คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อากาศ บำรุงชีพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: สันนิษฐานว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส จำเลยมีภาระพิสูจน์หักล้าง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของที่ดินนั้นจำเลยอ้างว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแทนบุคคลอื่นจำเลยย่อมมีภาระการพิสูจน์ จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาระหว่างสมรสกับโจทก์โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474วรรคสองจำเลยกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมิใช่สินสมรสย่อมมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องห้ามในคดีอาญา: คำสั่งระหว่างพิจารณาและผลกระทบต่อสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับ ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกัน ไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่เป็นอุปสรรคการอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกันไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้วดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องห้าม: การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมายเรียกไม่ใช่เหตุแห่งการทิ้งฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326,328ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า"คดีมีมูลให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาหมายเรียกจำเลยแก้คดีและให้นัดสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยให้โจทก์นำส่งภายใน3วันมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง"แต่โจทก์มิได้นำส่งหมายเรียกจำเลยแก้คดีและหมายนัดสืบพยานโจทก์ตามคำสั่งจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและขอให้ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อรับทราบในรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลและนัดจำเลยแก้คดีและนัดสืบพยานโจทก์แล้วถือได้ว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วจึงไม่อาจถือว่าโจทก์ ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้อง"นั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนเพราะคดีจะต้องพิจารณาต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งต่อไปว่า"จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่"ก็เป็นเพียงคำสั่งให้ จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกันไม่ใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้วดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ใช่คำพิพากษา/คำสั่งในประเด็นสำคัญ ไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับ ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ จับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกัน ไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งระหว่างพิจารณาคดี ไม่ถือเป็นการพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ ทำให้การอุทธรณ์เรื่องการทิ้งฟ้องเป็นอุทธรณ์ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกันไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้วดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: บิดายังมีอำนาจ แม้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอน
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราว ซึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 1585 และ 1586 กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้อง ก่อนที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.จดทะเบียนหย่าขาดกัน อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.ตามมาตรา1566 เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกัน มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่ 1 และ ด.ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด แต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.เพียงตกลงกันให้ ด.มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้น ไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด อำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่ 1 และ ด.ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสาม และเมื่อ ด.ตาย ป.พ.พ.มาตรา 1566 (1) ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่า ให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่ 1 โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่า ด.และพยายามฆ่า ส.โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา 1582 บัญญัติไว้ ผู้ร้องที่ 1 ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่ กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1585 ขึ้นอีกได้ เนื่องจากผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าร้าง: บิดายังมีอำนาจ แม้มีประวัติอาชญากรรม การขอตั้งผู้ปกครองใหม่ไม่ชอบ
ผู้ร้องที่1และที่3เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราวซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585และ1586กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองแต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องก่อนที่ผู้ร้องที่1กับด. จดทะเบียนหย่าขาดกันอำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่1กับด. ตามมาตรา1566เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกันมาตรา1520วรรคหนึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่1และด. ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดแต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าผู้ร้องที่1กับด. เพียงตกลงกันให้ด. มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้นไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดอำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่1และด. ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสามและเมื่อด. ตายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1566(1)ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่าให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่1โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่าด. และพยายามฆ่าส. โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา1582บัญญัติไว้ผู้ร้องที่1ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585ขึ้นอีกได้เนื่องจากผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่1และที่3จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับรายวันกรณีการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา65ได้บัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา21ซึ่งก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนอกจากต้องรับโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้วยังจะต้องรับโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคสองอีกด้วยทั้งนี้โดยไม่ต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา65วรรคหนึ่งเพียงประการเดียวโดยมิได้ลงโทษตามมาตรา65วรรคสองด้วยจึงยังไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ต้องลงโทษทั้งตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65ได้บัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 ซึ่งก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น นอกจากต้องรับโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคสองอีกด้วย ทั้งนี้โดยไม่ต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เพียงประการเดียวโดยมิได้ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ด้วยจึงยังไม่ถูกต้อง
of 127