คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อากาศ บำรุงชีพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินต้องระบุจำนวนเงิน หากไม่ระบุถือเป็นสัญญากู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถนำมาใช้บังคับคดีได้
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ให้กู้ยืมไว้นั้นเป็นการสาระสำคัญไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้แม้ในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้นำเช็คเงินสดซึ่งมีการระบุจำนวนเงินเอาไว้ชัดเจนแล้วมอบให้ผู้ให้กู้เพื่อเป็นการค้ำประกันก็ฟังได้แต่เพียงว่าผู้กู้นำเช็คดังกล่าวมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินเท่านั้นไม่อาจฟังว่าผู้กู้ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ไปตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเนื่องจากแยกกันอยู่โดยสมัครใจเกิน 3 ปี และสิทธิในการเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพ
โจทก์ออกจากบ้านที่ปลูกสร้างและอยู่กินกับจำเลยเพราะต้องการพาบิดาซึ่งเป็นโรคหัวใจไปให้พ้นจากบิดาจำเลยซึ่งชอบดื่มสุราแล้วส่งเสียงดังโจทก์และจำเลยเคยตกลงจะไปจดทะเบียนหย่าขาดจากกันแต่หย่าไม่ได้เพราะโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลยพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลย สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาและการแยกกันอยู่ดังกล่าวเป็นเวลานับถึงวันฟ้องเกินสามปีแล้วโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(4/2) การที่จำเลยจะ เรียกค่าเลี้ยงชีพได้จะต้องปรากฎว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียวดังนี้เมื่อฟังได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นเพราะโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีจำเลยจึงเรียกค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเนื่องจากแยกกันอยู่โดยสมัครใจเกิน 3 ปี และสิทธิในการเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพ
โจทก์ออกจากบ้านที่อยู่กินกับจำเลยเพราะต้องการพาบิดาโจทก์ซึ่งเป็นโรคหัวใจไปให้พ้นจากบิดาจำเลยซึ่งชอบดื่มสุราแล้วส่งเสียงดัง และโจทก์และจำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน แต่หย่าไม่ได้เพราะโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา และเป็นเวลานับถึงวันฟ้องเกินสามปีแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) จำเลยซึ่งเป็นภริยาจะเรียกค่าเลี้ยงชีพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 จากโจทก์ได้จะต้องปรากฏว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเมื่อเหตุแห่งการหย่าเป็นเพราะโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีจำเลยจึงเรียกค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้แข่งรถโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการใช้ทรัพย์สินในการกระทำความผิดตามกฎหมาย
รถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจรเป็นทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งให้ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการแข่งรถโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
รถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเป็นทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งให้ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด? การทิ้งอุทธรณ์มีผลต่อการนับระยะเวลา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมมีความหมายว่าจะต้องดำเนินการเพื่อบังคับคดีภายใน10ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปเมื่อจำเลยที่1อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่1รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นแต่จำเลยที่1ทิ้งอุทธรณ์เพราะมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่26ธันวาคม2529จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่1ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายและมาตรา147วรรคสองหาใช่ว่าถึงที่สุดในวันที่22กุมภาพันธ์2527อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่1เมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2537และต่อมาในวันที่24มิถุนายน2537ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดีถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด?
ป.วิ.พ.มาตรา 271 ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ย่อมมีความหมายว่าจะต้องดำเนินการเพื่อบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป
แม้จำเลยที่ 1 จะได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นด้วย แต่จำเลยที่ 1 ทิ้งอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2529 จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย และมาตรา147 วรรคสอง หาใช่ว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 และต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2537 ก็ได้ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายภริยาและการฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1516(3) ศาลพิจารณาความร้ายแรงของบาดแผลเป็นเหตุในการตัดสิน
จำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลย1,000บาทโจทก์มิได้นำแพทย์ผู้ตรวจบาดแผลมาเบิกความว่าโจทก์ได้รับบาดเจ็บมากน้อยเพียงใดการที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับเพียง1,000บาทแสดงว่าบาดแผลที่โจทก์ได้รับไม่เป็นอันตรายร้ายแรงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายไม่ร้ายแรง ไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
จำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 1,000 บาท โจทก์มิได้นำแพทย์ผู้ตรวจบาดแผลมาเบิกความว่าโจทก์ได้รับบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด การที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับเพียง 1,000 บาท แสดงว่าบาดแผลที่โจทก์ได้รับไม่เป็นอันตรายร้ายแรงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนให้ผู้อื่นฆ่า: การปิดกั้นความช่วยเหลือเหยื่อถือเป็นการสนับสนุนความผิดฐานฆ่า
ก่อนที่จำเลยที่ 1 กับพวกจะยิงผู้ตาย จำเลยที่ 2ขึ้นไปปิดประตูบ้านไม่ยอมให้ภรรยาผู้ตายเอามีดพร้าไปให้ผู้ตาย เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่คนร้ายจะฆ่าผู้ตายโดยไม่มีผู้ใดไปช่วยผู้ตายหรือไปขัดขวางไม่ให้คนร้ายฆ่าผู้ตาย เป็นการสนับสนุนให้ผู้อื่นฆ่าผู้ตาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 86
of 127