พบผลลัพธ์ทั้งหมด 819 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคุ้มครองแรงงาน: การจ้างที่ไม่แสวงหากำไรและความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างเพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมเป็นกฎหมายคนละส่วนกับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปด้วยวิธีปรองดองและเป็นธรรม ดังนั้นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บังคับเช่นเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของลูกจ้างที่ถูกพักงาน นายจ้างไม่ผูกพันต้องจ่าย แม้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน
ระเบียบว่าด้วยการช่วยเหลือลูกจ้างเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีสิทธิจะได้รับการช่วยเหลือดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้อันได้แก่เงินที่นายจ้างจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงาน ลูกจ้างที่ถูกพักงานแม้จะมีระเบียบให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง เงินนี้ก็มิใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน นอกจากนี้ระเบียบดังกล่าวยังกำหนดให้ลูกจ้างผู้มีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนบุตรภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้ชำระเงินให้โรงเรียน และมิได้ระบุถึงสิทธิของลูกจ้างที่ถูกพักงาน ดังนั้นระเบียบนี้จึงให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานตามปกติเท่านั้น ลูกจ้างที่ถูกพักงานไม่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเงินค่าเล่าเรียนบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659-1660/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทิปไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน หากนายจ้างไม่ได้จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน
เงินทิปที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าของจำเลยคือเงินที่พนักงานบริการได้รับจากผู้ใช้บริการโดยตรง จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จำเลยยอมให้พนักงานบริการแต่ละคนรับไปเองได้โดยตรง มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่าค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างชั่วคราว: ต้องทำงานต่อเนื่องหลังเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างประจำครบ 120 วัน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 75 วรรคแรก มิได้หมายความว่าเมื่อลูกจ้างชั่วคราวทำงานติดต่อกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วจะมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันเริ่มเข้าทำงานแต่หมายความว่าลูกจ้างจะมีฐานะเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไปโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวจำเลยรวม 154 วันจึงออกจากงานแสดงว่าโจทก์ทำงานในฐานะลูกจ้างประจำยังไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการไปดูประกาศประจำวัน ไม่ถือเป็นการทำงาน จึงไม่เป็นเหตุให้ต้องจ่ายค่าทดแทน
บ. เป็นพนักงานขับรถของโจทก์ การปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานให้โจทก์ก็คือการขับรถ แม้กฎข้อบังคับและระเบียบการเดินรถจะได้กำหนดให้พนักงานขับรถต้องไปอ่านประกาศประจำวันเพื่อให้พนักงานขับรถทราบว่าตนมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานในวันรุ่งขึ้นหรือไม่ การที่ บ. ไปดูประกาศประจำวันจึงมิใช่การทำงาน ดังนั้น เมื่อ บ. ประสบอันตรายแก่กายขณะเดินไปดูประกาศดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า บ. ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ่ายค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะไม่เป็นค่าจ้าง, การทำงานวันหยุดตามธรรมเนียมปฏิบัติ และการวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยมิได้มีการอุทธรณ์
ค่าพาหนะที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เฉพาะวันที่โจทก์ไปทำงานแม้จะมีจำนวนเท่ากันทุกเดือน ก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
บริษัทจำเลยมีธรรมเนียมปฏิบัติว่า เลขานุการมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ตามวันซึ่งบุคคลผู้ที่ตนทำหน้าที่เป็นเลขานุการหยุดพักผ่อนประจำปี และจำเลยได้วางระเบียบไว้ว่าจำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างที่มาทำงานในวันหยุดโดยจำเลยมิได้ขอให้มาทำงาน ดังนั้นการที่โจทก์มาทำงานในวันที่บุคคลผู้ที่โจทก์เป็นเลขานุการหยุดเป็นบางวันโดยจำเลยมิได้ขอให้โจทก์มาทำ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดพักผ่อน อันจำเลยจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน
ปัญหาว่าศาลวินิจฉัยคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
บริษัทจำเลยมีธรรมเนียมปฏิบัติว่า เลขานุการมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ตามวันซึ่งบุคคลผู้ที่ตนทำหน้าที่เป็นเลขานุการหยุดพักผ่อนประจำปี และจำเลยได้วางระเบียบไว้ว่าจำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างที่มาทำงานในวันหยุดโดยจำเลยมิได้ขอให้มาทำงาน ดังนั้นการที่โจทก์มาทำงานในวันที่บุคคลผู้ที่โจทก์เป็นเลขานุการหยุดเป็นบางวันโดยจำเลยมิได้ขอให้โจทก์มาทำ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดพักผ่อน อันจำเลยจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน
ปัญหาว่าศาลวินิจฉัยคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329-1330/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพบางส่วนของอวัยวะ และการรวมค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง
ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายกระดูกสันหลังแตกยุบเป็นเหตุให้ขาทั้งสองข้างสูญเสียสมรรถภาพอย่างถาวรข้างละร้อยละ 7 นั้น การคำนวณค่าทดแทนต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54(2)มิใช่ข้อ 54(3) เพราะเป็นกรณีที่ลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของขาทั้งสองข้างไปเพียงบางส่วนซึ่งตามข้อ 54 วรรคสอง ให้ถือว่าลูกจ้างสูญเสียอวัยวะนั้นด้วย จึงต้องคำนวณค่าทดแทนรายเดือนเทียบส่วนร้อยละจากระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายตามข้อ 54(2)
ค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างมีวิธีการจ่ายเช่นเดียวกับการจ่ายค่าจ้างตามปกติ และวัตถุประสงค์ของการจ่ายก็เพื่อให้ลูกจ้างมีรายได้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่โจทก์จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนด้วย
ค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างมีวิธีการจ่ายเช่นเดียวกับการจ่ายค่าจ้างตามปกติ และวัตถุประสงค์ของการจ่ายก็เพื่อให้ลูกจ้างมีรายได้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่โจทก์จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขั้นตอนการฟ้องร้องเงินทดแทน และการพิจารณาความรับผิดชอบจากอุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปทำงาน
เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานว่าด้วยเงินทดแทน ได้กำหนดขั้นตอนการเรียกร้องและการสั่งการในเรื่องเงินทดแทนไว้แล้ว.โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสียก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนทันทีโดยมิได้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมแรงงานก่อน เพราะเป็นการขัดกับขั้นตอนในการที่จะนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสะสมของลูกจ้างกับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นสิทธิแยกต่างหาก แม้ข้อบังคับบริษัทจะระบุรวมกัน
เงินสะสมที่จำเลยจ่ายให้โจทก์มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จึงเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชยแม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินทุนสะสม ฯ จะกำหนดว่าเงินสะสมที่โจทก์ได้รับมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยก็ไม่มีผลบังคับ เพราะขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลบังคับเป็นกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814-815/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินผลประโยชน์กองทุนเมื่อออกจากงาน หักค่าชดเชยได้ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ออกจากงานได้รับเงินผลประโยชน์ ซึ่งคำนวณตามกฎข้อบังคับว่าด้วยโครงการกองทุนผลประโยชน์ เมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 12(3) ไปแล้ว โดยต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน ตามข้อ 15(1)(ข) เหลือเท่าใดจึงจ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกตามข้อ 12(1) เช่นนี้ เงินผลประโยชน์ที่โจทก์รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วยครบถ้วนแล้ว หาใช่มีเพียงเงินผลประโยชน์เพียงประเภทเดียวไม่
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้