พบผลลัพธ์ทั้งหมด 345 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดหย่อนภาษีสินค้า: เส้นใยสังเคราะห์ P.O.Y. ไม่ใช่ด้ายทอผ้า จึงไม่ต้องเสียภาษี
สินค้าพิพาทเป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่เรียกว่า พี.โอ.วาย.ซึ่งเป็นเส้นใยที่ไม่มีความยืดหยุ่น ยังใช้ทอผ้าไม่ได้ หากจะนำไปใช้ทอผ้าต้องนำไปผ่านกรรมวิธีตีเกลียวให้เป็นเส้นด้ายอีกชั้นหนึ่งก่อน สินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ในการทอผ้าตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2518 มาตรา 4ในบัญชีที่ 2 หมวด 2(9) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้นการที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีจากการขายเส้นใยสังเคราะห์ที่ไม่ใช่ด้ายสำหรับทอผ้า ผู้ขายมีสิทธิฟ้องเรียกคืนได้ แม้ไม่ได้ยื่นคำร้องตามแบบ
สินค้าพิพาทเป็นเส้นใยสังเคราะห์ ที่เรียกว่า พี.โอ.วาย.ซึ่งเป็นเส้นใยที่ไม่มีความยืดหยุ่น ยังใช้ทอผ้าไม่ได้ หากจะนำไปใช้ทอผ้าต้องนำไปผ่านกรรมวิธีตีเกลียว ให้เป็นเส้นด้ายอีกชั้นหนึ่งก่อน สินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ในการทอผ้าตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ในบัญชีที่ 2 หมวด 2 (9) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517
การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้น การที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้น การที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุระเบิดใช้การไม่ได้ ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้สภาพภายนอกสมบูรณ์
ลูกระเบิดของกลางอยู่ในสภาพใช้ทำการระเบิดไม่ได้ เพราะชนวนถูกทำลายมาก่อน และวัตถุระเบิดที่บรรจุอยู่ภายในตัวลูกระเบิดถูกสำรอกออกหมด จึงไม่เป็นวัตถุระเบิด และย่อมไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุระเบิดใช้การไม่ได้ ไม่เป็นเครื่องกระสุนปืน
ลูกระเบิดของกลางอยู่ในสภาพใช้ทำการระเบิดไม่ได้ เพราะชนวนถูกทำลายมาก่อน และวัตถุระเบิดที่บรรจุอยู่ภายในตัวลูกระเบิดถูกสำรอก ออก หมด จึงไม่เป็นวัตถุระเบิด และย่อมไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3166/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกระเบิดใช้การไม่ได้ ไม่เป็นวัตถุระเบิดหรือเครื่องกระสุนปืน แม้สภาพภายนอกสมบูรณ์
ลูกระเบิดของกลางอยู่ในสภาพใช้ทำการระเบิดไม่ได้ เพราะชนวนถูกทำลายมาก่อน และวัตถุระเบิดที่บรรจุอยู่ภายในตัวลูกระเบิดถูกสำรอกออกหมด จึงไม่เป็นวัตถุระเบิด และย่อมไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานรับของโจร
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ความผิดฐานยักยอกและรับของโจรเกี่ยวเนื่องกันจึงรับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ ดังนี้คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้เท่านั้น มิใช่เป็นการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ความผิดฐานยักยอกไม่มีมูลนั้น มีผลเป็นการพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 167 อันเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีอย่างหนึ่ง การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ มาใช้บังคับด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องความผิดฐานยักยอกและรับของโจรต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อความผิดฐานยักยอกต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ในความผิดฐานยักยอกไว้ด้วยจึงไม่ชอบ สำหรับความผิดฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันรับรถของโจทก์ไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานยักยอก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้กระทำผิดฐานยักยอก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ จึงเป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงการที่โจทก์ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มีมูลความผิดฐานรับของโจรจึงเป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการขายทอดตลาดหลังศาลอนุญาตแล้ว และการที่ศาลไม่ต้องไต่สวนหากเหตุขอเลื่อนมิใช่การกระทำผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป เพื่อที่จำเลยจะได้หาเงินมาชำระให้แก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอเลื่อนการขายทอดตลาด ภายหลังศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการขายทอดตลาดและการยกข้ออ้างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการขายทอดตลาดออกไปเพื่อที่จำเลยจะได้หาเงินมาชำระให้แก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอเลื่อนการขายทอดตลาด ภายหลังศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นแล้วจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการขายทอดตลาดหลังศาลอนุญาตแล้ว และการที่ศาลไม่ไต่สวนราคาประมูลที่ไม่สมเหตุสมผล
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป เพื่อที่จำเลยจะได้หาเงินมาชำระให้แก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอเลื่อนการขายทอดตลาด ภายหลังศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต
ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล: ค่าบริการสำนักงานใหญ่, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1)(ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน.