พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรส: สามีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินที่เป็นสินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยาผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี2513ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466,1462วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับผ. ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1468,1473วรรคหนึ่งเดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่แก้ไขใหม่ในปี2519พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของผ. ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจำหน่ายสินสมรส: สามีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยาผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี2513ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466,1462วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับผ. ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1468,1473วรรคหนึ่งเดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ5ที่แก้ไขใหม่ในปี2519พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของผ. ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และการแบ่งสินสมรสเมื่อคู่สมรสถึงแก่ความตาย
การที่ ง.จัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ง.ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1473 (เดิม) เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ.2465 ก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ.พุทธศักราช 2477 ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง.จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับ ง.ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง.ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง.สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น เป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ.2465 ก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ.พุทธศักราช 2477 ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง.จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับ ง.ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง.ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง.สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น เป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านหลังจดทะเบียนสมรส: การโอนก่อนใช้ พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ดินและบ้านพิพาทสินสมรสสามีจดทะเบียนโอนขายแก่โจทก์ก่อนใช้บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ ภริยาไม่มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะที่เป็นสินสมรสต่อไป จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท กรณีต้องบังคับตามบรรพ 5 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุรถโดยสารและการเรียกร้องค่าเสียหายของคู่สมรส
ลูกจ้างของจำเลยขับรถประจำทางโดยประมาทเลินเล่อเลี้ยวรถด้วยความเร็วเกินสมควร โจทก์เตรียมจะลงยืนที่หน้าประตูรถถูกรถเหวี่ยงตกจากรถ ต้องผ่าตัดสมอง โจทก์ทุพพลภาพตลอดชีวิต ถูกทรมานทั้งกายและจิตใจ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านี้
กรณีละเมิดต่อร่างกายของภริยา สามีทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดโดยภริยาไม่รู้เห็นด้วย สัญญานั้นไม่ผูกพันภริยา สิทธิเรียกร้องของภริยาไม่ระงับ
กรณีละเมิดต่อร่างกายของภริยา สามีทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดโดยภริยาไม่รู้เห็นด้วย สัญญานั้นไม่ผูกพันภริยา สิทธิเรียกร้องของภริยาไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินเดิมของสามีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาและผลกระทบต่อการแบ่งสินสมรส
สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หา ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วยมาตรา 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม หรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้ความยินยอม และพิพากษาให้แบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายและจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วยแต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1625(1)ไม่
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม หรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้ความยินยอม และพิพากษาให้แบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายและจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วยแต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1625(1)ไม่