คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337: ต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 มีความว่า 'ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว ฯลฯ' คำว่า 'บิดา' ดังกล่าวน่าจะหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า 'บิดา'ที่ใช้ในพระราชบัญญัติสัญชาติฯ มาตรา 7,8,14,15,17,21 และ 24 ซึ่งมีความหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ได้ระบุใช้คำว่า 'บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย' ไว้แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีใดประสงค์จะเน้นให้แตกต่างจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงจะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นในมาตรา 18 ที่ระบุว่า มารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นต้น ดังนั้นคำว่าบิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงหมายความถึงว่าบิดาที่เป็นคนต่างด้าวจะต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะนิติบุคคลของกองตรวจคนเข้าเมือง & การพิสูจน์สัญชาติ - ศาลฎีกายกฟ้อง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 5 กำหนดให้กรมตำรวจมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่การแบ่งส่วนราชการในกรมตำรวจออกเป็นกองตามข้อ 31 มิได้กำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล กองตรวจคนเข้าเมืองจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
หนังสือของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องของโจทก์ ซึ่งโจทก์ขอเป็นคนเข้าเมืองเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้ โดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองแจ้งว่า ได้นำเรื่องเสนอกรมตำรวจพิจารณาแล้ว มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เป็นคนเข้าเมืองตามคำร้องขอและแจ้งไปด้วยว่าให้โจทก์รีบเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยด่วน ดังนี้ เท่ากับเป็นการเตือนให้โจทก์ทราบในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ถือหนังสือเดินทางของประเทศอื่น และได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว ยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ เพราะโจทก์ยังมิได้อ้างต่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองเลยว่าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีสิทธิจะอยู่ในราชอาณาจักรได้ในฐานะที่เป็นคนไทย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493มาตรา 43 ซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เปิดโอกาสให้โจทก์ยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือร้องขอต่อศาล แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงยังถือไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของโจทก์ และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ก็จะถือว่ามีลักษณะเป็นการร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลไม่ได้ จึงไม่อาจวินิจฉัยเรื่องสัญชาติของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะนิติบุคคลของหน่วยงานราชการ และการฟ้องคดีสัญชาติ: ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษาเรื่องสัญชาติไม่ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 5 กำหนดให้กรมตำรวจมีฐานเป็นนิติบุคคล แต่การแบ่งส่วนราชการในกรมตำรวจออกเป็นกองตามข้อ 31 มิได้กำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล กองตรวจคนเข้าเมืองจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลได้แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ แต่เป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
หนังสือของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้ามืองที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องของโจทก์ ซึ่งโจทก์ขอเป็นคนเข้าเมืองเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้ โดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองแจ้งว่า ได้นำเรื่องเสนอกรมตำรวจพิจารณาแล้ว มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เป็นคนเข้าเมืองตามคำร้องขอและแจ้งไปด้วยว่าให้โจทก์รีบเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยด่วน ดังนี้ เท่ากับเป็นการเตือนให้โจทก์ทราบในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ถือหนังสือเดินทางของประเทศอื่น และได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว ยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ เพราะโจทก์ยังมิได้อ้างต่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองเลยว่าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีสิทธิจะอยู่ในราชอาณาจักรได้ในฐานะที่เป็นคนไทย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 43 ซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เปิดโอกาสให้โจทก์ยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่หรือร้องขอต่อศาล แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงยังถือไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของโจทก์ และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ก็จะถือว่ามีลักษณะเป็นการร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลไม่ได้ จึงไม่อาจวินิจฉัยเรื่องสัญชาติของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกิดในไทยและสัญชาติ: การเสียสัญชาติด้วยการถือเอกสารคนต่างด้าว
ผู้ร้องเกิดในประเทศไทย จึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2408 มาตรา 7(3) การที่ผู้ร้องซึ่งมีสัญชาติเป็นไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย โดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จะเสียสัญชาติไทยตามความในมาตรา 21 ก็ต่อเมื่อได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว แม้ผู้ร้องได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรโดยขอรับใบแสดงหลักฐานการแจ้งออกเพื่อเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ ต.ม.1) ซึ่งเป็นแบบที่เจ้าหน้าที่จะออกให้แก่ผู้ขอที่เป็นคนต่างด้าว แต่เอกสารดังกล่าวนี้หาใช่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำคนต่างด้าวไม่ ผู้ร้องจึงไม่เสียสัญชาติไทย
of 3