พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ แม้เจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้สอบสวน หากสิทธิถูกโต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)จากผู้มีชื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอให้รังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอไปรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินให้โจทก์จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านต่อที่ดินอำเภออ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยดังนี้แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.เป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วโจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นผู้คัดค้านการที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนเปรียบเทียบและดำเนินการตามระเบียบต่อไปโดยได้ส่งหนังสือให้จำเลยตามที่อยู่ของจำเลยแล้วแต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหนังสือนัดหมายทางพนักงานเจ้าหน้าที่จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบไม่ได้ในกรณีเช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถจะสั่งการใดๆให้โจทก์จำเลยปฏิบัติได้และตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60หาได้มีข้อห้ามมิให้โจทก์ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: แม้เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้สอบสวนเปรียบเทียบ ก็ฟ้องได้หากสิทธิถูกโต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จากผู้มีชื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอให้รังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจาก น.ส.3เป็น น.ส.3 ก. เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอไปรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินให้โจทก์ จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านที่ดินอำเภออ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลย ดังนี้ แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จาก น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก.เป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นผู้คัดค้านการที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจาก น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก. ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนเปรียบเทียบและดำเนินการตามระเบียบต่อไปโดยได้ส่งหนังสือให้จำเลยตามที่อยู่ของจำเลยแล้ว แต่เมื่อถึง วันนัดจำเลยไม่ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหนังสือนัดหมาย ทางพนักงานเจ้าหน้าที่จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถสั่งการใด ๆ ให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามได้และตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 60 หาได้มีข้อห้ามมิให้โจทก์ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องยาเสพติด: เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์และเฮโรอีนเป็นยาเสพติดชนิดเดียวกัน ฟ้องไม่คลุมเครือ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีและจำหน่ายเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีน แม้คำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ริบเฮโรอีนซึ่งเป็นคนละชนิดกัน แต่เมื่อตาม ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2522)เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โจทก์ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เฮโรอีนหมายรวมถึงเกลือใด ๆของเฮโรอีนด้วย เฮโรอีนคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนก็คือเฮโรอีนและเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีและจำหน่ายเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีน แม้ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าจำเลยมี และจำหน่ายเฮโรอีน แต่เมื่อเฮโรอีนหมายรวมถึงเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนด้วยเฮโรอีนและเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์จึงเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเดียวกันมิได้แตกต่างกันในข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องคดียาเสพติด: เฮโรอีนและเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์เป็นยาเสพติดชนิดเดียวกัน ฟ้องไม่คลุมเครือ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีและจำหน่ายเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนแม้คำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ริบเฮโรอีนซึ่งเป็นคนละชนิดกันแต่เมื่อตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่2(พ.ศ.2522)เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522เฮโรอีนหมายรวมถึงเกลือใดๆของเฮโรอีนด้วยเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนก็คือเฮโรอีนและเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเดียวกันฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีและจำหน่ายเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนแม้ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าจำเลยมีและจำหน่ายเฮโรอีนแต่เมื่อเฮโรอีนหมายรวมถึงเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนด้วยเฮโรอีนและเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์จึงเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเดียวกันมิได้แตกต่างกันในข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855-6857/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมผูกพันทายาท แม้ไม่ได้ระบุชัดในคำฟ้อง
การที่จะทราบว่าโจทก์ฟ้องในฐานะใดจะต้องพิจารณาฟ้องรวมกันทั้งฉบับมิใช่เฉพาะในแบบพิมพ์คำฟ้องในช่องโจทก์เท่านั้น คดีก่อนส. ฟ้องเรียกที่ดินพิพาททั้งหมดจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบ.ซึ่งเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่นรวมทั้งโจทก์และทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วการที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้อีกในประเด็นเดิมที่ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่จึงเป็นฟ้องซ้ำแม้ในคดีก่อนส. จะไม่ได้ระบุในช่องโจทก์ว่าส.ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6760/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดจำนวนกรรมความผิดฐานรับของโจรโดยพิจารณาจากช่วงเวลาการกระทำความผิดตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจรในระหว่างวันที่22ตุลาคม2536เวลากลางวันถึงวันที่18มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยงกรรมหนึ่งกับกระทำความผิดฐานรับของโจรในระหว่างวันที่2เมษายน2537เวลากลางวันถึงวันที่18มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยงอีกกรรมหนึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรและคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีกข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร2กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6760/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจร: การกระทำความผิดหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจรในระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม 2536 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 18มิถุนายน 2537 เวลากลางคืนหลังเที่ยง กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรในระหว่างวันที่ 2 เมษายน 2537 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 18 มิถุนายน2537 เวลากลางคืนหลังเที่ยง อีกกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าแผงค้า-การเพิกถอนสิทธิ-การปฏิบัติตามระเบียบ-อำนาจคณะกรรมการตลาด
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526ข้อที่27ระบุว่าผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้นมีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้งเช่นได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสดแต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้วและได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วยเช่นกรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิตคือปลาเลี้ยงปลาสวยงามต่างๆตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลาอุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วยย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าวนอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่3)พ.ศ.2527ข้อ2ประเภทแผงค้า(4)สัตว์มีชีวิตก็ดีตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานครระบุว่าประเภทสินค้าสัตว์มีชีวิตก็ดีมิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นและตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่2ว่าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลายๆประเภทไว้ณสถานที่เดียวกันผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่งช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะดังนั้นการที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงามและมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่ การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลาดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการค้าในตลาดนัด: การจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับประเภทที่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526 ข้อที่ 27 ระบุว่า ผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้น มีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาต แต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้ง เช่น ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด แต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้ เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้ แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้ว และได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วย เช่น กรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิต คือ ปลาเลี้ยง ปลาสวยงามต่าง ๆ ตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลา อุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วย ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2527 ข้อ 2 ประเภทแผงค้า (4) สัตว์มีชีวิตก็ดี ตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ระบุว่าประเภทสินค้า สัตว์มีชีวิตก็ดี มิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัด ได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่ 2ว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลาย ๆ ประเภทไว้ ณ สถานที่เดียวกัน ผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่ง ช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะ ดังนั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงาม และมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนสิทธิในที่ดินหลังทำสัญญาเช่าซื้อครบถ้วน: ไม่ใช่การรับมรดก แต่เป็นการได้มาตามข้อบังคับสหกรณ์
แม้ ร. ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินพิพาทครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2510และ ร.มีสิทธิเรียกร้องในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าซื้ออันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของ ร.ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ ร.ยังมีชีวิตอยู่ในปี 2513 ร.ได้ทำหนังสือแสดงความจำนงตามข้อบังคับของสหกรณ์ ธ.ว่า หาก ร.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสหกรณ์ ธ.ขอให้สหกรณ์ ธ.โอนบรรดาสิทธิผลประโยชน์และหนี้สินที่ ร.มีอยู่ในสหกรณ์ ธ.ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท ต่อมา ร.ทำกินในที่ดินพิพาทไม่ไหว ในปี 2518 สหกรณ์ ธ.ได้รับจำเลยเข้าเป็นสมาชิกแทน ร. สิทธิในที่ดินพิพาทจึงโอนมาเป็นของจำเลยตามข้อบังคับของสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมาปี 2522 ร.ถึงแก่ความตาย สิทธิในที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ ร.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของ ร.ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในปี 2531 จึงไม่ใช่การรับโอนมรดกของ ร.ในฐานะเจ้าของรวมผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับโจทก์ แต่เป็นเพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้น