พบผลลัพธ์ทั้งหมด 345 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน แม้ธนาคารค้ำประกันชำระเกิน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา บัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวาบัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้ มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้ หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนจากการให้สิทธิผลิตกาแฟภายใต้สัญญาความรู้ทางวิศวกรรม ไม่ใช่เงินได้วิชาชีพอิสระหรือการรับทำงานให้
เงินค่าตอบแทนที่บริษัท น. ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ตามสัญญา การให้ความรู้ทางวิศวกรรมเนื่องจากบริษัท น. ได้มอบสิทธิในการผลิตกาแฟผงให้แก่โจทก์ภายใต้เงื่อนไขและการควบคุมของบริษัท น. โดยมีข้อสัญญาว่า บริษัท น.จะให้บริการความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสูงแต่เมื่อเลิกสัญญากันสิทธิของโจทก์ในการที่จะผลิตกาแฟผงก็หมดไป มิใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระคือวิศวกรรมตามความหมายของมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินค่าตอบแทนตามลักษณะของสัญญาให้ความรู้ทางวิศวกรรมดังกล่าวก็มิใช่เงินได้ เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ตามความหมายของมาตรา 40 (2) แต่เป็นการที่บริษัท น. ได้รับค่าตอบแทนเนื่องจากการอนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิผลิตกาแฟผงตามสูตรของบริษัท น. ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาการให้ความรู้ด้านวิศวกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะสัญญาการให้ความรู้ทางวิศวกรรม มิใช่เงินได้วิชาชีพอิสระหรือจากการรับทำงานให้ แต่เป็นการใช้สิทธิผลิตกาแฟผง
เงินค่าตอบแทนที่บริษัท น. ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ตามสัญญาการให้ความรู้ทางวิศวกรรมเนื่องจากบริษัท น.ได้มอบสิทธิในการผลิตกาแฟผงให้แก่โจทก์ภายใต้เงื่อนไขและการควบคุมของบริษัท น. โดยมีข้อสัญญาว่าบริษัท น.จะให้บริการความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสูงแต่เมื่อเลิกสัญญากันสิทธิของโจทก์ในการที่จะผลิตกาแฟผงก็หมดไป มิใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระคือวิศวกรรมตามความหมายของมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากรและเงินค่าตอบแทนตามลักษณะของสัญญาให้ความรู้ทางวิศวกรรมดังกล่าวก็มิใช่เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ตามความหมายของมาตรา 40(2) แต่เป็นการที่บริษัท น.ได้รับค่าตอบแทนเนื่องจากการอนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิผลิตกาแฟผงตามสูตรของบริษัท น. ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาการให้ความรู้ด้านวิศวกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับภาษี: พิจารณาเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีของผู้เสียภาษีเป็นสำคัญ
เบี้ยปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 22 นั้น แม้มาตรา 27 ทวิวรรคสองแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวจะบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้บังคับก็ตาม ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติ แต่ไม่มีผลผูกพันให้ศาลต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้นการงดหรือลดเบี้ยปรับเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่า การที่เจ้าพนักงานงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่และศาลยังมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีมีเหตุอันสมควรอีกด้วย เมื่อปรากฏในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินและในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยว่า หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรในการส่งบัญชีเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ไปให้เจ้าพนักงานตรวจสอบและโจทก์ไม่นำรายได้ลงบัญชีรายรับให้ครบถ้วนอันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษี แม้มีระเบียบกรมสรรพากร และพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษี
เบี้ยปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 นั้น แม้มาตรา 27 ทวิวรรคสองแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวจะบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้บังคับก็ตาม ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติ แต่ไม่มีผลผูกพันให้ศาลต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น การงดหรือลดเบี้ยปรับเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่า การที่เจ้าพนักงานงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และศาลยังมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีมีเหตุอันสมควรอีกด้วย
