คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อากาศ บำรุงชีพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าน้ำประปา-สมาชิกสหกรณ์: ไม่ถือเป็นการค้า อายุความ 10 ปี
ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของโจทก์ต่อมาจำเลยใช้สิทธิในฐานะสมาชิกทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ พร้อมอาคารพาณิชย์ ซึ่งมีข้อตกลงในสัญญาว่าจำเลยจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายของค่าบริการ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้เข้าครองครองตั้งแต่รับมอบจากโจทก์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ชำระค่าน้ำ ค่าบริการ และค่าหุ้นแก่โจทก์ ต่อมาจำเลยค้างชำระค่าน้ำประปาตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 ถึงเดือนพฤษภาคม 2534จำนวน 27 เดือน เป็นเงิน 25,969 บาท ค้างชำระค่าบริการถึงวันฟ้องรวม 1 เดือน เป็นเงิน 100 บาท และค้างชำระค่าหุ้นรวม 11 หุ้น หุ้นละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 550 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,646 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์นั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะค้างชำระค่าน้ำประปาเดือนใดบ้าง คิดเป็นเงินเดือนละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์จากสหกรณ์บริการโจทก์ได้ก็เนื่องมาจากจำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของโจทก์ก่อนและตามข้อบังคับของโจทก์ก็ระบุไว้มีใจความว่าโจทก์ให้บริการต่าง ๆ เฉพาะแก่สมาชิกและครอบครัวเท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ให้บริการน้ำประปาในหมู่บ้านของโจทก์ จึงเป็นการให้บริการเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นสมาชิก มิได้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปการประกอบกิจการของโจทก์ในด้านต่าง ๆ รวมถึงการผลิตจำหน่ายน้ำประปาแก่สมาชิกจึงไม่มีลักษณะเป็นการค้า ดังนั้น การที่โจทก์เรียกค่าน้ำประปาที่ค้างชำระจากจำเลย จึงมิใช่กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) เดิม อันมีอายุความ 2 ปี เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7304/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อลูกหนี้หาประกันมาให้พอชำระหนี้ได้ แม้เป็นตามคำสั่งศาลทุเลาการบังคับ
โจทก์ชนะคดีและได้ขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา260((2)แต่ก็ต้องงดการบังคับคดีไว้เพราะจำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา231วรรคสี่และจำเลยได้วางหลักประกันเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วการวางหลักประกันของจำเลยแม้จะเป็นการวางตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในการทุเลาการบังคับก็ถือได้ว่าจำเลยได้หาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาลสำหรับจำนวนเงินพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีตามมาตรา295(1)แล้วกรณีมีเหตุให้ถอนการบังคับคดีตามมาตรา295(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7304/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อลูกหนี้หาประกันมาให้พอใจศาล แม้เป็นการวางตามคำสั่งศาลอุทธรณ์
โจทก์ชนะคดีในศาลชั้นต้นและโจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2)แต่โจทก์ก็ต้องงดการบังคับคดีไว้เพราะจำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ตามมาตรา 231 วรรคสี่ โดยจำเลยได้ทำสัญญาประกันวางหลักประกันเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้ว การวางหลักประกันของจำเลยดังกล่าว แม้จะเป็นการวางตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก็ตามก็ถือได้ว่า จำเลยได้หาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาลสำหรับจำนวนเงินพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีตามมาตรา 295(1) แล้ว จึงมีเหตุให้ถอนการบังคับคดีโดยถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7304/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อจำเลยวางหลักประกันตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ แม้จะอยู่ระหว่างการทุเลาการบังคับ
โจทก์ชนะคดีและได้ขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) แต่ก็ต้องงดการบังคับคดีไว้เพราะจำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคสี่ และจำเลยได้วางหลักประกันเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้ว การวางหลักประกันของจำเลยแม้จะเป็นการวางตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในการทุเลาการบังคับ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้หาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาลสำหรับจำนวนเงินพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดี ตามมาตรา 295 (1) แล้ว กรณีมีเหตุให้ถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน: คำวินิจฉัย คชก.ต้องถึงที่สุดก่อนฟ้องบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่3ที่4ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียวซึ่งทำให้จำเลยที่3ที่4ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคหนึ่งศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลจะชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของคชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งจำเลยที่3ที่4ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่3ที่4ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคชก.จังหวัดเท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยคชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุดซึ่งตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคสองประกอบมาตรา56วรรคสองคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อคชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วและคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดแต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่3ที่4ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดแต่คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านคชก.ตำบลและเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่าคชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบเพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งแม้จำเลยที่3ที่4ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้งแต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่3ที่4ย่อมฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำวินิจฉัย คชก. ไม่ถึงที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคหนึ่ง ศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของ คชก.ตำบล ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3ที่ 4 ให้การต่อสู้ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คชก.จังหวัด เท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัย คชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุด ซึ่งตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคสองประกอบมาตรา 56 วรรคสอง คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้ว และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว ซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 3ที่ 4 ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด แต่ คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่าน คชก.ตำบล และเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่า คชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบ เพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าว ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้ง แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง ทั้งเจ้าของเดิมและผู้รับโอน
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้รับโอนที่ดินจาก ม.ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า 10 ปี อันมีผลทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจาก ม.ได้ภาระจำยอมในการใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับทางสาธารณะก็ตาม แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินแปลงเดิมที่ได้รับโอนมาจาก ม.ไปแลกเอาที่ดินแปลงใหม่มาจากจำเลยเสียแล้วเมื่อ พ.ศ.2528 ซึ่งระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 6 ปีเศษ และโจทก์ที่ 3เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2534 นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเพียง 1 ปีเศษ ดังนั้นแม้จะฟังว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่ได้ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของตนกับทางสาธารณะตลอดมาถึงวันฟ้องด้วยอำนาจปรปักษ์ ก็มีระยะเวลายังไม่ถึง 10 ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินแปลงใหม่
เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ครั้นโจทก์ที่ 4ถึงที่ 7 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมา แม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาที่ ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภาระจำยอมในการที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1385

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความและการใช้ทางร่วมกันของเจ้าของที่ดินหลายช่วง
แม้โจทก์ที่1และที่2ซึ่งได้รับโอนที่ดินจากม.ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า10ปีอันมีผลทำให้โจทก์ที่1และที่2ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจากม.ได้ภารจำยอมในการใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์ที่1และที่2กับทางสาธารณะก็ตามแต่โจทก์ที่1และที่2นำที่ดินแปลงเดิมที่ได้รับโอนมาจากม. ไปแลกเอาที่ดินแปลงใหม่มาจากจำเลยเสียแล้วเมื่อพ.ศ.2528ซึ่งระยะเวลาที่โจทก์ที่1และที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลา6ปีเศษและโจทก์ที่3เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ศ.2534นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเพียง1ปีเศษดังนั้นแม้จะฟังว่าโจทก์ที่1ถึงที่3ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงใหม่ได้ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของตนกับทางสาธารณะตลอดมาถึงวันฟ้องด้วยอำนาจปรปักษ์ก็มีระยะเวลายังไม่ถึง10ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงใหม่ เจ้ามรดกที่ดินที่โจทก์ที่4ถึงที่7ได้รับโอนมรดกมาได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินมรดกกับทางสาธารณะในหมู่บ้านด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วครั้นโจทก์ที่4ถึงที่7ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกสืบต่อมาแม้จะใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินแปลงดังกล่าวกับทางสาธารณะในหมู่บ้านตลอดมาด้วยอำนาจปรปักษ์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทมายังไม่ครบ10ปีก็ตามแต่เมื่อนับระยะเวลาที่ก.เจ้ามรดกได้ใช้ทางพิพาทมาก่อนรวมเข้ากับระยะเวลาที่โจทก์ที่4ถึงที่7ผู้รับมรดกได้ใช้ทางพิพาทต่อมาได้ระยะเวลาครบ10ปีแล้วที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์ย่อมต้องตกอยู่ในภารจำยอมในการที่โจทก์ที่4ถึงที่7จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่4ถึงที่7ซึ่งเป็นสามยทรัพย์โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบด้วยมาตรา1385

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเลิกสัญญาและการคืนเงินมัดจำ
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสอง ทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่เพราะกลฉ้อฉล และสิทธิในการเรียกเงินมัดจำคืน
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสองทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอนโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน
of 127