คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถวิทย์ วรรธนวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 345 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้เสียภาษีไม่ส่งหลักฐานบัญชีและยอมรับการประเมินในชั้นแรก
โจทก์มีรายได้จากการค้ามันอัดเม็ด โจทก์เสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2519 ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกให้โจทก์ส่งบัญชีและหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อตรวจสอบเงินได้ประจำปี โจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่า ไม่สามารถส่งหลักฐานเพราะไม่ได้จัดทำบัญชีไว้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มสำหรับปี พ.ศ. 2519 โดยคิดหักค่าใช้จ่ายเทียบเคียงกับการหักค่าใช้จ่ายแบบการเหมาในอัตรา ร้อยละ 85 ตามมาตรา8 ข้อ 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2505 โจทก์ก็ยอมรับโดยไม่โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะนำหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพน้กงานประเมินเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าโจทกืม่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรมากกว่าที่ถูกหักการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงถือได้ว่าเป็นการหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควรและเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาและบทบัญญัติความผิดต่างกรรมกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มโทษของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 ทวิ นั้น เป็นความผิดต่างกรรมกัน ซึ่งประมวลกฎมายอาญามาตรา 91 บัญญัติให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาและการลงโทษความผิดต่างกรรมกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการลงโทษทั้งสองกรรมเป็นไปตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มโทษของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิมาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 7 และมาตรา 8 ทวินั้น เป็นความผิดต่างกรรมกัน ซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 บัญญัติให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดอาญาหลายกระทง: ปืนและปล้นทรัพย์ ศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มโทษของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7และมาตรา 8 ทวิ นั้น เป็นความผิดต่างกรรมกัน ซึ่งประมวลกฎมายอาญามาตรา 91 บัญญัติให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักทรัพย์: การกระทำเชื่อมต่อสายไฟและใช้กุญแจไขล็อกคอรถจักรยานยนต์เข้าข่ายความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
จำเลยใช้กุญแจไขล็อกคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายซึ่ง ธ.นำมาจอดไว้ที่หน้าร้านอาหาร แล้วได้นำสายหัวเทียนต่อเพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ตลอดพร้อมที่จะสตาร์ทเครื่อง แต่ ธ. มาพบและขัดขวางเสียก่อนจำเลยจึงไม่สามารถนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปได้ การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พฤติการณ์เตรียมสตาร์ทรถหลังไขกุญแจ ถือเจตนาลักทรัพย์ แม้ยังไม่สำเร็จ
จำเลยใช้กุญแจไขล็อกคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายซึ่งธ. นำมาจอกไว้ที่หน้าร้านอาหาร แล้วได้นำนายหัวเทียนต่อเพื่อให้กระแสไฟผ่านได้ตลอดพร้อมที่จะสตาร์ตเครื่อง แต่ ธ.มาพบและขัดขวางเสียก่อนSจำเลยจึงไม่้สามารถนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปได้ การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พฤติกรรมเตรียมสตาร์ทรถจักรยานยนต์หลังไขกุญแจ ถือเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
จำเลยใช้กุญแจไขล็อกคอรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายซึ่ง ธ. นำมาจอดไว้ที่หน้าร้านอาหาร แล้วได้นำนายหัวเทียนต่อเพื่อให้กระแสไฟผ่านได้ตลอดพร้อมที่จะสตาร์ตเครื่อง แต่ ธ. มาพบและขัดขวางเสียก่อน จำเลยจึงไม่้สามารถนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปได้ การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ 'อาหาร' แต่เป็น 'เครื่องดื่ม' จึงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตาม พ.ร.ก. ลดหย่อนภาษี
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517มิได้ให้ความหมายของคำว่าอาหารหรือเครื่องดื่มไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าว จะถือตามความหมายของกฎหมายอื่นไม่ได้ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ของกินที่มีลักษณะเพื่อค้ำจุนชีวิตหรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตจึงไม่ใช่อาหาร แต่เป็นเครื่องดื่มเพราะสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำ แม้จะมีส่วนผสมคือ ถั่วเหลือง น้ำตาล นมผง และไขมันพืชอยู่ด้วยถึงร้อยละ21.2 และมีคำว่า "อาหารเสริม" อยู่ที่กล่องบรรจุก็ตาม ก็แสดงเพียงว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของอาหารอยู่ด้วยเท่านั้นไม่ใช่ "อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร" ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4)(ข)ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว และไม่เป็น "อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่ว" ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(10) ด้วยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยจึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้า (น้ำนมถั่วเหลือง) เพื่อการยกเว้นภาษีการค้า พิจารณาจากลักษณะการบริโภคและส่วนประกอบ
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ. 2517 มิได้ให้ความหมายของคำว่าอาหารหรือเครื่องดื่มไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าวจะถือตามความหมายของกฎหมายอื่นไม่ได้ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ของกินที่มีลักษณะเพื่อค้ำจุนชีวิตหรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตจึงไม่ใช่อาหารแต่เป็นเครื่องดื่มเพราะสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำ แม้จะมีส่วนผสมคือ ถั่วเหลือง น้ำตาล นมผง และไขมันพืชอยู่ด้วยถึงร้อยละ 21.2 และมีคำว่า 'อาหารเสริม' อยู่ที่กล่องบรรจุก็ตาม ก็แสดงเพียงว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของอาหารอยู่ด้วยเท่านั้น ไม่ใช่ 'อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4) ข ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว และไม่เป็น 'อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่ว'ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(10) ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยจึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวที่พอสมควรแก่เหตุ เมื่อถูกทำร้ายก่อน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยไปพบผู้เสียหายที่บ้านเพียงแต่ต้องการทวงบุตรคืนจากผู้เสียหายที่นำมาช่วยเลี้ยงให้ในฐานะที่เป็นพี่น้องกัน เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมคืนให้จึงเกิดทะเลาะกันขึ้นจำเลยด่าผู้เสียหายและบอกว่าจะไปแจ้งความแล้วหันหลังเดินออกจากบ้านผู้เสียหายทันที แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะทะเลาะกับผู้เสียหายต่อไปแล้ว เรื่องก็น่าจะยุติเพียงเท่านั้น การที่ผู้เสียหายถือไม้ไผ่ผ่าซีกยาว 1 ศอกเศษวิ่งไล่ตามไปตีจำเลยอีก จึงเป็นฝ่ายลงมือก่อเหตุขึ้นก่อนเมื่อจำเลยชักมีดปลายแหลมซึ่งเป็นมีดแกะปลาหมึกเล็กๆที่ติดตัวไว้ใช้งานออกมากวัดแกว่งและร้องห้ามผู้เสียหายว่าอย่าเข้ามา อันแสดงถึงเจตนาป้องกันตัว ไม่ประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายก่อน แต่ผู้เสียหายคิดว่าจำเลยไม่กล้าแทงจึงเข้าไปตีจำเลย จำเลยจึงใช้มีดแทง 1 ที ถูกที่หัวไหล่ซ้ายแล้วไม่ได้แทงอีก เมื่อผู้เสียหายตีจำเลยซ้ำอีก 1 ทีถูกแขนซ้ายอย่างแรงจำเลยก็แทงสวนไปอีก 1 ที ถูกที่ใต้รักแร้ด้านซ้าย แล้วจำเลยโยนมีดทิ้งดังนี้เป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยจะแทงก็ต่อเมื่อถูกผู้เสียหายตีก่อนเท่านั้นและแทงเพียง 1 ครั้งต่อการถูกตี 1 ที การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนให้พ้นอันตรายที่เกิดจากผู้เสียหายใช้ไม้ตีซึ่งเป็นการประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ทั้งจำเลยได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิด.
of 35