พบผลลัพธ์ทั้งหมด 345 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนชำระหนี้แทน ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินคืนจากตัวการ แม้ไม่ได้ฟ้อง
จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ได้ออกเงินทดรองค่าเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทไป ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจำเป็นเพราะมิฉะนั้นผู้ให้เช่าซื้อจะไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้ จำเลยจึงมีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนี้และดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 กรณีเช่นนี้แม้จำเลยมิได้ฟ้องเรียกร้องมา แต่โจทก์เป็นตัวการย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยรวมทั้งดอกเบี้ยตามบทบัญญัติข้างต้น ทั้งกรณีก็เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งเพราะจำเลยได้ชำระค่าเช่าซื้อบางส่วนแทน โจทก์จึงมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อนั้นให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนชำระหนี้แทน, สิทธิเรียกร้องเงินทดรอง, ตัวการต้องรับผิดชอบ
จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ได้ออกเงินทดรองค่าเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทไป ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจำเป็น เพราะมิฉะนั้นผู้ให้เช่าซื้อจะไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้ จำเลยจึงมีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนี้และดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 กรณีเช่นนี้แม้จำเลยมิได้ฟ้องเรียกร้องมา แต่โจทก์เป็นตัวการย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยรวมทั้งดอกเบี้ยตามบทบัญญัติข้างต้น ทั้งกรณีก็เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งเพราะจำเลยได้ชำระค่าเช่าซื้อบางส่วนแทน โจทก์จึงมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อนั้นให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อบ้านพิพาท: โจทก์ต้องจัดการขออนุญาตก่อสร้างให้ถูกต้องก่อนเรียกเก็บเงิน
จำเลยเช่าซื้อบ้านพิพาทพร้อมที่ดินจากโจทก์ หลังจากชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์แล้วบางส่วน จำเลยจึงทราบว่าโจทก์สร้างบ้านพิพาทโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ดังนี้คำรับรองของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยว่าจะจัดการขอให้ทางราชการออกใบอนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงมีความสำคัญสำหรับจำเลยอย่างยิ่งและเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามคำรับรองนั้นการที่จำเลยรับโอนที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่เป็นกรรมสิทธิ์ทั้งที่รู้ว่าบ้านพิพาทยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างก็ดี และจำเลยนำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองธนาคารก็ดี โจทก์จะถือเอามาเป็นเหตุบอกเลิกหน้าที่ตามคำรับรองหาได้ไม่ แม้จำเลยได้ต่อเติมบ้านพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครแต่ก็ได้ความว่าแม้จำเลยจะมิได้ต่อเติมบ้านพิพาท ทางราชการก็คงไม่ออกใบอนุญาตให้ การที่ทางราชการไม่ออกใบอนุญาตให้จึงมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยเมื่อโจทก์ยังไม่ได้จัดการให้ทางราชการออกใบอนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายตามคำรับรองที่ให้ไว้แก่จำเลย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิจะได้รับชำระเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการครอบครองร่วมกันและการสันนิษฐานถึงส่วนแบ่งเมื่อมีผู้สูญหาย
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกที่ดินพิพาททั้งหมดซึ่งเป็นที่ น.ส.3 อ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นผู้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกันมาโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนถึงปัจจุบันเกินกว่า 1 ปีแล้ว ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และนาย ม. บิดาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ครอบครองที่พิพาทร่วมกัน แม้ต่อมานาย ม. ออกจากบ้านแล้วหายสาบสูญไปก็ถือไม่ได้ว่า ม. สละการครอบครองที่พิพาท จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และนาย ม. มีส่วนในที่พิพาทเท่า ๆ กัน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าของที่พิพาทส่วนของตนได้
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดิน ได้งดดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่จัดรูปใหม่ให้แก่โจทก์ทั้งสามเพราะจำเลยทั้งสามคัดค้านการออกโฉนดโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ม. ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่พิพาท เมื่อมีข้อโต้แย้งและตกลงกันไม่ได้ จำเลยที่ 4 จึงให้คู่กรณีไปดำเนินคดีกันทางศาลก่อน เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่าอย่างไรก็จะปฏิบัติไปตามนั้น จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ หาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดิน ได้งดดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่จัดรูปใหม่ให้แก่โจทก์ทั้งสามเพราะจำเลยทั้งสามคัดค้านการออกโฉนดโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ม. ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่พิพาท เมื่อมีข้อโต้แย้งและตกลงกันไม่ได้ จำเลยที่ 4 จึงให้คู่กรณีไปดำเนินคดีกันทางศาลก่อน เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่าอย่างไรก็จะปฏิบัติไปตามนั้น จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ หาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อกำหนดค่าเสียหายกรณีรถยนต์ชำรุดหลังเลิกสัญญา ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า "ถ้าเจ้าของได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญานี้กับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เช่าซื้อจะชดใช้ให้เจ้าของจนครบถ้วน" เป็นเพียงวิธีการกำหนดค่าเสียหายประการหนึ่งซึ่งพอแปลความได้ว่า ในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโจทก์ได้รถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาในสภาพที่ทรุดโทรม โจทก์อาจไม่ซ่อมแซมรถยนต์นั้นและไม่เรียกค่าซ่อมแซมเป็นค่าเสียหาย แต่อาจขายรถยนต์นั้นไปในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม ได้ราคาเท่าใดก็นำเอามาคำนวณค่าเสียหายโดยให้เป็นจำนวนที่นำเอาไปลบกับราคารถยนต์ที่อาจขายได้ในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วผลต่างก็จะเป็นจำนวนค่าเสียหาย ข้อความตามสัญญาดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อค่าเสียหายจากรถที่รับประกัน และการบังคับใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ไปก่อให้เกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย การที่จำเลยรับประกันภัยรถคันดังกล่าวจากผู้ใด เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว แม้ฟ้องของโจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ทั้งไม่เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดเรื่องค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยทางรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อค่าเสียหาย และค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ไปก่อให้เกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย การที่จำเลยรับประกันภัยรถคันดังกล่าวจากผู้ใด เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว แม้ฟ้องของโจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ทั้งไม่เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดเรื่องค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลย
เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ทั้งไม่เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดเรื่องค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่าย: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี หากพิสูจน์ไม่ได้ ต้องรับผิดชำระภาษี
โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้จ่ายค่าจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างโดยมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเอกสารที่เป็นหลักฐานการจ่ายค่าแรงงาน ไม่ปรากฏสถานภาพของลูกจ้างโจทก์ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ โจทก์จะถือว่าลูกจ้างที่มีรายได้จากโจทก์มีรายได้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ จึงไม่จำต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมไม่ถูกต้องเพราะการที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ต้องดู จากรายได้ทั้งหมดของลูกจ้างแต่ละคนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำมาพิสูจน์ให้เห็นว่าลูกจ้างโจทก์มีเงินได้อยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์เลิกใช้แล้วเป็นที่ดินราชพัสดุ แม้ไม่ได้ขึ้นทะเบียน แต่จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองเกิน 10 ปี
ที่ดินจำเลยตั้งอยู่ติดกับร่องน้ำสาธารณะ ประชาชนนำขยะและสิ่งของไปทิ้งจนร่องน้ำตื้นเขิน เป็นที่ราบ ดังนี้ แม้ที่ดินดังกล่าวจะตื้นเขิน มีระดับเสมอกับที่ดินของจำเลย แต่ก็มิใช่ที่งอกริมตลิ่งเพราะมิได้งอก ไปจากที่ดินของจำเลย การที่คลองหรือร่องน้ำสาธารณะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทกลายสภาพเป็นที่ตื้นเขิน แม้ต่อมาพลเมืองจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยจำเลยเข้าครอบครองปลูกสร้างเพิง สังกะสีแต่ผู้เดียวเมื่อยังไม่มีบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน คลองหรือร่องน้ำดังกล่าวก็ยังคงมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามเดิม แม้โจทก์จะไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินราชพัสดุและจำเลยจะได้ครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้ว จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องรับผิดหากไม่ได้ครอบครองหรือร่วมเดินทางในขณะเกิดเหตุ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะที่เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์มิใช่ฐานะนายจ้างหรือตัวการ จึงเป็นฟ้องที่อาศัยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 437 ฉะนั้นแม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์ แต่เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2ร่วมไปในรถยนต์นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเพราะเหตุเป็นเจ้าของรถยนต์ตามบทบัญญัติดังกล่าว.