พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาท โดยคำนึงถึงการครอบครองพื้นที่เฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาท ซึ่งคู่ความรับกันว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างมีบ้านพักปลูกอยู่บริเวณหมายเลข 1 และหมายเลข 3 ตามแผนที่พิพาท ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงการครอบครองเป็นส่วนสัดเฉพาะตัวบ้านอยู่แล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังฟังไม่ได้ว่าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนใด เช่นนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้ไปรังวัดแบ่งแยกอาณาเขตที่ดินตามส่วนในโฉนดที่ดิน และตามแนวแผนที่พิพาทโดยกันส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออก ส่วนที่เหลือให้แบ่งกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1364 จึงเป็นการชอบแล้วหาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานไม่เพียงพอฟังลงโทษคดีลักทรัพย์ จำเลยอ้างว่าเห็นแต่พฤติการณ์ที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักอะไหล่รถยนต์6รายการและแผ่นอะลูมิเนียม3แผ่นไปจากบริษัท ต. แต่คำเบิกความของ จ. พยานโจทก์ไม่ได้ความชัดว่าภายในกล่องกระดาษซึ่งพยานเห็น ช. คนงานก่อสร้างซึ่งเป็นพวกของจำเลยยกออกจากโรงซ่อมของบริษัท ต. มาวางไว้ด้านหลังโรงซ่อมนั้นมีสิ่งของใดหรือไม่และที่อ้างว่าจำเลยที่1กับ พ. ซึ่งเป็นพวกของจำเลยด้วยได้มาช่วยยกแผ่นอะลูมิเนียม2แผ่นบริเวณก่อสร้างนำไปรวมไว้กับกล่องกระดาษที่ ช. นำมาวางนั้นก็ไม่ปรากฏว่าเป็นแผ่นอะลูมิเนียมของผู้เสียหายหรือไม่และที่อ้างว่าเห็นจำเลยที่2ยกกล่องกระดาษ2ใบไปใส่ในรถของจำเลยที่2ก็ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยที่2นำกล่องกระดาษจากที่ใดและภายในบรรจุสิ่งของใดหรือไม่โจทก์จึงขาดพยานหลักฐานที่มั่นคงที่จะฟังลงโทษจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นลดโทษมาตรา 76 ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และการโต้เถียงดุลพินิจศาล
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่าขณะจำเลยกระทำความผิดจำเลยมีอายุยังไม่เกินยี่สิบปีแต่ศาลชั้นต้นมิได้ระบุไว้ในคำพิพากษาให้ลดหรือไม่ลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76แก่จำเลยเป็นการชอบหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและมิได้เป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค2จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา225 ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค2อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: อายุจำเลยและดุลพินิจศาลในการลดโทษ
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า ขณะจำเลยกระทำความผิดจำเลยมีอายุยังไม่เกินยี่สิบปี แต่ศาลชั้นต้นมิได้ระบุไว้ในคำพิพากษาให้ลดหรือไม่ลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 แก่จำเลย เป็นการชอบหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย และมิได้เป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาคตรา 195วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 225
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเหตุสมควรได้รับการลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความประมาทในคดีขับรถชน ผู้ขับต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ หากผู้ถูกชนสวนเข้ามาในช่องทางเดินรถของผู้ขับโดยไม่มีเหตุผลย่อมไม่ถือว่าผู้ขับประมาท
พยานโจทก์คือจ่าสิบตำรวจ ก. และร้อยตำรวจโท ส.เป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองหรือมีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดคำเบิกความดังกล่าวจึงมีน้ำหนักรับฟังได้เมื่อจ่าสิบตำรวจ ก. เบิกความว่าหลังเกิดเหตุรถชนกันไม่นานพยานไม่เห็นจำเลยมีอาการผิดปกติและไม่มีกลิ่นสุราจากจำเลยและร้อยตำรวจโท ส.ก็เบิกความว่าในคืนเกิดเหตุพยานได้สอบถามจำเลยจำเลยก็เล่าพฤติการณ์ที่เกิดเหตุรถชนกันให้ฟังได้ซึ่งหากจำเลยเมาสุราจ่าสิบตำรวจ ก. น่าจะสังเกตเห็นและจำเลยคงเล่าลำดับเหตุการณ์ให้ร้อยตำรวจโท ส. ฟังไม่ได้พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถในขณะเมาสุรา จำเลยขับรถยนต์มาในช่องเดินรถของจำเลยชิดไหล่ทางด้านซ้ายมือแม้จะเห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ส่ายไปส่ายมาก่อนเกิดเหตุแต่ก็ยังอยู่ในช่องเดินรถของผู้ตายจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่าผู้ตายจะขับรถตรงเข้ามาชนรถของจำเลยเพราะไม่ปรากฏเหตุจำเป็นใดๆที่ผู้ตายต้องกระทำเช่นนั้นเมื่อผู้ตายขับรถสวนเข้ามาในช่องเดินรถของจำเลยในระยะกระชั้นชิดเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยจะห้ามล้อรถให้หยุดได้ในทันทีทั้งไม่มีเวลาพอที่จะบังคับรถยนต์หลบหลีกรถจักรยานยนต์ของผู้ตายได้ทันจึงเกิดเหตุชนกันขึ้นพฤติการณ์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, สิทธิเบิกจ่ายเงิน, การขาดนัดยื่นคำให้การ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยได้ ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเท่ากับจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การในข้อที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติเป็นเจ้าอาวาสของพระปลัด ส.คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้อนี้ แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัด ส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ ล.และ ว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคาร มิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกัน ดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองคนก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรข้อ 7 (ข) กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้ 30 บาท
ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้น ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้ว กรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัด ส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ ล.และ ว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคาร มิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกัน ดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองคนก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรข้อ 7 (ข) กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้ 30 บาท
ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้น ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้ว กรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, คุณสมบัติเจ้าอาวาส, หนังสือมอบอำนาจ, การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจเบิกจ่าย, และการส่งมอบสมุดบัญชี
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยได้ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเท่ากับจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การในข้อที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติเป็นเจ้าอาวาสของพระปลัดส.คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้อนี้แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัดส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ล. และว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคารมิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกันดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรข้อ7(ข)กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้30บาท ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้นดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้วกรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถอนฟ้องแล้ว ศาลยังเพิกถอนนิติกรรมได้หรือไม่? ผลกระทบต่อคู่ความภายนอก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่2แล้วการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยมีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นอันยุติและจำเลยที่2มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไปแต่กลับเป็นบุคคลภายนอกศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและผลกระทบต่อคู่ความภายนอก: ศาลไม่อาจบังคับคดีกับผู้ที่ถูกถอนฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2แล้ว การถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย มีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เป็นอันยุติและจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไป แต่กลับเป็นบุคคลภายนอก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง ทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิใช้ทางเฉพาะที่ดินเจ้าของ ไม่ใช่เจ้าของบ้าน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นกรณีการใช้ทางในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้นไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลดังกล่าว โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ใกล้กับบ้านโจทก์ที่ 1โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่บ้านตั้งอยู่จึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม โจทก์ที่ 1 และบริวารย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทตลอดเวลา หากจำเลยปิดประตูเหล็กตาข่ายไว้สองบานหรือบานใดบานหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอม ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยย่อมไม่มีสิทธิทำเช่นนั้น