พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเสพและมีเมทแอมเฟตามีนครอบครอง: การพิจารณาเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธี สูดดมควันและมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งติดอยู่ที่กระดาษตะกั่ว มีรอยเผาไหม้จำนวน 1 ชิ้น ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่าจำเลยรับว่าได้กระทำความผิดทั้งสองกรรม ซึ่งเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยเสพ และมีไว้ในครอบครองเป็นจำนวนเดียวกันก็ถือว่าการกระทำ ดังกล่าวเป็นความผิดสองกรรม หาใช่กรรมเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดสองกรรมได้ แม้จะกระทำต่อเนื่องกัน
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้ขายด้วย การขายหรือมีไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน ผู้ที่มีวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขายแล้วได้ขายไปบางส่วนคงมีความผิดฐานขายเพียงสถานเดียว แต่ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้บัญญัตินิยามคำว่า "จำหน่าย" หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนให้เท่านั้น มิได้บัญญัติให้หมายความรวมถึงการมีไว้ใน ครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย การมียาเสพติดไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้เมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดจำนวน 4 เม็ดที่จำเลยมอบให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 60 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไปในเวลาที่ต่อเนื่องกัน แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีเจตนาแยกต่างหากจากกันตั้งแต่จำเลยจำหน่ายแล้ว การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดสองกรรม หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดมีผลเหนือกว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลัง
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 89 คือต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 400,000 บาท แต่ข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสอง มีโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 500,000 บาท เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเช่นเดียวกันต้องใช้พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,83 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาปรับบทลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีจำหน่ายยาเสพติดที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ทำให้จำเลยต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง66 วรรคหนึ่งและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เรียงกระทงลงโทษฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกคนละ 5 ปีฐานจำหน่ายเฮโรอีน จำคุกคนละ 5 ปี รวมจำคุกคนละ 10 ปีลดโทษให้จำเลยคนละหนึ่งในสามคงจำคุกคนละ 6 ปี 8 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนโทษจำคุกแต่ละกระทงจึงไม่เกิน5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า พยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดเป็นกระทงความผิดต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องเป็น2ตอนข้อก.บรรยายว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน2ถุงกับอีก1กล่องน้ำหนัก67.8กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนกฎหมายและข้อข.บรรยายว่าตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยได้จำหน่ายกัญชาให้แก่สายลับที่เข้าล่อซื้อจำนวน1ถุงน้ำหนัก21.8กรัมราคา400บาทอันเป็นยาเสพติดให้โทษส่วนหนึ่งที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายในข้อก.ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดต่างฐานกันการที่โจทก์แยกฟ้องเป็นข้อก.และข.จึงเห็นเจตนาของโจทก์ว่าขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่าได้กระทำผิดทั้ง2กรรมซึ่งเป็นความผิดต่างกันตามฟ้องจึงต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานเจ้าหน้าที่เชื่อถือได้, การต่อสู้เรื่องสถานที่จับกุมไม่มีน้ำหนัก
พยานโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการไปตามหน้าที่ไม่มีเหตุที่จะเบิกความเพื่อกลั่นแกล้งจำเลยที่1เชื่อได้ว่าเบิกความไปตามที่รู้เห็นจริงที่จำเลยที่1ต่อสู้คดีว่าจำเลยที่1ถูกจับที่บ้าน พ. และไม่ทราบว่าเจ้าพนักงานตำรวจนำเฮโรอีนของกลางมาจากไหนนั้นง่ายแก่การกล่าวอ้างจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังหักล้างคำเบิกความพยานโจทก์ได้ ขณะจับกุมจำเลยที่1ได้ร่วมนั่งอยู่กับจำเลยที่2และที่3ในรถยนต์เก๋งที่มีเฮโรอีนของกลางซุกซ่อนอยู่แสดงให้เห็นได้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2และที่3มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเฮโรอีน: พยานหลักฐานแน่นหนาจากตำรวจและคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
พยานโจทก์ทุกปากเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ปรากฏว่าเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อนจึงไม่มีเหตุระแวงว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลยพยานผู้ร่วมจับกุมต่างเบิกความสอดคล้องต้องกันในเรื่องธนบัตรของกลางที่ให้สายลับใช้ ล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยมีการภ่ายภาพและลงหมายเลขไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีซึ่งเป็นเอกสารทางราชการก่อนที่จะมอบให้สายลับไปดำเนินการเมื่อสายลับล่อซื้อเฮโรอีนมาได้พยานผู้ร่วมจับกุมได้ตรงไปยังบ้านจำเลยทันทีทำการตรวจค้นและพบธนบัตรดังกล่าวที่ตัวจำเลยขั้นตอนต่างๆเป็นไปในระยะเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องกันจำเลยเบิกความว่าธนบัตรของกลางได้จากกระเป๋ากางเกงของจำเลยที่สวมใส่อยู่ขณะถูกตรวจค้นจริงเป็นการเจือสมกับ พยานหลักฐานของโจทก์ประกอบกับจำเลยได้ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้ชิดกับจำเลยถูกจับกุมคำรับของจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าที่ให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายมีแต่คำเบิกความลอยๆของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังได้น้ำหนักพยานหลักฐานของจำเลยไม่สามารถรับฟังหักล้างน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อเสพเองเข้าข่ายมีไว้ในครอบครอง แม้ฟ้องฐานผลิตก็ลงโทษได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยแบ่งบรรจุเฮโรอีนจากหลอดใหญ่ใส่หลอดกาแฟเล็กที่ตัดสั้นเพื่อความสะดวกในการนำติดตัวไปเสพเองเท่ากับมีไว้ในครอบครองไม่อาจถือว่าเป็นการผลิตแต่ก็เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องในความผิดฐานมีไว้ในครอบครองก็ลงโทษความผิดฐานนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5935/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยาเสพติด: หลักการ ‘ประโยชน์แห่งความสงสัย’ ทำให้จำเลยพ้นผิดและของกลางไม่ถูกริบ
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังขัดแย้งแตกต่างกันอยู่และยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญา: หลักการให้ประโยชน์แห่งความสงสัยแก่จำเลยเมื่อพยานหลักฐานขัดแย้ง
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังขัดแย้งแตกต่างกันอยู่และยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง