป เมื่อได้ความว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยได้มาโดยการจับจองเมื่อ พ.ศ.2492 ได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2493 จำเลยได้แจ้งการครอบครองและทางการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยแล้ว จำเลยได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาทุกปี ปลูกข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา กรีดน้ำยางได้มา 10 ปีเศษแล้ว ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ และย่อมมีสิทธิคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่ว่าประทานบัตรที่โจทก์ขอใหม่นั้นทับที่ของจำเลยซึ่งครอบครองและมี น.ส.3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยและขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านนั้น
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1889/2514 และที่ 1890/2514)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1889/2514 และที่ 1890/2514)