พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่า และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในการต่อสู้คดี
เมื่อค่าเช่าอาคารพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องได้กำหนดกันไว้แน่นอนแล้วว่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไปว่า อาคารพิพาทดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละเท่าใด คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนทรัพย์ฝากไม่ขาดอายุความ ตราบเท่าที่ทรัพย์ยังเป็นของเจ้าของ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นการใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่ฝาก โจทก์ก็มีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ที่ฝากยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องคืนทรัพย์ที่ฝาก vs. ค่าสินไหมทดแทนจากการฝากทรัพย์ สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะของการรับฝาก
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือกเป็นการใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนดังนั้นเมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่ฝากโจทก์ก็มีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ที่ฝากยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทและขอบเขตอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงบางส่วน
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาทจนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาทจึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาทและตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆและเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้ เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้องแต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้นเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การละเมิด, และการส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาท จนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาท จึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้สักแปรรูปโดยผู้ขับขี่รถบรรทุก แม้มีผู้อ้างเป็นเจ้าของ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อ ได้ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อรับจ้างบรรทุกไม้สักแปรรูปของกลางจากต่างจังหวัดมุ่งหน้าจะเข้ากรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นเจ้าของไม้ขับรถยนต์เก๋งนำทาง แต่จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมระหว่างทาง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ครอบครองไม้สักแปรรูปของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้สักแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิสูจน์การครอบครองและโทษที่เหมาะสม
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อได้ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อรับจ้างบรรทุกไม้สักแปรรูปของกลางจากต่างจังหวัดมุ่งหน้าจะเข้ากรุงเทพมหานครโดยมีบุคคลที่จำเลยที่1อ้างว่าเป็นเจ้าของไม้ขับรถยนต์เก๋งนำทางแต่จำเลยที่1ถูกจับกุมระหว่างทางพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้ครอบครองไม้สักแปรรูปของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ศาลไม่อนุมัติการจัดการทรัพย์สินหากทรัพย์สินนั้นไม่มีรายได้ประจำ
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว3ชั้น2คูหาและห้องแถวไม้เก่าๆชั้นเดียวจำนวน8ห้องปลูกอยู่แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว2คูหาเป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนตร์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรมจำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษารายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ศาลไม่อนุมัติผู้จัดการทรัพย์สินหากทรัพย์สินนั้นไม่มีรายได้ประจำจากการประกอบธุรกิจ
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว3ชั้น2คูหาและห้องแถวไม้เก่าๆชั้นเดียวจำนวน8ห้องปลูกอยู่แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว2คูหาเป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนต์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรมจำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิลม์ภาพยนต์แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษารายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนต์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินยึด: รายได้จากเช่าฟิล์มไม่ถือเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว 3 ชั้น 2 คูหา และห้องแถวไม้เก่า ๆชั้นเดียว จำนวน 8 ห้อง ปลูกอยู่ แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว 2 คูหา เป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนตร์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรม จำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา รายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307