คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อากาศ บำรุงชีพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การจัดการงานที่ขัดต่อความประสงค์ของตัวการ, และขอบเขตความรับผิดของผู้จัดการ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณีมิใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลให้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133การที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยคดีไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1นั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีแล้วและมีอำนาจวินิจฉัยฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1ได้ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดจึงต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดแต่โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันมอบอำนาจฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396เป็นกรณีผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่เคยปฏิบัติมาและโจทก์เองก็รับรู้และยอมรับข้อปฏิบัติดังกล่าวจึงมิใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์แท้จริงของโจทก์จำเลยที่3ซึ่งปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่1มอบหมายจึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการหนี้ของหน่วยงานราชการโดยผู้กำกับดูแล หากเป็นการทำตามหน้าที่และหน่วยงานรับรู้ ไม่ถือเป็นการขัดความประสงค์
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณีไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรรและไม่รายงานให้จำเลยที่1ทราบทำให้จำเลยที่1ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ1ปีมิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10ปี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396บัญญัติว่า"ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดีหรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดีและผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้นแม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่าผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้วและโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานหาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา396ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฟ้อง & ละเมิดจากจัดการงานเกินอำนาจ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 133
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณ ทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 396 บัญญัติว่า "ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการ เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่า ผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น หรือน่าจะรู้ว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น การที่จำเลยที่ 1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์ หลังจากหมดงบประมาณแล้ว และโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมา กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงาน หาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา 396 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำละเมิดของผู้จัดการ การขัดต่อความประสงค์ของตัวการ และอายุความฟ้องคดี
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133 กรมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 1 จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. นำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของกรมโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้ว แต่โจทก์ก็รับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานไม่ใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 396 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: พยานหลักฐานโจทก์ขัดแย้ง ไม่สามารถพิสูจน์การกระทำผิดของจำเลยได้
จากการนำสืบของโจทก์ได้ความจากคำเบิกความของอ.ว่าอ. ได้ลักรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุมาให้จำเลยช่วยขายให้เพราะเคยรู้จักกันมาก่อนจำเลยไม่ยอมช่วยขายแต่บอกว่าท. เพื่อนของจำเลยต้องการจะได้อ. จึงตกลงขายให้ท.ในราคา1,500บาทและมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่ท. ไปดังนี้อ. มิได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากอ. โดยจำเลยทราบว่ารถของกลางถูกลักมาแต่กลับได้ความว่าจำเลยไม่รับซื้อท. ซึ่งอยู่กับจำเลยด้วยในขณะนั้นจึงรับซื้อจากอ. โดยได้ขอยืมเงินจากจำเลยไปอีก800บาทการที่จำเลยให้ท. ยืมเงินไป800บาทนั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของกลางแต่อย่างใดเพราะท. ตกลงซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากอ. เองอยู่แล้วโดยไม่ต้องให้จำเลยช่วยขายนอกจากนี้ยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายกับต. และบ. ในทำนองเดียวกันอีกว่าเมื่อผู้เสียหายนำสิบตำรวจโทพ. ไปจับอ. ได้นั้นในตอนแรกอ. ได้บอกแก่สิบตำรวจโทพ. ทันทีว่าได้ลักรถจักรยานยนต์ของกลางไปขายเพียงคนเดียวและนำไปขายที่อำเภอท่ามะกาโดยไม่ได้ระบุว่าขายให้แก่ผู้ใดหากขายให้แก่จำเลยก็น่าจะระบุชื่อจำเลยทันทีเพราะรู้จักกันโดยไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องปิดบังไว้ประการสำคัญได้ความจากคำเบิกความของนายต. ว่าที่สถานีตำรวจจำเลยบอกว่าจำเลยไม่ได้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางแต่คนอื่นซื้อซึ่งเงินไม่พอต้องขอยืมจำเลยไปอีก800บาทตรงกับที่จำเลยนำสืบต่อสู้แม้โจทก์มีพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความประกอบบันทึกคำให้การของอ. ว่าอ. นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขายให้แก่จำเลยก็ตามแต่คำให้การของอ. เป็นเพียงพยานบอกเล่ามิได้ทำต่อหน้าจำเลยซึ่งจำเลยไม่มีโอกาสถามค้านทั้งยังขัดแย้งกับคำเบิกความของอ. เองที่เบิกความว่าอ.ได้ขายรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ท. เช่นนี้คำเบิกความของพนักงานสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนักคดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาตั้งแต่ต้นและพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาไม่สอดคล้องต้องกันจึงไม่มีน้ำหนักพอฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร - พยานหลักฐานไม่สอดคล้องกัน - จำเลยปฏิเสธ - ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ
จากการนำสืบของโจทก์ได้ความจากคำเบิกความของ อ.ว่าอ.ได้ลักรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุมาให้จำเลยช่วยขายให้เพราะเคยรู้จักกันมาก่อนจำเลยไม่ยอมช่วยขายแต่บอกว่า ท.เพื่อนของจำเลยต้องการจะได้ อ.จึงตกลงขายให้ ท.ในราคา 1,500 บาท และมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่ ท.ไป ดังนี้ อ.มิได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจาก อ.โดยจำเลยทราบว่ารถของกลางถูกลักมา แต่กลับได้ความว่าจำเลยไม่รับซื้อ ท.ซึ่งอยู่กับจำเลยด้วยในขณะนั้นจึงรับซื้อจาก อ.โดยได้ขอยืมเงินจากจำเลยไปอีก 800 บาท การที่จำเลยให้ ท.ยืมเงินไป 800 บาทนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของกลางแต่อย่างใด เพราะ ท.ตกลงซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจาก อ.เองอยู่แล้วโดยไม่ต้องให้จำเลยช่วยขาย นอกจากนี้ยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหาย กับต.และ บ.ในทำนองเดียวกันอีกว่า เมื่อผู้เสียหายนำสิบตำรวจโท พ.ไปจับ อ.ได้นั้นในตอนแรก อ.ได้บอกแก่สิบตำรวจโท พ.ทันทีว่าได้ลักรถจักรยานยนต์ของกลางไปขายเพียงคนเดียว และนำไปขายที่อำเภอท่ามะกาโดยไม่ได้ระบุว่าขายให้แก่ผู้ใดหากขายให้แก่จำเลยก็น่าจะระบุชื่อจำเลยทันทีเพราะรู้จักกันโดยไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องปิดบังไว้ ประการสำคัญได้ความจากคำเบิกความของนาย ต.ว่า ที่สถานี-ตำรวจ จำเลยบอกว่าจำเลยไม่ได้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่คนอื่นซื้อซึ่งเงินไม่พอต้องขอยืมจำเลยไปอีก 800 บาท ตรงกับที่จำเลยนำสืบต่อสู้ แม้โจทก์มีพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความประกอบบันทึกคำให้การของ อ.ว่า อ.นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขายให้แก่จำเลยก็ตาม แต่คำให้การของ อ.เป็นเพียงพยานบอกเล่ามิได้ทำต่อหน้าจำเลย ซึ่งจำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ทั้งยังขัดแย้งกับคำเบิกความของ อ.เองที่เบิกความว่า อ.ได้ขายรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ ท.เช่นนี้ คำเบิกความของพนักงานสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนัก คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาตั้งแต่ต้นและพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาไม่สอดคล้องต้องกัน จึงไม่มีน้ำหนักพอฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าร้าง: การแยกอยู่ของคู่สมรสและการขาดเจตนาทิ้งร้าง
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2518 ต่อมาปี 2532 ภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ตกต่ำอาชีพของโจทก์ไม่ค่อยดี โจทก์ติดต่อขอทำงานในประเทศไทยจึงปรึกษากับจำเลยว่าจะกลับประเทศไทย แต่จำเลยเห็นว่าอาชีพพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาดีไม่ยอมกลับ ในปี 2534โจทก์จึงกลับประเทศไทย โจทก์จึงเป็นฝ่ายแยกจากจำเลยแต่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสหลังหย่าและการเสนอคำร้องต่อศาลที่ไม่ถูกต้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า น.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่า ผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว จึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับ น. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
บทบัญญัติในมาตรา 1475 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย และกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่
มาตรา 1484 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ดังนั้น สามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่ แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับ น.ไปก่อนแล้ว ฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับ น.จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอคำร้องจัดการสินสมรสหลังหย่าขาด เป็นคดีมีข้อพิพาท ต้องฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาลแต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าน.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่าผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวจึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับน. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง บทบัญญัติในมาตรา1475แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วยและกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่ มาตรา1484เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาดังนั้นสามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับน. ไปก่อนแล้วฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าผู้ร้องกับน. จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีกผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์บังคับคดี การปลอมเอกสาร และการโกงเจ้าหนี้: การกระทำตามกฎหมายและการไม่มีเจตนาทุจริต
การที่ศาลชั้นต้นหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของนายดาบตำรวจป. กับนางท. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลในชั้นบังคับคดีเพื่อนำเงินที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในคดีที่กรมตำรวจเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้ในอีกคดีหนึ่งไปเฉลี่ยให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหากกรมตำรวจเจ้าหนี้ที่ขอยึดไว้ก่อนเห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องดำเนินการคัดค้านไม่ให้จำเลยนี้เข้ามาเฉลี่ยทรัพย์การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา185หรือมาตรา187 นายดาบตำรวจป. กับนางท.ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยรู้ว่านางท.ค้างชำระหนี้เงินกู้แก่จำเลยแม้จะฟังว่านายก.หรือจำเลยกรอกข้อความลงในเอกสารที่มีลายมือชื่อของนายดาบตำรวจป.กับนางท.แล้วนำเอกสารดังกล่าวไปฟ้องเรียกเงินกู้อีกทั้งยังได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายมอบให้แก่นายก.ไปก็เป็นการกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยเชื่อด้วยความสุจริตและได้กรอกลงไปตรงตามความเป็นจริงทั้งได้รับความยินยอมจากเจ้าของลายมือชื่อแล้วสัญญากู้ดังกล่าวย่อมไม่เป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้เมื่อไม่ปรากฎพฤติการณ์ร่วมมือกันระหว่างจำเลยกับนายดาบตำรวจป. อันส่อเจตนาเพื่อมิให้กรมตำรวจในฐานะเจ้าหนี้ของนายดาบตำรวจป.ได้รับชำระหนี้แล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
of 127