พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ฟ้องแย้งแสดงกรรมสิทธิ์ไม่เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ โฉนดเลขที่ 145 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ 16 เมตร ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า อาคารที่จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่ประการใด หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบันเกินกว่า 10 ปี จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 145ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ50 เมตร ตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท หากคดีฟังได้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจำเลยที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง หาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท: การรุกล้ำที่ดินและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 145 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ 16 เมตร ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า อาคารที่จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบันเกินกว่า10 ปี จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 145 ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เมตร ตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท หากคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง จำเลยที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง หาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5289/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การคบชู้และพฤติกรรมไม่เหมาะสมของคู่สมรสต่อบุคคลอื่นและบุตร
โจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่เพราะโจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะหึงหวงและป้องกันมิให้โจทก์ทอดทิ้งตนและบุตรจำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ให้โอนย้ายโจทก์เพื่่อให้โจทก์เลิกยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นและให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัวแต่่โจทก์มิได้ปฏิบัติตัวดีขึ้นจำเลยจึงต้องร้อยเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์อีกหลายครั้งเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์แต่โจทก์ไม่นำพาจนถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยและการที่โจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาทั้งเห็นดีเห็นชอบให้หญิงอื่นแสดงตนเทียบฐานะเสมอจำเลยโดยใช้สรรพนามแทนตนว่า"แม่"ต่อบุตรทั้งสองของโจทก์จำเลยย่อมเกินกว่าที่จำเลยจะยอมรับได้ที่จำเลยกีดกันหลบเลี่ยงมิให้โจทก์พบปะบุตรจึงมีเหตุผลที่จะกระทำได้โจทก์จะอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5289/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหึงหวงและการปกป้องครอบครัว: เหตุสมควรในการกีดกันสามีจากภรรยาอื่น
โจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่เพราะโจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะหึงหวงและป้องกันมิให้โจทก์ทอดทิ้งตนและบุตร จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ให้โอนย้ายโจทก์เพื่อให้โจทก์เลิกยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่น และให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัว แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตัวดีขึ้น จำเลยจึงต้องร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์อีกหลายครั้ง เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ แต่โจทก์ไม่นำพา จนถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงทัณฑ์ทางวินัย และการที่โจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยา ทั้งเห็นดีเห็นชอบให้หญิงอื่นแสดงตนเทียบฐานะเสมอจำเลย โดยใช้สรรพนามแทนตนว่า "แม่" ต่อบุตรทั้งสองของโจทก์จำเลย ย่อมเกินกว่าที่จำเลยจะยอมรับได้ ที่จำเลยกีดกัน หลบเลี่ยง มิให้โจทก์พบปะบุตร จึงมีเหตุผลที่จะกระทำได้ โจทก์จะอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการยอมรับชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ว.เป็นสามี ธ.และเป็นบุตรของจำเลย ว.และ ธ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 2 จำนวน คือหนี้เกิดจากการซื้อหุ้นและออกเช็คกับหนี้เงินกู้รวมเป็นเงิน 24,128,385 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยยินยอมให้ ว.นำที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่พิพาทโอนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อมาโจทก์แจ้งให้ ว.จัดการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และ/หรือใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหักทรัพย์สินที่ไม่ชำระหนี้ออกไป และหาก ว.ไม่ดำเนินการโจทก์ขอถือหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแจ้งว่าโจทก์ขอตั้งผู้ตีราคาทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ช.เป็นผู้ตีราคาและผู้ตีราคาได้ตีราคาทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้ไม่ได้เป็นเงิน 2,930,000 บาท ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ว.ดำเนินการดังที่แจ้งไว้อีกครั้ง แต่ ว.มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด โจทก์จึงยื่นฟ้อง ว.และ ธ.เป็นคดีล้มละลาย โดยนำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเป็นเงิน 2,930,000 บาท เพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้หักออกจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นำไปเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องและขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้วดังนี้ เมื่อทรัพย์สินที่ ว.และ ธ.นำมาทำสัญญาเพื่อโอนชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้แก่ที่ดินและบ้าน ที่ดินและที่พิพาทกับรถยนต์นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์และ ว.กับ ส.ลูกหนี้ระบุไว้ว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวรายใดไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ก็ต้องหักออกไปตามราคาที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้ผู้ตีราคาซึ่งโจทก์เป็นผู้ตั้งขึ้นมาตีราคา คำวินิจฉัยของผู้ตีราคาดังกล่าวให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการตกลงราคาหรือตีราคาทรัพย์สินแล้ว ก็จะต้องนำไปหักออกจากยอดเงินที่ระบุไว้ในสัญญา และถือว่า ว.และ ธ.ยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เป็นหนี้เงินตามจำนวนเงินที่มีการตกลงหรือตีราคาทรัพย์สินนั้น เมื่อปรากฏว่า หลังจากจำเลยปฏิเสธไม่ยอมโอนที่พิพาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือถึง ว.และ ธ.ขอให้ตีราคาที่พิพาท จนต่อมาได้มีการตั้งผู้ตีราคาและตีราคาที่พิพาท แล้วโจทก์นำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคา เพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ไปรวมกับยอดเงินที่โจทก์ฟ้อง ว.และ ธ.เป็นคดีล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นจากลูกหนี้แทนการชำระหนี้โดยการรับโอนที่พิพาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอม-ยอมความ ย่อมทำให้หนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะต้องโอนที่พิพาทแก่โจทก์เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีก
การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยก ป.พ.พ.มาตรา 198 และมาตรา 199ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ ว.และ ธ.ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของ ป.พ.พ.มาตรา 198 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยก ป.พ.พ.มาตรา 198 และมาตรา 199ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ ว.และ ธ.ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของ ป.พ.พ.มาตรา 198 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยการรับชำระด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการโอนทรัพย์สินเดิม สิทธิระงับเมื่อเจ้าหนี้รับชำระหนี้แล้ว
ว.เป็นสามีธ.และเป็นบุตรของจำเลยว.และธ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์2 จำนวน คือหนี้เกิดจากการซื้อหุ้นและออกเช็คกับหนี้เงินกู้รวมเป็นเงิน 24,128,385 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยยินยอมให้ ว.นำที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่พิพาทโอนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อมาโจทก์แจ้งให้ ว.จัดการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และ/หรือใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหักทรัพย์สินที่ไม่ชำระหนี้ออกไปและหาก ว.ม่ดำเนินการโจทก์ขอถือหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแจ้งว่าโจทก์ขอตั้งผู้ตีราคาทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ช.เป็นผู้ตีราคาและผู้ตีราคาได้ตีราคาทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้ไม่ได้เป็นเงิน 2,930,000 บาทต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ว.ดำเนินการดังที่แจ้งไว้อีกครั้ง แต่ ว.มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด โจทก์จึงยื่นฟ้องว.และธ.เป็นคดีล้มละลาย โดยนำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเป็นเงิน 2,930,000 บาทเพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้หักออกจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นำไปเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องและขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์สินที่ ว.และ ธ.นำมาทำสัญญาเพื่อโอนชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้แก่ที่ดินและบ้าน ที่ดินและที่พิพาทกับรถยนต์นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และ ว.กับส.ลูกหนี้ระบุไว้ว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวรายใดไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ก็ต้องหักออกไปตามราคาที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้ผู้ตีราคาซึ่งโจทก์เป็นผู้ตั้งขึ้นมาตีราคา คำวินิจฉัยของผู้ตีราคาดังกล่าวให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการตกลงราคาหรือตีราคาทรัพย์สินแล้ว ก็จะต้องนำไปหักออกจากยอดเงินที่ระบุไว้ในสัญญา และถือว่า ว.และธ.ยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เป็นหนี้เงินตามจำนวนเงินที่มีการตกลงหรือตีราคาทรัพย์สินนั้นเมื่อปรากฏว่า หลังจากจำเลยปฏิเสธไม่ยอมโอนที่พิพาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือถึง ว.และธ.ขอให้ตีราคาที่พิพาทจนต่อมาได้มีการตั้งผู้ตีราคาและตีราคาที่พิพาท แล้วโจทก์นำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ไปรวมกับยอดเงินที่โจทก์ฟ้องว.และธ. เป็นคดีล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นจากลูกหนี้แทนการชำระหนี้โดยการรับโอนที่ดินพิพาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้หนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะต้องโอนที่พิพาทแก่โจทก์เป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีก การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 198 และมาตรา 199 ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ว.และธ. ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องจำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าต้องระบุการกระทำต่อเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108 ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 110 ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเครื่องหมายการค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง: ศาลแก้ไขคำพิพากษาข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าเนื่องจากคำฟ้องไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา108และศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108ดังกล่าวคงบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา108ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา110ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา108เท่านั้นกรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา108แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534ได้ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยเรื่องริบรถจักรยานยนต์ในคดีเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา134,134วรรคสอง,มาตรา160ทวิประมวลกฎหมายอาญามาตรา83แต่ให้รอการกำหนดโทษและคุมประพฤติไว้ส่วนรถจักรยานยนต์ของกลางไม่ริบศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่าให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา124ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้ไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นการขอแก้ไขดุลพินิจของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวันเวลาเกิดเหตุในฟ้อง และการนำสืบแก้ข้อกล่าวหาที่ไม่ถือว่าหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่าเหตุเกิดวันที่4สิงหาคมแต่นำสืบว่าเหตุเกิดวันที่4มิถุนายนเป็นข้อแตกต่างเพียง รายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามมิให้ถือว่าต่างกันใน ข้อสาระสำคัญ ในชั้นแรกจำเลยให้การปฏิเสธลอยต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าตามวันเวลาในฟ้องจำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุแต่จำเลยเบิกความว่าในวันเกิดเหตุตามที่โจทก์นำสืบผู้เสียหายและน้องชายจำเลยมาขอให้จำเลยไกล่เกลี่ยเรื่องที่บุคคลทั้งสองมีเรื่องชกต่อยกันขณะบุคคลทั้งสองอยู่ที่บ้านจำเลยก็เกิดทะเลาะต่อสู้ทำร้ายกันจนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการกระทำผิดด้วยถือได้ว่าจำเลยนำสืบแก้ข้อกล่าวหาโดยมิได้ หลงต่อสู้ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยได้