พบผลลัพธ์ทั้งหมด 345 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6378/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีครอบครองปรปักษ์: การคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมที่ถูกต้องตามประเภทคดี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ครอบครองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยโดยสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์คือราคาที่ดินซึ่งโจทก์ก็เสียมาถูกต้องแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุที่ว่าที่ดินตามฟ้องยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงขอบังคับให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มิได้ ก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับโดยไม่คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาทแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินอัตราที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดิน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ การที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมว่าเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิแต่เป็นการใช้สิทธิทางศาล ศาลก็ชอบที่จะเรียกค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ขอให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่เกิน เป็นการอุทธรณ์ว่าการที่ศาลชั้นต้นสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวมีผลเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินอันเป็นการกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว และในกรณีอุทธรณ์ว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายเช่นนี้ แม้จะมิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาโดยตรงของคดีด้วย ก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168
โจทก์ฟ้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดิน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ การที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมว่าเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิแต่เป็นการใช้สิทธิทางศาล ศาลก็ชอบที่จะเรียกค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ขอให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่เกิน เป็นการอุทธรณ์ว่าการที่ศาลชั้นต้นสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวมีผลเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินอันเป็นการกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว และในกรณีอุทธรณ์ว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายเช่นนี้ แม้จะมิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาโดยตรงของคดีด้วย ก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการตกเติมข้อความในพินัยกรรมแบบธรรมดาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
พินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งผู้ทำพินัยกรรมมิได้เขียนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ทั้งนี้ตามวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว เมื่อการตกเติมข้อความในพินัยกรรมไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวย่อมมีผลให้ข้อความที่ตกเติมเท่านั้นไม่สมบูรณ์ส่วนข้อความเดิมในพินัยกรรมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะไม่ว่าข้อความที่ตกเติมจะเป็นข้อสาระสำคัญหรือไม่ก็มีผลเหมือนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบธรรมดาตกเติมข้อความไม่สมบูรณ์เฉพาะข้อความที่ตกเติม มิได้ทำให้พินัยกรรมทั้งฉบับเป็นโมฆะ
พินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งผู้ทำพินัยกรรมมิได้เขียนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลาย มือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ทั้งนี้ตามวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว เมื่อการตกเติมข้อความในพินัยกรรมไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวย่อมมีผลให้ข้อความที่ตกเติมเท่านั้นไม่ สมบูรณ์ ส่วนข้อความเดิมในพินัยกรรมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ไม่ตกเป็นโมฆะ ไม่ว่าข้อความที่ตกเติมจะเป็นข้อสาระสำคัญหรือไม่ก็มีผลเหมือนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้โจทก์เป็นกรมสรรพากร
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้ หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้ หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ต้องทำให้เกิดเพลิงไหม้จริง การกระทำต่อเนื่องถือเป็นกรรมเดียว
การกระทำที่จะเป็นความผิดสำเร็จฐานวางเพลิงเผาทรัพย์นั้นไม่หมายความเพียงว่าเอาเพลิงไปวางเท่านั้น หากต้องเป็นการเผาทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์นั้นติดไฟขึ้นด้วย เพียงแต่ทรัพย์มีรอยเกรียม ดำแต่ยังไม่ไหม้ไฟ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จคงเป็นความผิดฐานพยายามเท่านั้น การที่จำเลยโกรธผู้เสียหายเนื่องจากถูกผู้เสียหายทำร้ายต่อหน้าบุคคลอื่น จึงบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย โดยมีน้ำมันเบนซิน ไม้ขีดไฟและมีดโต้ติดตัวไปด้วย แล้วใช้มีดฟันประตูครัวราดน้ำมันเบนซินใส่และจุดไฟเผาจากนั้นวิ่งขึ้นชั้นบนราดน้ำมันเบนซินใส่พื้นบ้านจุดไม้ขีดไฟเผาอีกแล้วจำเลยวิ่งลงมาใช้มีดโต้ฟันทรัพย์สินอื่น ๆ ในบ้านแตกเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหายในคราวเดียวกัน แม้จำเลยจะวางเพลิงและใช้มีดโต้ฟันทำลายทรัพย์สินด้วยก็เป็นเพียงแต่การใช้วิธีการที่แตกต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาวุธปืนโดยบรรยายฟ้องเป็นหลายกรรม หากอาวุธปืนเป็นกระบอกเดียวกันและต่อเนื่องกัน ถือเป็นกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่อาวุธปืนตามฟ้องเป็นกระบอกเดียวกันและโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมีอาวุธปืนกระบอกเดียวกันนี้ตั้งแต่เวลาตามฟ้องในกรรมแรกต่อเนื่องตลอดมาจนถึงเวลาตามฟ้องในกรรมหลัง การกระทำของจำเลยในข้อหานี้จึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่ตกเป็นโมฆะแม้ระบุทรัพย์สินไม่ชัดเจน หากยังพอทราบได้แน่นอน
บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(3)นั้นหมายความว่า แม้ระบุทรัพย์สินที่ยกให้ไว้ไม่ชัดแจ้งเมื่อยังอาจพอทราบแน่นอนได้ย่อมหาตกเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมฉบับพิพาทไม่ได้ระบุเลขโฉนดที่ดินแปลงที่ยกให้แต่ระบุไว้เป็นสำคัญว่าคือที่ดินแปลงตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี และยังระบุไว้อีกว่าเป็นที่ดินแปลงที่ผู้ทำพินัยกรรมมีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่กับนายนามและนายแนมโดยในพินัยกรรมระบุยกที่ดินให้เฉพาะส่วนของผู้ทำพินัยกรรมด้วย แม้ไม่ระบุจำนวนก็ย่อมชัดแจ้งแล้ว พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้าม: การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าหลังมีกฎหมายหวงห้าม และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ขณะใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหคีรี อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช 2479 ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตนั้นเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอยู่ จึงเป็นที่ดินหวงห้ามตามกฎหมายดังกล่าวและตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 10 ยังคงให้เป็นที่หวงห้ามต่อไป โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในภายหลังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หาก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันต่อรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ไม่ ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ของโจทก์การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จะเข้าใช้ประโยชน์โดยได้รับอนุญาตจากกองทัพบกได้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถแทรกเตอร์ไถคันดินที่โจทก์ทำไว้ปรับระดับให้เสมอกันเพื่อปลูกสร้างสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้าม: การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าหลังมีกฎหมายหวงห้าม และการกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ขณะใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหคีรีอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์พุทธศักราช 2479 ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตนั้นเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอยู่ จึงเป็นที่ดินหวงห้ามตามกฎหมายดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 10ยังคงให้เป็นที่หวงห้ามต่อไป โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในภายหลังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หาก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันต่อรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ไม่ ที่ดิน พิพาทจึงไม่ใช่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จะเข้าใช้ประโยชน์โดยได้รับอนุญาตจากกองทัพบก ได้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถแทรกเตอร์ไถคันดินที่โจทก์ทำไว้ปรับระดับให้เสมอกันเพื่อปลูกสร้างสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์