คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515 ม. 2 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างตามฤดูกาล: การเลิกจ้างก่อนครบกำหนดสัญญา ไม่กระทบสิทธิค่าชดเชย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ติดต่อกันรวม 9 ครั้ง ครั้งละ3 เดือนบ้าง6 เดือนบ้าง ครั้งสุดท้ายมีกำหนด 1 เดือน ทั้งนี้เพราะมีความจำเป็นตามฤดูกาลทางเกษตรกรรม ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะหมดเมื่อใด จึงเป็นการจ้างที่มิได้ ถือเอาระยะเวลาเป็นสำคัญ หากแต่ถือเอาความจำเป็นของจำเลยเป็นเหตุในการเลิกจ้าง ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาการจ้างย่อมไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริง เพราะจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากความจำเป็นหมดไป จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนอันจำเลยได้รับยกเว้นไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดนั้น
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางอาญาถือว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนั้น การที่ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยจึงหาทำให้สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบอย่างร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พนักงานของธนาคารจำเลย สาขานนทบุรีผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ ซึ่งเป็นผู้จัดการ ทำหนังสือร้องเรียนว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ทำให้ธนาคารจำเลยเสียหาย กรรมการผู้จัดการธนาคารจำเลยสั่งให้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของธนาคารไปสอบสวนแล้ว ได้ความว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของธนาคาร มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ปล่อยเงินให้กู้ยืมไปโดยไม่มีหลักประกันทำให้ธนาคารเสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนรายงานว่า โจทก์ปฏิบัติงานส่อไปในทางทุจริต ฝ่าฝืนระเบียบวินัยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของธนาคารจำเลย ไม่มาทำงานและเลิกงานตามเวลาที่กำหนด รายงานการมาทำงานและเลิกงานเท็จ เสพสุรายาเมาเป็นอาจิณ และไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื้อสัตย์สุจริต ควรให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการสาขานนทบุรี จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและให้เป็นที่ปรึกษาแทน โจทก์ลาออก ตามพฤติการณ์ดังกล่าวมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า นอกจากโจทก์จะฝ่าฝืนระเบียบวินัยของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงแล้ว โจทก์ยังทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยเสียหาย อันจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) (2) และ (3) จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2(5) ข้อ 8 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 11 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2517

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: เงินผลประโยชน์จากการปลดลูกจ้างเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ได้ให้คำจำกัดความของ"ค่าชดเชย" ไว้ว่า หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่นายจ้าง เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทโจทก์มีว่า บริษัทโจทก์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ในการปลดลูกจ้างเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าค่าชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งตามข้อบังคับดังกล่าวแสดงเจตนาไว้ว่า บริษัทโจทก์ประกาศข้อบังคับนี้ก็เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อความตามข้อบังคับนี้จึงแสดงถึงความเอื้อเฟื้อของบริษัทโจทก์ที่สัญญาว่าจะจ่ายเงินค่าชดเชยในการปลดลูกจ้างออกจากงานให้เป็นจำนวนมากกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ ดังนั้น เงินผลประโยชน์ในการปลดที่บริษัทโจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง อันเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
นับเกี่ยวกับฎีกา 1444/2519 (ประชุมครั้งที่ 17/2519)