คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถวิทย์ วรรธนวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 345 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นที่ยกขึ้นใหม่ มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
หลักจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดให้แก่โจทก์แล้วจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าโจทก์เสนอราคาต่ำไปขอให้เลื่อนการขาย ศาลชั้นต้นสั่งรวมสำนวน จำเลยอุทธรณ์เพียงว่าโจทก์เสนอราคาต่ำไปและไม่มีบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้น เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์ และไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์ประเด็นใหม่ในฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
หลังจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่าโจทก์เสนอราคาต่ำไปขอให้เลื่อนการขาย ศาลชั้นต้นสั่งรวมสำนวน จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์เสนอราคาต่ำไปและไม่มีบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสองนั้น เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์ และไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, สิทธิอาศัยที่ไม่จดทะเบียน, และอำนาจฟ้องขับไล่
หนังสือมอบอำนาจที่กระทรวงในรัฐบาลแต่งตั้งบุคคลให้ฟ้องคดีแทน แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ทำให้เสียไปเพราะได้รับยกเว้นตาม ป. รัษฎากร
จำเลยปลูกบ้านบนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก บ้านย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อกองทัพบกโอนที่ดินให้โจทก์จึงเท่ากับโอนบ้านให้แก่โจทก์ด้วย
ข้อตกลงที่ว่า จำเลยยกบ้านพิพาทให้แก่กองทัพบกโดยกองทัพบกตกลงให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ตลอดไปจนกว่ากองทัพบกจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นเข้าลักษณะสิทธิอาศัยซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งเมื่อไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโอนตามที่ราชพัสดุ สิทธิอาศัยไม่บริบูรณ์ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจที่กระทรวงในรัฐบาลแต่งตั้งบุคคลให้ฟ้องคดีแทนแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ทำให้เสียไป เพราะได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร จำเลยปลูกบ้านบนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก บ้านย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อกองทัพบกโอนที่ดินให้โจทก์จึงเท่ากับโอนบ้านให้แก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับกองทัพบกที่ว่า จำเลยยกบ้านพิพาทให้แก่กองทัพบก โดยกองทัพบกตกลงให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ตลอดไปจนกว่ากองทัพบกจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เข้าลักษณะสิทธิอาศัยซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: คำสั่งศาลต้องไม่ทำให้โอกาสชำระค่าธรรมเนียมหมดไป
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขงโจทก์ ให้ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ไปอีก 15 วัน โดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดไว้ด้วย ปรากฏว่าในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังนั้น ได้ล่วงเลยวันที่ครบกำหนดตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ไปแล้ว ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เพราะมีผลเท่ากับไม่ได้ขยายระยะเวลาให้โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งก็หมดโอกาสที่จะชำระค่าธรรมเนียมเสียแล้ว ขัดกับเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ศาลต้องกำหนดวันชำระที่โจทก์ยังสามารถปฏิบัติตามได้
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์ให้ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ไปอีก 15 วัน โดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดไว้ด้วย ปรากฏว่าในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังนั้นได้ล่วงเลยวันที่ครบกำหนดตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ไปแล้วดังนี้คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เพราะมีผลเท่ากับไม่ได้ขยายระยะเวลาให้โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งก็หมดโอกาสที่จะชำระค่าธรรมเนียมเสียแล้ว ขัดกับเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ศาลต้องกำหนดวันใหม่ที่โจทก์ยังสามารถชำระได้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์ให้ขยายระยะเวลาการวางเงิน ค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ไปอีก 15 วันโดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดไว้ด้วย ปรากฏว่าในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังนั้น ได้ล่วงเลยวันที่ครบกำหนดตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ไปแล้ว ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เพราะมีผลเท่ากับไม่ได้ขยายระยะเวลาให้โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งก็หมดโอกาสที่จะชำระค่าธรรมเนียมเสียแล้ว ขัดกับเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: คำสั่งศาลต้องไม่เกินกำหนดเดิม มิฉะนั้นถือเป็นประโยชน์ตกไป
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขงโจทก์ ให้ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ไปอีก ๑๕ วัน โดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดไว้ด้วย ปรากฏว่าในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังนั้น ได้ล่วงเลยวันที่ครบกำหนดตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ไปแล้ว ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เพราะมีผลเท่ากับไม่ได้ขยายระยะเวลาให้โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งก็หมดโอกาสที่จะชำระค่าธรรมเนียมเสียแล้ว ขัดกับเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ vs. กรรโชก: เจตนาเอาทรัพย์ทันที ไม่ใช่ข่มขู่เรียกทรัพย์ภายหลัง
ในการกระทำความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ แม้จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓กับพวกร่วมกันขู่บังคับให้โจทก์ร่วมลงลายมือในเช็ค สั่งจ่ายเงินให้จำเลยกับพวกแต่ เจตนาของจำเลยกับพวกประสงค์ที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปในทันทีนั้นเองเพราะขณะที่จำเลยที่ ๓ กับพวกนำเช็ค ไปเบิกเงินที่ธนาคาร โจทก์ร่วมยังถูก จำเลยที่ ๑ ที่ ๒กับพวกที่เหลือควบคุม ตัว ไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์การกระทำของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓จึงไม่เป็นความผิดฐาน กรรโชก
ในคดีที่รวมพิจารณา ๒ สำนวน จำเลยสำนวนหนึ่งฎีกาเมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐาน กรรโชก ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องข้อหากรรโชกตลอดไปถึง จำเลยอีกสำนวนหนึ่งซึ่ง ถูกฟ้องข้อหาเดียวกันที่มิได้ฎีกาได้ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๑๓ ประกอบด้วย มาตรา ๒๒๕.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ vs. กรรโชก: เจตนาเอาทรัพย์ทันทีมีผลต่อความผิด
ในการกระทำความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3กับพวกร่วมกันขู่บังคับให้โจทก์ร่วมลงลายมือในเช็ค สั่งจ่ายเงินให้จำเลยกับพวกแต่ เจตนาของจำเลยกับพวกประสงค์ที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปในทันทีนั้นเองเพราะขณะที่จำเลยที่ 3 กับพวกนำเช็ค ไปเบิกเงินที่ธนาคาร โจทก์ร่วมยังถูก จำเลยที่ 1 ที่ 2กับพวกที่เหลือควบคุม ตัว ไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3จึงไม่เป็นความผิดฐาน กรรโชก ในคดีที่รวมพิจารณา 2 สำนวน จำเลยสำนวนหนึ่งฎีกาเมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐาน กรรโชก ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องข้อหากรรโชกตลอดไปถึง จำเลยอีกสำนวนหนึ่งซึ่ง ถูกฟ้องข้อหาเดียวกันที่มิได้ฎีกาได้ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225.
of 35