พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285-3289/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษทางวินัยจากไล่ออกเป็นตัดเงินเดือน และสิทธิการได้รับเงินเดือนและนับอายุงานของลูกจ้าง
เมื่อข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่มีการร้องทุกข์เพราะออกงานถ้าผู้ร้องทุกข์ได้รับการพิจารณากลับเข้าทำงานตามเดิม ผู้ได้กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกออกจากงานโจทก์ซึ่งเดิมถูกไล่ออกจากงานแต่ภายหลังคณะกรรมการจำเลยมีมติเปลี่ยนแปลงระดับโทษจากไล่ออกเป็นให้กลับเข้าทำงานแต่ให้ตัดเงินเดือน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออก และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้นับอายุการทำงานในระหว่างถูกไล่ออก เพราะโจทก์มิได้ทำงานและมิได้มีฐานะเป็นลูกจ้างในระหว่างนั้นประกอบกับคณะกรรมการจำเลยซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการรถไฟตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ได้มีมติว่าสำหรับการนับเวลาทำการก็ให้ตัดเวลาที่ถูกไล่ออกจากงานไป การที่จำเลยออกคำสั่งตัดเงินเดือนโจทก์โดยไม่จ่ายเงินเดือนและให้ตัดเวลาการทำงานในระหว่างที่ไล่ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำร้ายร่างกายระหว่างลูกจ้าง ไม่ถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
จ. กับ ส. ต่างเป็นลูกจ้างของบริษัทโจทก์ โดย ส.เป็นลูกมือ จ.แล้วจ.เกิดโทสะที่ ส. ไม่ทำตามคำสั่งจึงตบหน้าและใช้ขวดน้ำอัดลมตี ส.บาดเจ็บ การทำร้ายเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของการปฏิบัติงานให้นายจ้างดังนั้นเมื่อต่อมา ส.ซึ่งยังอาฆาตจ.อยู่ได้ใช้เหล็กนาบมุกเผาไฟตี จ. ถึงแก่ความตายจึงเป็นการที่ จ.ถูกทำร้ายตายเพราะเหตุส่วนตัว ไม่ใช่เนื่องมาจากการทำงานให้นายจ้างดังความหมายคำว่า"ประสบอันตราย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากการทำร้ายร่างกายโดยเจตนา ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
แม้จะฟังว่า ผู้ช่วยผู้จัดการบริษัท อ. สั่งให้ผู้ตายดำเนินการให้ ป. ย้ายออกไปจากห้องพักของบริษัท ซึ่ง ป. อยู่โดยไม่มีสิทธิ ผู้ตายสั่งให้คนตาม ป. ไป พบ ป.ไม่ไป ผู้ตายจึงไปพบ ป. เพื่อเจรจาเรียกห้องพักคืน แต่ในการเจรจานั้นได้ความว่า ผู้ตายได้ทำร้ายร่างกาย ป. ก่อน โดยไม่จำเป็น ดังนี้ เป็นเรื่องผู้ตายทำร้ายร่างกาย ป.ไปตามเจตนาของผู้ตายเอง หาเกี่ยวเนื่องกับการเจรจาเรียกห้องพักคืนอันเป็นการทำงานให้นายจ้างไม่ เมื่อ ป. บันดาลโทสะ ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ความตายของผู้ตายจึงเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ตายทำร้ายร่างกาย ป.ก่อน ถือไม่ได้ว่าผู้ตายประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะทำให้ภริยาของผู้ตายมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากเหตุส่วนตัว แม้เกิดขณะทำงาน
ส.ลูกจ้างโจทก์ถูกแทงทำร้ายถึงแก่ความตาย เพราะสาเหตุเรื่องส่วนตัวแม้การตายของ ส. ได้เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานทำความสะอาดตู้รถสินค้าและบริเวณที่ทำการรับส่งสินค้าของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างก็ตาม แต่เมื่อมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัวก็ถือไม่ได้ว่า ส. ประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างตามนัยแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจึงไม่จำต้องจ่ายเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานตรวจแรงงานเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ไม่ใช่ผู้ชี้ขาด และการจ่ายค่านายหน้าเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย
พนักงานตรวจแรงงานมิได้อยู่ในฐานะผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากแต่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นเพียงคำชี้แจงของผู้ไกล่เกลี่ยให้นายจ้างทราบเพื่อให้มีการประนีประนอมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างเห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนนั้นหามีผลบังคับไม่การที่พนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนดังกล่าวไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งของนายจ้าง นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1444/2519)
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
นอกจากค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าอีกร้อยละ 1.75 จากจำนวนเงินที่นายจ้างได้รับชำระจากสินค้าของนายจ้างที่ได้ขายไปในเขตควบคุมของลูกจ้าง เงินค่านายหน้าดังกล่าวเป็นค่าจ้างตาม ข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฉบับลงวันที่ 16 เมษายน 2515 นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้า
เงื่อนไขและระเบียบของนายจ้างที่ให้งดจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวที่ยังไม่ได้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
นอกจากค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้าอีกร้อยละ 1.75 จากจำนวนเงินที่นายจ้างได้รับชำระจากสินค้าของนายจ้างที่ได้ขายไปในเขตควบคุมของลูกจ้าง เงินค่านายหน้าดังกล่าวเป็นค่าจ้างตาม ข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฉบับลงวันที่ 16 เมษายน 2515 นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้า
เงื่อนไขและระเบียบของนายจ้างที่ให้งดจ่ายเงินค่านายหน้าดังกล่าวที่ยังไม่ได้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่ออุบัติเหตุลูกจ้างขณะเดินทางไปทำงาน การคุ้มครองแรงงาน
ลูกจ้างมีหน้าที่เดินตลาดและเก็บเงินจากลูกค้า นายจ้างมอบรถจักรยานยนต์ไว้ให้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้ดูแลรักษาและอนุญาตให้นำรถกลับบ้านและขับมาทำงานที่สำนักงานด้วย ขณะที่ลูกจ้างประสบอันตรายนั้นเป็นเวลาที่ลูกจ้างขับรถจักรยานยนต์จากบ้านจะไปสำนักงานเพื่อปฏิบัติงานตามปกติ มิได้ประสบอันตรายในขณะที่กำลังเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง และมิใช่เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: เงินผลประโยชน์จากการปลดลูกจ้างเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ได้ให้คำจำกัดความของ"ค่าชดเชย" ไว้ว่า หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่นายจ้าง เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทโจทก์มีว่า บริษัทโจทก์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ในการปลดลูกจ้างเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าค่าชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งตามข้อบังคับดังกล่าวแสดงเจตนาไว้ว่า บริษัทโจทก์ประกาศข้อบังคับนี้ก็เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อความตามข้อบังคับนี้จึงแสดงถึงความเอื้อเฟื้อของบริษัทโจทก์ที่สัญญาว่าจะจ่ายเงินค่าชดเชยในการปลดลูกจ้างออกจากงานให้เป็นจำนวนมากกว่าที่ทางราชการกำหนดไว้ ดังนั้น เงินผลประโยชน์ในการปลดที่บริษัทโจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง อันเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ไม่อาจแปลได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
นับเกี่ยวกับฎีกา 1444/2519 (ประชุมครั้งที่ 17/2519)
นับเกี่ยวกับฎีกา 1444/2519 (ประชุมครั้งที่ 17/2519)