คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 819 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มจูงใจไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมารวมคำนวณค่าจ้างในวันหยุด
เงินเพิ่มจูงใจเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นกำลังใจในการทำงาน เป็นเงินรางวัลตอบแทนความดีของลูกจ้าง ไม่มีลักษณะเป็นค่าจ้าง จึงไม่อาจนำมารวมกับเงินค่าจ้างและค่าครองชีพเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าจ้างให้โจทก์ในวันหยุดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3627/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะงานต่อเนื่องและสิทธิประโยชน์เทียบเท่าลูกจ้างประจำ ถือเป็นลูกจ้างประจำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างพิเศษหรือคนงานจร ทำงานแทนคนงานประจำ แต่เมื่อได้ความว่า ลูกจ้างพิเศษต้องมาทำงานทุกวันสัปดาห์ละ 6 วัน หยุดวันอาทิตย์เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ บางวันก็ต้องทำงานล่วงเวลา ประกอบกับเวลาทำงานก็ต้องลงชื่อในสมุดลงเวลาทำงานทุกคน เมื่อมาทำงานได้รับเลี้ยงอาหารกลางวัน และมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของจำเลยเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำดังนี้ วัตถุประสงค์ที่จ้างก็เพื่อจ้างไว้ทำงานอันมีลักษณะงานเป็นงานประจำนั่นเอง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยที่เป็นโมฆะ หากขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างเป็นการคุ้มครองและอำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้างจึงเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยซึ่งทำขึ้นผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพและค่าพาหนะเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยด้วย
จำเลยจ่ายเงินค่าพาหนะให้โจทก์เนื่องจากตำแหน่งงานของโจทก์มีจำนวนแน่นอนในอัตราเดือนละ 1,200 บาท เงินจำนวนดังกล่าวถือว่าเป็นเงินที่ตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ จึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515
สินจ้างโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 นั้นรวมถึงค่าครองชีพและค่าพาหนะที่โจทก์ได้รับด้วย เพราะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างที่แท้จริง: การจ่ายค่าจ้างจากเงินส่วนหนึ่งของค่าเหมาต่อ เป็นการจ้างงานโดยนายจ้างผู้รับเหมา
'นายจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หมายถึงผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งมีความหมายว่า งานที่ลูกจ้างทำนั้นจะต้องเป็นงานของนายจ้างเองและค่าจ้างก็ต้องหมายความถึงเงิน หรือเงินและสิ่งของของนายจ้างด้วย เมื่อปรากฏว่างานที่โจทก์รับจ้างทำเป็นงานที่จำเลยที่ 2 รับจ้างเหมามาทำและค่าจ้างก็เป็นเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายให้จำเลยที่ 2 มิใช่งานและเงินของจำเลยที่ 1 ดังนี้ นายจ้างที่แท้จริงของโจทก์คือจำเลยที่ 2 หาใช่จำเลยที่ 1 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิม แม้มีการจ่ายตามระเบียบใหม่แล้ว หากจำนวนเงินเท่ากัน สิทธิเรียกร้องไม่เกิดขึ้น
แม้โจทก์จำเลยแถลงว่า ต่างไม่สืบพยานบุคคล ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีต่อไปโดยอาศัยเอกสารที่ส่งไว้ต่อศาลแต่เมื่อโจทก์แถลงต่อไปว่าจะขอให้ศาลหมายเรียกเอกสารอื่นมาประกอบการพิจารณาของศาลอีกและจำเลยก็แถลงว่ายังติดใจส่งเอกสารจำนวนหนึ่งต่อศาลอีกเช่นเดียวกัน ดังนี้แสดงว่าคู่ความประสงค์ให้ศาลนำเอกสารที่คู่ความขอให้เรียกมาหรือส่งไว้ในสำนวนมาประกอบการพิจารณาด้วย หาใช่เพียงแต่พิจารณาจากเอกสารที่ส่งไว้แต่เดิมไม่
ภายหลังจากที่โรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ.2521 แล้ว ประธานกรรมการอำนวยการจำเลยที่ 1 ได้ออกคำชี้แจงแก่พนักงานและคนงานว่าระเบียบดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521เป็นต้นไปพนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521. ต้องมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ออกระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำ ฉบับที่ 2พ.ศ.2521 ให้พนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่1 กุมภาพันธ์ 2521 คงมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมอีก ดังนี้ย่อมฟังได้ว่าก่อนที่จะมีระเบียบโรงงานกระสอบป่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ.2521 นั้น ได้มีระเบียบเดิมให้พนักงานและคนงานประจำได้รับเงินบำเหน็จอยู่แล้ว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2517 การรับเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามระเบียบเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับจึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกร้องเงินตามระเบียบเดิมอีก ไม่ต้องวินิจฉัยว่าระเบียบเดิมนั้นคือระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285-3289/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดเงินเดือนและนับอายุงานหลังกลับเข้าทำงานจากการถูกไล่ออก: ข้อบังคับการรถไฟและการไม่ได้รับค่าจ้างช่วงถูกไล่ออก
เมื่อข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่มีการร้องทุกข์เพราะออกงานถ้าผู้ร้องทุกข์ได้รับการพิจารณากลับเข้าทำงานตามเดิม ผู้ได้กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกออกจากงานโจทก์ซึ่งเดิมถูกไล่ออกจากงานแต่ภายหลังคณะกรรมการจำเลยมีมติเปลี่ยนแปลงระดับโทษจากไล่ออกเป็นให้กลับเข้าทำงานแต่ให้ตัดเงินเดือน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออก และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้นับอายุการทำงานในระหว่างถูกไล่ออก เพราะโจทก์มิได้ทำงานและมิได้มีฐานะเป็นลูกจ้างในระหว่างนั้นประกอบกับคณะกรรมการจำเลยซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการรถไฟตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ได้มีมติว่าสำหรับการนับเวลาทำการก็ให้ตัดเวลาที่ถูกไล่ออกจากงานไป การที่จำเลยออกคำสั่งตัดเงินเดือนโจทก์โดยไม่จ่ายเงินเดือนและให้ตัดเวลาการทำงานในระหว่างที่ไล่ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุและการคำนวณค่าชดเชย: ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง, ค่ายังชีพภาคใต้ไม่รวม
การที่จำเลยมีระเบียบการให้พนักงานออกจากงานเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์เป็นเพียงการกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงจ้างพนักงานโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ (ฉบับที่ 5)ข้อ 2 จะมีข้อความว่าการเลิกจ้างให้หมายความรวมทั้งกรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายด้วย แต่ต่อมาประกาศดังกล่าว (ฉบับที่ 6) ข้อ 2 ไม่มีข้อความนี้ก็ตาม ก็หาใช่เป็นเรื่องประกาศ (ฉบับที่ 6) มิได้ประสงค์ให้ถือว่าการที่ลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่
เมื่อจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนเป็นประจำเพราะเห็นว่าค่าจ้างไม่สมดุลย์กับภาวะการครองชีพ อันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานของพนักงานให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจึงถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่ายังชีพภาคใต้ให้เฉพาะพนักงานใน 14 จังหวัดภาคใต้เท่านั้นเป็นการจ่ายโดยถือลักษณะของท้องที่ที่พนักงานเหล่านั้นประจำทำงานเป็นเกณฑ์ เมื่อพนักงานย้ายออกนอกเขต 14 จังหวัดดังกล่าวก็จะไม่ได้รับค่ายังชีพต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยในค่าชดเชยคงเรียกดอกเบี้ยจากค่าเสียหายเท่านั้น ที่ศาลแรงงานฯ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การทำงานตามสัญญาเช่าระหว่างกระทรวงกลาโหมและเอกชน ไม่ถือเป็นลูกจ้างของเอกชน
การที่โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นผลจากข้อตกลงระหว่างจำเลยกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงกลาโหมยังถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างอยู่โดยสงวนอำนาจบังคับบัญชาในการลงโทษและการพิจารณาความดีความชอบของโจทก์ไว้ และยังได้เคยย้ายข้าราชการที่ทำงานกับจำเลยกลับไปทำงานที่กระทรวงกลาโหมเพราะเงินเดือนเต็มขั้นจึงเห็นได้ว่าการที่โจทก์ทำงานในโรงงานซึ่งจำเลยเช่ามาจากกระทรวงกลาโหม เป็นการทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของกระทรวงกลาโหมอันเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าโรงงานมิได้เกิดจากข้อตกลงที่โจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลย โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง นายจ้างไม่อาจออกระเบียบตัดสิทธิลูกจ้างได้
ค่าชดเชยเป็นเงินที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้าง หากนายจ้างไม่ปฏิบัติย่อมมีความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ข้อ 8 นายจ้างจึงจะออกระเบียบข้อบังคับใดๆ ในทางตัดสิทธิในการที่จะได้รับค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้จำเลยจะมีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับใช้กับพนักงานของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยกำหนดในระเบียบว่า การเลิกจ้างพนักงานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยหรือสิทธิตามกฎหมายแรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งและปรากฏว่าจำเลยเพียงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ เท่ากับตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ระเบียบดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ
of 82