คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถวิทย์ วรรธนวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 345 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉล: ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้หรือลำดับการใช้สิทธิเรียกร้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองทราบดีว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าว ดังนี้เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ในเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 โดยไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยที่ 1 จะมีหรือไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่พิพาทหรือไม่ และโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องก่อนหรือหลังจำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดประกาศขายทอดตลาดไม่ชอบเมื่อไม่ปิดที่ภูมิลำเนาเจ้าของทรัพย์ ทำให้เจ้าของทรัพย์ไม่ทราบการขาย
เจ้าหน้าที่ศาลนำประกาศขายทอดตลาดไปส่งให้จำเลยที่ 3 ปรากฏว่าไม่พบ จำเลยที่ 3 จึงได้ปิดประกาศที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ที่ร้านค้าในหมู่บ้านอันเป็นที่ชุมนุมชนใกล้เคียงที่ทรัพย์ตั้งอยู่ และปิดไว้ที่ป้ายประกาศศาล การปิดประกาศดังกล่าวมิใช่เป็นการปิด ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคแรกการปิดประกาศขายทอดตลาดจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผูกพันแล้ว ไม่อาจฟ้องบังคับคดีซ้ำได้
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินส่วนของโจทก์และสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยให้อยู่ต่อไปได้อีก 2 ปี หากครบกำหนดฝ่ายใดไม่รื้อถอนให้อีกฝ่ายรื้อถอนออกไปได้ แล้วได้มีการตกลงกันใหม่ในศาลว่าโจทก์จะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ก่อนจำเลยจึงจะรื้อสิ่งปลูกสร้างของจำเลยข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีอยู่ในคำฟ้อง แต่ก็มาจากเหตุที่โจทก์ได้ฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินเกี่ยวเนื่องกับประเด็นตามคำฟ้อง ถือได้ว่าเป็นประเด็นแห่งคดี เมื่อศาลพิพากษาคดีตามยอม และคดีถึงที่สุดไปแล้ว หากจำเลยไม่ยอมรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไป โจทก์ย่อมจะขอบังคับคดีได้ในคดีเดิม โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอีกไม่ได้ เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผูกพันแล้ว ไม่อาจฟ้องบังคับได้อีก
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินส่วนของโจทก์และสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยให้อยู่ต่อไปได้อีก 2 ปี หากครบกำหนดฝ่ายใดไม่รื้อถอนให้อีกฝ่ายรื้อถอนออกไปได้ แล้วได้มีการตกลงกันใหม่ในศาลว่าโจทก์จะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ก่อนจำเลยจึงจะรื้อสิ่งปลูกสร้างของจำเลยข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีอยู่ในคำฟ้อง แต่ก็มาจากเหตุที่โจทก์ได้ฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินเกี่ยวเนื่องกับประเด็นตามคำฟ้อง ถือได้ว่าเป็นประเด็นแห่งคดี เมื่อศาลพิพากษาคดีตามยอม และคดีถึงที่สุดไปแล้ว หากจำเลยไม่ยอมรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไป โจทก์ย่อมจะขอบังคับคดีได้ในคดีเดิม โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอีกไม่ได้ เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน 100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2 ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่เป็นประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373
หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากละเลยการตรวจสอบลายมือชื่ออย่างรอบคอบ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่เป็นประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากไม่ระมัดระวังตรวจลายมือชื่อ แม้ผู้เสียหายก็ต้องรับผิดด้วยหากประมาท
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่ประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้า: การกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าขัดต่อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้าได้นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นแบบแสดงรายการค้าในปีที่ล่วงมาแล้ว กล่าวคือในปีที่ถึงกำหนดชำระภาษีการค้าแล้ว และต่อมาเจ้าพนักงานประเมินมาตรวจสอบพบในภายหลัง เจ้าพนักงานประเมินจึงจะมีอำนาจกำหนดรายรับขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ (7)เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้านั้นได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อจะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในปีที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้า ทั้งในขณะเกิดเหตุคดีนี้ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มเติม มาตรา 86 เบญจ ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้เป็นการล่วงหน้าได้คราวละไม่เกิน 24 เดือนยังไม่ใช้บังคับดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์โดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้า จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยทิ้งคดี ทำให้จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลฎีกาให้พิจารณาใหม่ได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยอาจให้ทนายความไปศาลถามค้านพยานโจทก์ โดยจำเลยไม่ต้องไปศาลก็ได้ แต่ทนายจำเลยได้ทิ้งคดีไม่ไปศาลเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาตามหน้าที่โดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ ทั้งได้ย้ายภูมิลำเนาหลบหนีการถูกดำเนินคดีอาญาในคดีอื่นไปอยู่ที่ใดไม่ปรากฏ ทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในวันนัดนั้นได้ การที่จำเลยทั้งสองไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา จึงสมควรที่จะให้มีการพิจารณาคดีใหม่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยทิ้งคดี ทำให้จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลฎีกาให้พิจารณาใหม่ได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยอาจให้ทนายความไปศาลถามค้านพยานโจทก์ โดยจำเลยไม่ต้องไปศาลก็ได้ แต่ทนายจำเลยได้ทิ้งคดีไม่ไปศาลเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาตามหน้าที่โดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ ทั้งได้ย้ายภูมิลำเนาหลบหนีการถูกดำเนินคดีอาญาในคดีอื่นไปอยู่ที่ใดไม่ปรากฏ ทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในวันนัดนั้นได้ การที่จำเลยทั้งสองไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา จึงสมควรที่จะให้มีการพิจารณาคดีใหม่ตามคำร้อง ของ จำเลยทั้งสอง.
of 35