พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2538/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีราคาทรัพย์สินพิพาทเกินสองแสนบาท และประเด็นสิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้จะมีคำขอตามฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ตาม แต่ประเด็นข้อพิพาทที่แท้จริงของคดีก็คือ โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ส่วนคำขอที่ขอให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นว่าสิทธิครอบครองเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคา-เงินได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้เป็นคดีมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสองแสนบาท จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจให้การรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง และไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะฎีกาได้ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินมรดก แม้ผู้รับพินัยกรรมไม่มีตัวตน และการกำหนดค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อขอแบ่งแยกและลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม มิได้ฟ้องทายาทขอให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังนั้น ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจะมีตัวตนอยู่หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี และแม้ผู้มีชื่อรับพินัยกรรมจะไม่มีตัวตนก็ตามก็มีผลเพียงทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกแก่บุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมสิ้นผลไปเท่านั้นส่วนข้อกำหนดที่ระบุให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้นหาได้เสื่อมเสียไปไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินตามพินัยกรรมไว้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมย่อมมีสิทธิขอแบ่งแยกและใส่ชื่อตนในโฉนดในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นมรดก เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นมรดก เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมในการแบ่งแยกทรัพย์มรดก แม้ผู้รับมรดกไม่มีตัวตน
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อขอแบ่งแยกและลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม มิได้ฟ้องทายาทขอให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรม ดังนั้น ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจะมีตัวตนอยู่หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี และแม้ผู้มีชื่อรับพินัยกรรมจะไม่มีตัวตนก็ตามก็มีผลเพียงทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกแก่บุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมสิ้นผลไปเท่านั้น ส่วนข้อกำหนดที่ระบุให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้นหาได้เสื่อมเสียไปไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินตามพินัยกรรมไว้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมย่อมมีสิทธิขอแบ่งแยกและใส่ชื่อตนในโฉนดในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นมรดก เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเด็กและการพิพากษาโทษจำคุก โดยพิจารณาความสัมพันธ์ 'ศิษย์-อาจารย์' และหน้าที่ความรับผิดชอบ
จำเลยไม่เคยสอนในชั้นที่ผู้เสียหายเรียนจำเลยสอนเด็กเล็กทั้งจำเลยมิได้เป็นครูใหญ่ซึ่งโดยหน้าที่แล้วมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียนทั้งโรงเรียนหรือเป็นครูเวรหรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ดูแลผู้เสียหายในขณะเกิดเหตุข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง แม้ไม่ใช่ครูผู้ดูแลโดยตรง แต่ยังคงมีความผิดตามมาตรา 277
จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอ.ผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกิน13ปีแต่จำเลยไม่เคยสอนในชั้นที่ผู้เสียหายเรียนจำเลยสอนเด็กเล็กทั้งจำเลยมิได้เป็นครูใหญ่ซึ่งโดยหน้าที่แล้วมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียนทั้งโรงเรียนหรือเป็นครูเวรหรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ดูแลผู้เสียหายในขณะเกิดเหตุจึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลมาตรา285จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา277วรรคสองเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดชำเราเด็กหญิง: ไม่เข้าข่ายความรับผิดฐานครูดูแลศิษย์
จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง อ. ผู้เสียหาย ซึ่งอายุยังไม่เกิน13 ปี แต่จำเลยไม่เคยสอนในชั้นที่ผู้เสียหายเรียน จำเลยสอนเด็กเล็ก ทั้งจำเลยมิได้เป็นครูใหญ่ซึ่งโดยหน้าที่แล้วมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียนทั้งโรงเรียน หรือเป็นครูเวรหรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ดูแลผู้เสียหายในขณะเกิดเหตุ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.มาตรา 285 จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา277 วรรคสอง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาทรัพย์สินพิพาทต่ำกว่าสองแสนบาท และข้อโต้แย้งเป็นเรื่องข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนและขนย้ายท่อส่งน้ำและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องออกไปจากที่พิพาทของโจทก์จำเลยทั้งสามให้การว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณะขอให้ยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณะซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันเมื่อมีราคาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดกับประกาศกระทรวงและข้อบัญญัติท้องถิ่นควบคุมอาคาร
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตาม แต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2ทั้งสองฟาก ฯลฯ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ริมถนนสุขาภิบาล 2ทั้งสองฟาก ฯลฯ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9และมาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ 15 เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล 2 และยังมีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการพิจารณา
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตาม แต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลพิพากษาๆได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งสองฟาก ฯลฯ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งสองฟาก ฯลฯ ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 และมาตรา 13แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ 15 เมตร จากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล 2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตการก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคารและประกาศกระทรวง/ข้อบัญญัติท้องถิ่น
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตามแต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9และมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ15เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้