พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, การผิดนัดชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้อง, อำนาจมอบอำนาจ, และการเกิดผิดนัดจากการปฏิเสธการจ่ายเช็ค
โจทก์บรรยายฟ้องมีความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใจความเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจและเห็นได้ชัดว่ามีความหมายถึงจำเลยที่ 3 ฟ้องโจทก์เช่นนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินเดิมของสามีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาและผลกระทบต่อการแบ่งสินสมรส
สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หา ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วยมาตรา 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม หรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้ความยินยอม และพิพากษาให้แบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายและจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วยแต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1625(1)ไม่
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม หรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้ความยินยอม และพิพากษาให้แบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายและจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วยแต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1625(1)ไม่