พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร แม้ไม่มีข้อห้ามในตอนแรก แต่มีข้อห้ามใช้บังคับในภายหลัง
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตามแต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9และมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ15เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายสินค้า: องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรไม่ใช่พ่อค้า, ใช้ อายุความ 10 ปี
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ.2517มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรหาใช่ประกอบการค้าโดยซื้อสินค้ามาแล้วนำออกขายเป็นปกติธุระไม่จึงมิใช่เป็นพ่อค้าจะนำอายุความ2ปีมาใช้บังคับกรณีขอให้ลูกหนี้ชำระค่าอาหารสุกรไม่ได้ต้องใช้อายุความ10ปี จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยซื้อเชื่ออาหารสุกรจากโจทก์แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่ามีการซื้อขายอาหารสุกรด้วยจริงหรือไม่เพื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จำเลยได้แถลงรับว่าจำเลยได้ซื้อและรับมอบสินค้าจากโจทก์ไปจริงเท่ากับได้ สละประเด็นข้อต่อสู้เรื่องนี้แล้วการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยคดีโดยมิได้ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยเรื่องนี้ก่อนแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา: การยอมความไม่สมบูรณ์ ไม่ระงับการฟ้องคดี
คดีข่มขืนกระทำชำเราเมื่อผู้เสียหายยืนยันว่าได้ถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่และยังได้บอกให้บิดาทราบในทันทีที่บิดากลับบ้านหลังเกิดเหตุเพียง2ชั่วโมงประกอบกับในการเจรจาระหว่างญาติฝ่ายผู้เสียหายกับฝ่ายจำเลยจำเลยก็ยอมรับว่าได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจริงพยานหลักฐานโจทก์จึงฟังลงโทษจำเลยได้ ฝ่ายผู้เสียหายตกลงกับจำเลยและญาติจำเลยว่าฝ่ายจำเลยจะดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายและสู่ขอแต่งงานกับผู้เสียหายใน10วันโดยไม่ให้มีการแจ้งความดำเนินคดีแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงกรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การยินยอมของเจ้าของรวม, ผลของการบอกเลิกสัญญา, และการคืนเงินมัดจำ
ที่ดินพิพาทตามโฉนดมีชื่อ ผ. ภรรยาจำเลยเป็นเจ้าของแต่ ผ.ได้ถึงแก่ความตายแล้วจำเลยและบุตรทุกคนจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทการที่จำเลยแต่ผู้เดียวทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าพวกบุตรจำเลยยินยอมให้ขายจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1361วรรคสองสัญญาจะซื้อขายไม่ผูกพันบุตรของจำเลยโจทก์จะฟ้องบังคับตามสัญญามิได้ การที่ต่อมาจำเลยไม่สามารถโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้เพราะบุตรจำเลยทุกคนไม่ตกลงขายให้นั้นจะถือว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้เพราะจำเลยได้บอกโจทก์ในวันทำสัญญาแล้วว่าหากบุตรจำเลยตกลงขายด้วยจึงจะไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาแต่หากบุตรจำเลยไม่ขายก็จะไม่ขายให้จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อฝ่ายจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโอนที่พิพาทแก่โจทก์ไม่ได้และให้โจทก์มารับมัดจำคืนตามพฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยได้ร่วมรู้กันดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391มีผลว่าคู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับเงินมัดจำไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ ในการรอการกำหนดโทษเกิน 2 ปี และการพิจารณาปัจจัยเยาวชนเพื่อโอกาสกลับตน
พระราชบัญญัติญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา106ให้อำนาจศาลพิพากษารอการกำหนดโทษได้แม้ว่าจะกำหนดโทษจำคุกเกินกว่า2ปีและปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่อาจรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้จึงไม่ชอบส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ศาลฎีการอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษแม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้เนื่องจากเป็นฎีกาที่เกี่ยวพันกับปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความในการหย่าขาดจากกัน เป็นเหตุให้ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยให้จำเลยเป็นผู้ปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ทั้งสามและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวตามที่คู่ความได้ตกลงกันนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นแห่งบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวฉะนั้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่าจำเลย ไม่ได้ สละประเด็นเรื่อง อำนาจฟ้องอันเป็นการโต้แย้งข้อความที่ตกลงกันและมิได้มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3รับวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ย่อมไม่ชอบจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยไม่อาจฎีกาในประเด็นนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนซื้อขายที่ดิน & อำนาจฟ้อง: โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ และผลของการรอนสิทธิ
จำเลยทั้งสามเป็นหุ้นส่วนกันในการซื้อขายที่ดินพิพาทแม้จำเลยที่2และที่3มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อจะขายโดยมีจำเลยที่1เพียงผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้จะขายและโจทก์ที่1เป็นผู้จะซื้อสัญญาดังกล่าวก็ผูกพันจำเลยที่2และที่3ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1050ส่วนโจทก์ที่2ถึงที่8นั้นไม่ปรากฏชื่อหรือได้ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาด้วยทั้งไม่มีหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุนว่าเป็นหุ้นส่วนหรือตัวแทนตัวการกันสัญญาดังกล่าวใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1ถึงที่3เท่านั้นโจทก์ที่2ถึงที่8จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางจำเป็นเมื่อใช้ทางต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี แม้เจ้าของที่ดินจะกั้นรั้วก็ไม่อาจขัดขวางได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายประกอบเอกสารกับภาพถ่ายท้ายฟ้องอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องไว้แล้วว่าเดิมพ.สามีจำเลยจัดสรรแบ่งขายที่ดินตามโฉนดเลขที่2800ให้แก่คนทั่วไปโดยที่ดินส่วนหนึ่งคือที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทตามโฉนดเลขที่10514ได้เว้นไว้สำหรับทำทางเดินและทางรถกว้าง2วาตามแผนที่โฉนดท้ายฟ้องหมายเลข2โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว่า10ปีและบรรยายต่อไปว่าจำเลยได้ให้คนปักเสาขึงลวดหนามกั้นเขตที่ดินโจทก์และปักเสา3ต้นขวางถนนเข้าบ้านโจทก์ตามภาพถ่ายหมายเลข4และ5ตามลำดับทำให้โจทก์รับความเสียหายเสื่อมประโยชน์โดยไม่อาจทำประตูเข้าออกบ้านได้ฟ้องของโจทก์บรรยายชัดเจนซึ่งสภาพแห่งข้อหาปิดกั้นทางภารจำยอมคำขอบังคับให้จำเลยรื้อรั้วและเสาที่กั้นเขตที่ดินกั้นทางเข้าออกตลอดถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เดิมพ. ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วยเมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า10ปีโดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภารจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภารจำยอมดังกล่าวไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใดๆอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา1390 หากจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิได้อยู่แล้วโจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้วมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเดิน: การใช้ทางต่อเนื่องกว่า 10 ปี และสิทธิของผู้รับมรดก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายประกอบเอกสารกับภาพถ่ายท้ายฟ้องอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องไว้แล้วว่า เดิม พ.สามีจำเลยจัดสรรแบ่งขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2800 ให้แก่คนทั่วไปโดยที่ดินส่วนหนึ่งคือที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทตามโฉนดเลขที่10514 ได้เว้นไว้สำหรับทำทางเดินและทางรถกว้าง 2 วา ตามแผนที่โฉนดท้ายฟ้องหมายเลข 2 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว่า 10 ปี และบรรยายต่อไปว่าจำเลยได้ให้คนปักเสาขึงลวดหนามกั้นเขตที่ดินโจทก์ และปักเสา 3 ต้น ขวางถนนเข้าบ้านโจทก์ตามภาพถ่ายหมายเลข 4 และ 5 ตามลำดับ ทำให้โจทก์รับความเสียหายเสื่อมประโยชน์โดยไม่อาจทำประตูเข้าออกบ้านได้ ฟ้องของโจทก์บรรยายชัดเจนซึ่งสภาพแห่งข้อหาปิดกั้นทางภาระจำยอม คำขอบังคับให้จำเลยรื้อรั้วและเสาที่กั้นเขตที่ดิน กั้นทางเข้าออก ตลอดถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือใช้สอยและการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แม้ที่ดินถูกเวนคืน สิทธิของผู้เช่ายังคงมีอยู่
แม้ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทถูกเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎรแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันโจทก์มีสิทธิยึดถือและใช้สอยบ้านพิพาทกับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้ใดเกี่ยวข้องในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาผู้เช่าบ้านพิพาทยอมรับสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าและได้รับประโยชน์ในบ้านพิพาทที่เช่าจำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่เมื่อการเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซึ่งโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระได้และการที่จำเลยอยู่ต่อมาได้ชื่อว่าอยู่โดยละเมิดสิทธิโจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามที่ฟ้องปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยแต่เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็นำสืบจนคดีเสร็จสำนวนแล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่อีก