คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 819 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลากิจจำเป็นเร่งด่วน ลูกจ้างมีสิทธิลาได้แม้ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า หากมีเหตุผลอันสมควร และการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้ จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21-23/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีผลบังคับใช้ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใดๆเอากับจำเลยนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้นมิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมายโจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใดๆอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46ไม่มีผลใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าจ้าง นายจ้างมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณได้ โดยไม่ต้องรวมเงินค่าครองชีพ
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนและมีจำนวนแน่นอน จะถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ก็ตามแต่เงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายตอบแทนความดีของลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่กับนายจ้างไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายหรือจ่ายเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรนายจ้างจึงมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จอย่างไรก็ได้ไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานการคำนวณ เงินบำเหน็จจะรวมค่าครองชีพด้วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อบังคับของจำเลย ข้อบังคับของจำเลยกำหนดคำว่าเงินเดือนซึ่งเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จว่าให้หมายถึงเงินเดือนสุดท้ายของลูกจ้างประจำ และเงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้าย ของลูกจ้างรายวันคำว่า "เงินค่าจ้าง 26 วันสุดท้ายของลูกจ้างรายวัน"ย่อมหมายถึงค่าจ้างรายวันซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับครั้งสุดท้าย 26 วัน รวมกันไม่รวมถึงค่าจ้างอื่นซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับเป็นรายเดือนด้วยค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้างรายวันจึงไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถเหมาจ่ายเป็นค่าจ้าง: การพิจารณาฐานคำนวณค่าชดเชยและเงินสะสม
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถเป็นการเหมาให้โจทก์เป็นรายเดือนเดือนละเท่าๆ กัน โดยไม่คำนึงว่าในเดือนหนึ่งๆ โจทก์จะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถหรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ค่าน้ำมันรถย่อมเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงถือว่าเป็นค่าจ้าง ส่วนการเบิกเงินค่าน้ำมันรถดังกล่าวซึ่งต้องมีใบเสร็จมาแสดงเป็นเพียงวิธีการเบิกจ่ายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การทำงานโดยไม่ได้โอนย้ายสถานะ ไม่ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
การตกลงโอนข้าราชการหรือลูกจ้างของกระทรวงกลาโหมไปเป็นลูกจ้างของการท่าอากาศยานจำเลยที่ 1 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างข้าราชการหรือลูกจ้างนั้น ๆ กับกระทรวงกลาโหมและจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่มีผลเกี่ยวกับการที่โจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 หรือไม่ส่วนการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์มิได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการทำในฐานะเป็นหน้าที่ราชการของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกลงทำการงานให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายสินจ้างให้โจทก์ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงหาได้เกิดขึ้นโดยปริยายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน แม้ถูกยิงขณะพัก แต่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่
ลูกจ้างถูกยิงถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ยามในเวลากลางคืนณ สถานที่กองเก็บทรัพย์สินของนายจ้างพฤติการณ์ส่อไปในทางถูกยิงเพราะปฏิบัติหน้าที่นั่นเองเมื่อไม่ได้ความว่าการที่ถูกยิงมาจากเหตุส่วนตัวหรือเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานจึงถือได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับค่าชดเชย: การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยโดยการรับเงินช่วยเหลือ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อโจทก์ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมรับเงินช่วยเหลือจากจำเลย ไปจำนวนหนึ่งแล้วโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรจากจำเลยอีกจึงมีผลเป็นว่า โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าชดเชยหรือโจทก์ยอมสละข้อหานี้ โดยโจทก์ ไม่ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับเอากับจำเลยอีกต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงหาขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานอันตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับ – การจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานให้ทำช่วงเวลาที่อยู่เวร
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436-2438/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: สิทธิลูกจ้างยังคงมีแม้รับเงินบำเหน็จตัดตอน
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยระเบียบเดิม ไม่ใช่เป็นสิทธิที่เกิดจากข้อเรียกร้องหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทำขึ้นใหม่ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างแทนที่จะรอจ่ายเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเฉพาะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ เช่น ประเภทของลูกจ้าง หรือคุณสมบัติของลูกจ้างผู้มี สิทธิได้รับเงินบำเหน็จ คงใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบเดิมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังเป็นเพียงกำหนดให้สิทธิ แก่ลูกจ้างที่จะขอเลือกรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี หรือขอรับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานก็ได้เท่านั้นมิได้หมายความเลยไปว่าถ้าลูกจ้างขอรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีไปแล้ว ก็สิ้นความผูกพันที่มีอยู่ตามระเบียบเดิม นายจ้างมีสิทธิจะนำระเบียบเดิมมาใช้ บังคับแก่ลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายจากการทำงาน: การบาดเจ็บจากเหตุภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่
ลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ปิดเปิดเครื่องกั้นถนนถูกคนร้ายใช้ปืนยิงได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างอย่างไร ตามทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนก็เพียงสันนิษฐานว่าคนร้ายยิงผิดตัวเข้าใจว่าลูกจ้างเป็นลูกจ้างของโจทก์อีกคนหนึ่งซึ่งเข้าเวรก่อนหน้านั้น สาเหตุที่ลูกจ้างถูกคนร้ายยิงจึงยังไม่เป็น ที่แน่ชัด แม้จะเป็นการได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงานก็ถือไม่ได้ว่า ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
of 82