พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งศาลของเจ้าหน้าที่ที่ดิน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ และการทิ้งฟ้องฎีกา
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดผู้มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของโจทก์ไว้แล้วไม่ดำเนินการโอนให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้รอการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน อันเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาจึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),132(1)และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง – การปฏิบัติตามหน้าที่ราชการ – การทิ้งฟ้องฎีกา
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดผู้มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของโจทก์ไว้ แล้วไม่ดำเนินการโอนให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้รอการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ก่อนอันเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกา จึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2), 132 (1) และมาตรา 247
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกา จึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2), 132 (1) และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงอายุผู้เสียหายเพื่อปฏิเสธเจตนา เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีมีกำหนด 7 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสองและฐานพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบห้าปีมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 317วรรคสาม โดยให้เรียงกระทงลงโทษ รวมจำคุก 12 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงลงโทษจำคุกรวม 8 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนั้นโทษแต่ละกระทงที่ลดโทษแล้วจึงไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาโดยอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยมิได้รู้ข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายมีอายุไม่เกินสิบห้าปี การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดในข้อเจตนากระทำความผิดนั้น การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าผู้เสียหายมีอายุเท่าใดนั้น เป็นการนำสืบในข้อเท็จจริงและเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาโดยอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยมิได้รู้ข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายมีอายุไม่เกินสิบห้าปี การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดในข้อเจตนากระทำความผิดนั้น การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าผู้เสียหายมีอายุเท่าใดนั้น เป็นการนำสืบในข้อเท็จจริงและเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประเภทอื่นที่ไม่ได้รับการควบคุมตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ผู้เช่าจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
จำเลยเช่าที่ดินทำสวนส้ม เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น ต้องนำมาตรา 63แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาใช้บังคับ เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบการเกษตรกรรมประเภทอื่น จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจำนองสูงกว่าอัตราตามกฎหมาย: การบังคับจำนองและการชำระหนี้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตาม ป.พ.พ.มาตรา 715 (1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปี ผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกดอกเบี้ยจากการจำนอง: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและลำดับการชำระหนี้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปีผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น และการคิดดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยจำนองที่ดินไว้ต่อผู้ร้อง ตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 นั้นก็คือการฟ้องขอบังคับจำนองนั่นเอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วย โดยในส่วนดอกเบี้ยนั้น ลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สู่กว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปีผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาด การงดบังคับคดี และสิทธิในการรับคืนเงินประมูลเมื่อการขายทอดตลาดถูกยกเลิก
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวได้จากการขายทอดตลาดในราคา 1,940,000 บาท ผู้ร้องได้ชำระราคาครบถ้วนในวันขายทอดตลาดและกรมบังคับคดีได้มีหนังสือถึงศาลแพ่งให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องแล้ว แสดงว่าการซื้อขายเสร็จสิ้นลงแล้ว คงอยู่ในระหว่างดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงงดการบังคับคดีไว้เพื่อรอคำสั่งศาลและได้ให้ผู้ร้องรับเงินค่าซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวคืนไปบางส่วน โดยเหลือเงินไว้ร้อยละ 5ของราคาที่ซื้อได้คิดเป็นเงิน 97,000 บาท ปรากฏว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่มีบุคคลอื่นประมูลได้ในราคา 2,320,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่ผู้ร้องประมูลได้กรณีไม่มีความเสียหายใด ๆ ที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516กรมบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินจำนวนนี้ จึงต้องคืนเงินจำนวนนี้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินคืนจากการประมูลซื้อสิทธิการเช่าที่ถูกยกเลิก และการคืนเงินมัดจำเมื่อไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวได้จากการขายทอดตลาดในราคา1,940,000บาทผู้ร้องได้ชำระราคาครบถ้วนในวันขายทอดตลาดและกรมบังคับได้มีหนังสือถึงศาลแพ่งให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องแล้วแสดงว่าการซื้อขายเสร็จสิ้นลงแล้วคงอยู่ในระหว่างดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าเท่านั้นแต่จำเลยที่1ร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงงดการบังคับคดีไว้เพื่อรอคำสั่งศาลและได้ให้ผู้ร้องรับเงินค่าซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวคืนไปบางส่วนโดยเหลือเงินไว้ร้อยละ5ของราคาที่ซื้อได้คิดเป็นเงิน97,000บาทปรากฏว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่มีบุคคลอื่นประมูลได้ในราคา2,320,000บาทซึ่งสูงกว่าราคาที่ผู้ร้องประมูลได้กรณีไม่มีความเสียหายใดๆที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา516กรณีไม่มีความเสียหายใดๆที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา516กรมบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินจำนวนนี้จึงต้องคืนเงินจำนวนนี้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันเพื่อทุเลาการบังคับคดีมีผลเฉพาะชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง สัญญาค้ำประกันสิ้นผล
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทำขึ้นเพื่อขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ไม่มีผลเป็นหลักประกันในการทุเลาการบังคับคดีในชั้นฎีกาเป็นการล่วงหน้าไปด้วย แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันใช้ข้อความว่าเมื่อคดีถึงที่สุด จำเลยไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ยินยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินซึ่งนำมาวางไว้เป็นประกัน การประกันก็มีผลในชั้นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนค่าเสียหายถูกยกไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ด้วยเงิน ของจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยอีกต่อไป จำเลยขอคืนหลักประกัน ที่วางไว้ไปในระหว่างฎีกาได้