พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับไม้ผิดกฎหมาย ผู้ใหญ่บ้านละเลยหน้าที่ และการใช้กฎหมายป่าไม้ฉบับที่แก้ไข
กฎหมายเก่าที่ใช้อยู่ขณะกระทำผิดมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทส่วนกฎหมายใหม่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาทกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ต่างเป็นคุณต่อผู้กระทำผิด แล้วแต่จะดูในแง่ขั้นสูงหรือขั้นต่ำของโทษ ถ้าศาลจะลงโทษจำคุกในอัตราขั้นสูงต้องใช้กฎหมายฉบับแรกเพราะเป็นคุณแก่จำเลย แต่ถ้าจะจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำต้องใช้กฎหมายฉบับหลังเพราะเป็นคุณแก่จำเลย คดีนี้ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี การวางโทษจึงอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายเก่าก็ได้หรือใช้กฎหมายฉบับใหม่ก็ได้ควรใช้กฎหมายเก่าอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิดบังคับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500)
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ป. เป็นน้องเขยของภริยาจำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณรั้วเดียวกันกับบ้านจำเลย และไม่มีรั้วกั้นระหว่างบ้านทั้งสอง ป. มีอาชีพทำโต๊ะและประตูไม้ขายซึ่งต้องใช้ไม้ปริมาณมาก เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบไม้หวงห้ามของกลางที่ยุ้งข้าวและห้องเก็บของใต้ถุนบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งไม้ของกลาง โดยจำเลยรู้ว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นตัวการตาม มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติ ป่าไม้แล้ว เพราะเพียงแต่รับไว้ด้วยประการใดๆก็เป็นความผิดไม่ต้องถึงกับร่วมกันกระทำผิด
จำเลยมีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ปราบปรามการกระทำผิดแต่กลับกระทำผิดเสียเอง และความผิดที่จำเลยถูกฟ้องก็เป็นความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติอันควรรักษาไว้จึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษให้เบาลง และรอการลงอาญาให้
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ป. เป็นน้องเขยของภริยาจำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณรั้วเดียวกันกับบ้านจำเลย และไม่มีรั้วกั้นระหว่างบ้านทั้งสอง ป. มีอาชีพทำโต๊ะและประตูไม้ขายซึ่งต้องใช้ไม้ปริมาณมาก เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบไม้หวงห้ามของกลางที่ยุ้งข้าวและห้องเก็บของใต้ถุนบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งไม้ของกลาง โดยจำเลยรู้ว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นตัวการตาม มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติ ป่าไม้แล้ว เพราะเพียงแต่รับไว้ด้วยประการใดๆก็เป็นความผิดไม่ต้องถึงกับร่วมกันกระทำผิด
จำเลยมีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ปราบปรามการกระทำผิดแต่กลับกระทำผิดเสียเอง และความผิดที่จำเลยถูกฟ้องก็เป็นความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติอันควรรักษาไว้จึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษให้เบาลง และรอการลงอาญาให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางนากับไม้ยาง
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5 บัญญัติว่า ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้ห่วงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางนาถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 ไม้ยางนาจึงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น