เมื่อปรากฏในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินและในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยว่า หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรในการส่งบัญชีเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ไปให้เจ้าพนักงานตรวจสอบและโจทก์ไม่นำรายได้ลงบัญชีรายรับให้ครบถ้วน อันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์
เมื่อปรากฏในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินและในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยว่า หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรในการส่งบัญชีเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ไปให้เจ้าพนักงานตรวจสอบและโจทก์ไม่นำรายได้ลงบัญชีรายรับให้ครบถ้วน อันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงคดีอาญา, การนอกฟ้อง, และข้อจำกัดการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมิใช่เป็นบทกำหนดโทษปรับเกินกว่า 60,000 บาท แม้โทษปรับรายวันเมื่อรวมกันแล้วจะเกิน 60,000 บาท ศาลแขวงก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ดังนั้นที่ศาลพิพากษาให้ปรับรายวันจนกว่าจะรื้อถอนอาคารโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมค่าปรับทั้งหมดแล้วจะเกิน 60,000 บาทหรือไม่ จึงชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาแก้โทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมายได้แม้จะเป็นการเพิ่มโทษก็หามีบทกฎหมายห้ามไว้ไม่ ฟ้องโจทก์มุ่งหมายจะให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เฉพาะความผิดฐานชัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 65 เท่านั้นหาได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 21 ด้วยไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ เพราะเป็นการนอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาว่า จำเลยเข้าครอบครองที่สาธารณะโดยการปลูกสร้างอาคารก่อนที่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522จะใช้บังคับ กรณีต้องด้วยมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องกำหนดเวลารื้อถอนให้จำเลยไม่น้อยกว่า6 เดือน เช่นนี้ข้อฎีกาของจำเลยเป็นการเถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้คู่ความต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาดังกล่าวของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบา เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาการมึนเมามีผลต่อเจตนาชิงทรัพย์ การกระทำโดยผู้มึนเมาไม่ถือเป็นการชิงทรัพย์หากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
จำเลยซึ่งกำลังมึนเมาสุราดึงลูกกุญแจรถจักรยานยนต์ไปจากรถ ผู้เสียหายขอคืน จำเลยไม่ยอมคืน ผู้เสียหายจึงปล้ำแย่งเอาคืนมาจากจำเลยได้แล้วควบคุมตัวจำเลยไว้รอให้เจ้าพนักงานตำรวจมาจับจำเลยไป ดังนี้ไม่เป็นการกระทำโดยเจตนาชิงทรัพย์เพราะจำเลยกระทำไปในขณะมึนเมาและไม่อยู่ในสภาพที่จะชิงรถจักรยานยนต์ไปจากผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจากเงินยืมทดรองของบริษัทที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นผู้ให้กู้ ไม่เป็นภาษีซ้ำซ้อน
โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จ. เกินกว่าร้อยละ 50 บริษัทจ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างบุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 75 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุพิพาทการที่โจทก์เสียภาษีในส่วนของบริษัทดังกล่าวจึงเป็นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเป็นคนละส่วนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่โจทก์ถูกเจ้าพนักงานประเมินจากการที่โจทก์ให้บริษัท จ.ยืมเงินทดรองอันถือเป็นเงินได้ของโจทก์ ภาษีเงินได้สองส่วนนี้จึงไม่ซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีซ้ำซ้อน: การประเมินภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจากแหล่งรายได้เดียวกัน มิใช่ภาษีซ้ำซ้อน
โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จ. เกินกว่าร้อยละ 50 บริษัท จ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างบุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 75 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุพิพาท การที่โจทก์เสียภาษีในส่วนของบริษัทดังกล่าวจึงเป็นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเป็นคนละส่วนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรดาที่โจทก์ถูกเจ้าพนักงานประเมินจากการที่โจทก์ให้บริษัท จ. ยืมเงินทดรองอันถือเป็นเงินได้ของโจทก์ ภาษีเงินได้สองส่วนนี้จึงไม่ซ้ำซ้อนกัน