คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีขับไล่จากอสังหาริมทรัพย์ที่อาจให้เช่าได้ไม่เกิน 5,000 บาท หลังพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518
ฟ้องเรื่องละเมิดว่า จำเลยทั้งสองซึ่งไม่เคยเช่าห้องพิพาทของโจทก์มาก่อน ได้บังอาจร่วมกันบุกรุกเข้ามาในที่ดินชั้นล่างของซากห้องแถวซึ่งถูกไฟไหม้ของโจทก์เพื่อทำการค้า เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ กับมีคำขอบังคับจำเลย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
การพิจารณาว่าเป็นฎีกาต้องห้ามหรือไม่ ต้องพิจารณาตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา จำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 18 เมษายน 2518 อันเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ใช้บังคับแล้วเมื่อเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยในกรณีละเมิดออกจากที่ดินและห้องแถวของโจทก์ ซึ่งตามฟ้องเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,100 บาท จำเลยให้การว่าค่าเสียหายไม่เกินเดือนละ 30 บาท แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท และผลของกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นฎีกา
โจทก์จำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินราคา 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2518 โจทก์ฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยยื่นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2518 อันเป็นวันก่อนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มีผลบังคับ การพิจารณาว่าคู่ความมีสิทธิฎีกาได้หรือไม่เพียงไรนั้น ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายและสิทธิในวันยื่นฎีกาเป็นสำคัญ ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งใช้อยู่ในวันยื่นฎีกา
(อ้างตามคำพิพากษาฎีกาที่ 542/2500)