พบผลลัพธ์ทั้งหมด 819 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นบริษัทกับสถานะนายจ้าง-ลูกจ้างต่อเนื่อง อายุงานนับต่อเนื่อง
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น มีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่ จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า 'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้น จากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้อง นับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงลูกจ้างบนเรือบรรทุกน้ำมันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณเงินทดแทน
ส. ลูกจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งคนครัวประจำเรือบรรทุกน้ำมัน ระหว่างปฏิบัติงานในเรือ โจทก์จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โดยหนึ่งเดือนจะได้ หยุดงาน 7 วันติดต่อกันและไม่ได้เบี้ยเลี้ยง การปฏิบัติงานของ ส. ระหว่างเรือออกปฏิบัติงานขนส่งน้ำมันจึงมิใช่เป็นการไปทำงาน นอกสถานที่เป็นครั้งคราวเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างซึ่งจะต้อง นำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิในค่าจ้างและค่าชดเชยแรงงาน: การจำกัดวงเงินบุริมสิทธิในค่าจ้างนับถอยหลัง
หนี้ค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็นบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ส่วนหนี้ค่าจ้างคนงานที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เป็นบุริมสิทธิตามมาตรา 253(4) และมาตรา 257 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีบุริมสิทธิในมูลค่าจ้างนับถอยหลังไปสองเดือนแต่ไม่เกิน 150 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะที่ไม่ใช่ค่าจ้างเหมาจ่าย ไม่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าพาหนะที่มิได้เหมาจ่ายเป็นจำนวนแน่นอน มิใช่ค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 จึงไม่ต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยหรือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน: อำนาจของอธิบดีกรมแรงงานในการแก้ไขคำสั่ง
ลูกจ้างไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน ได้ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา โดยทำการล้างหินอัดหินตามทางรถไฟซึ่งเป็นที่กลางแจ้ง ต้องก้ม ๆ เงย ๆ พอถึงเวลา 10.30 นาฬิกา อากาศร้อนอบอ้าว เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยตรง การที่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมแรงงานสั่งให้นายจ้าง จ่ายค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่พนักงานเงินทดแทนสั่งโดยที่ นายจ้างแต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเงินทดแทนนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณา ของศาล จึงนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก ไปใช้บังคับหรือเทียบเคียงมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่าสิ่งที่พนักงานเงินทดแทนสั่งไปผิดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: แม้ไม่มีงานทำนายจ้างก็ต้องจ่ายสินจ้างจนกว่าจะมีการเลิกสัญญา เหตุเพลิงไหม้ไม่ใช่เหตุขัดขวางการจ่าย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ต้องทำงานให้แก่จำเลยและจำเลยต้องชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ แม้จำเลยอาจไม่มอบงานหรือสั่งให้ โจทก์ทำงานจำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่จ้างกันจนกว่า จะมีการเลิกสัญญาจ้าง การที่จำเลยหยุดกิจการเพื่อซ่อมแซมโรงงาน ที่ถูกเพลิงไหม้มิได้เป็นเหตุขัดขวางอย่างใดที่จะทำให้ถึงแก่จำเลย จ่าย สินจ้างไม่ได้เพราะยังไม่พ้นวิสัยที่จำเลยจะชำระหนี้จ่ายสินจ้างให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตหลังกลับจากร่วมงานศพ: ไม่ถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
แม้ผู้ตายเป็นผู้จัดการแผนกบุคคล มีหน้าที่ในการสงเคราะห์พนักงานหรือครอบครัว รวมทั้งให้สวัสดิการ เช่นงานบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจศพ และผู้ตายได้รับมอบหมายจากบริษัทนายจ้างให้เป็นตัวแทนไปร่วมงานสวดพระอภิธรรมศพบิดาผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทนายจ้างก็ตาม แต่การไปร่วมงานดังกล่าวเป็นเรื่องประเพณีทางสังคม ไม่ใช่เรื่องความรับผิดชอบเกี่ยวกับหน้าที่การงานดังนั้น เมื่อผู้ตายกลับจากงานสวดพระอภิธรรมศพแล้วประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะเป็นผลให้มีสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981-991/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำงานในวันหยุด: เงินเปอร์เซ็นต์จากยอดขายไม่ใช่ค่าจ้าง แต่ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณ
เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหรือเงินเปอร์เซ็นต์ที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติคือเกินวันละ 8 ชั่วโมง มิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เพราะมิใช่เป็นเงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณค่าทำงานในวันหยุดได้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างด้วย
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าครองชีพเป็นค่าจ้างเหมาจ่ายรายเดือนที่ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ไม่ต้องเฉลี่ยตามจำนวนวันทำงาน
เมื่อค่าครองชีพซึ่งรัฐวิสาหกิจจ่ายให้ตามมติของคณะรัฐมนตรีเป็นค่าจ้างประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องจ่ายในอัตราเหมาเดือนมิได้จ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงานและไม่มีการหักวันหยุดวันลาต่างๆ อันแตกต่างกับการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมงตามปกติของโจทก์ ดังนั้นการคำนวณค่าล่วงเวลารายชั่วโมงของค่าครองชีพให้แก่โจทก์จึงต้องเอาจำนวนค่าครองชีพหารด้วย 30 คูณด้วย 8(จำนวนชั่วโมงที่โจทก์ทำงานแต่ละวัน) หาใช่เอา21.75 อันเป็นวันทำงานโดยเฉลี่ยของโจทก์ในแต่ละเดือนคูณด้วย 8 มาเป็นตัวหารไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่อง-ต่ออายุ ไม่ใช่สัญญาใหม่: ลูกจ้างมีสิทธิค่าชดเชย แม้สหกรณ์อ้างไม่แสวงหากำไร
เมื่อโจทก์ทำงานถึงอายุ 60 ปีแล้วมีการต่ออายุการทำงานออกไปคราวละ 1 ปี จนกระทั่งโจทก์มีอายุครบ65 ปีนั้น การต่ออายุการทำงานแต่ละคราวเป็นเพียงการขยายกำหนดเวลาจ้างเดิมออกไปไม่ใช่ตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มิได้กำหนด ระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอยู่เช่นเดิม แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่ออายุการทำงาน จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิ ของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิ ของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย