คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 13

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายใหม่กำหนดอัตราอากรแสตมป์ที่สูงขึ้น
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสารข้อ 17(ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายแก้ไขใหม่
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 17 (ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2526 มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้มรดก: เงินค่าเช่าเป็นดอกผลนิตินัยของกองมรดก ต้องยื่นภาษีในชื่อกองมรดก และไม่ขาดอายุความ
เมื่อกองมรดกโจทก์ยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเงินค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่าทรัพย์สินของกองมรดกย่อมเป็นของกองมรดก เพราะเป็นดอกผลนิตินัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ซึ่งจักต้องนำไปแบ่งปันกันระหว่างทายาทต่อมาภายหลังแม้ตามพินัยกรรมระบุให้แบ่งเงินค่าเช่าแก่ทายาท 3 คน และผู้จัดเก็บผลประโยชน์ของกองมรดกได้แบ่งค่าเช่าที่เก็บได้มาให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมแล้วก็หาใช่ว่าเงินค่าเช่านั้นตกได้แก่ทายาท 3 คนนั้นทันทีไม่กรณีเข้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง ซึ่งผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี มีหนังสือต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ในชื่อกองมรดกผู้ตาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากค่าบริการนายหน้า: อายุความและขอบเขตการประเมิน
โจทก์เป็นผู้ดำเนินการวิ่งเต้นให้เจ้าของที่ดินยอมให้บริษัท ว. เข้าทำการปรับปรุงที่ดินอันเป็นแหล่งเสื่อมโทรม จนเป็นผลให้เจ้าของที่ดินทำสัญญาดังกล่าวกับบริษัท ว. และทำให้โจทก์ได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริษัท ว. การกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นนายหน้าตัวแทนจัดการงานให้ เป็นการประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญชีอัตราภาษีการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน โจทก์จึงต้องจดทะเบียนการค้าและเสียภาษีการค้า ทั้งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40(2) จากจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับมาจากบริษัท ว.
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนเท่านั้น ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระภาษีเงินได้และเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปี โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ผู้เสียภาษีต้องยื่นรายการและชำระค่าภาษีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 ภาษีเงินได้สำหรับปีพ.ศ. 2509 โจทก์จะต้องยื่นรายการภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2510 เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อภรรยาแยกยื่นรายการ: เจ้าพนักงานมีอำนาจแบ่งภาษีและให้ทั้งสองฝ่ายร่วมรับผิดชอบ
ภรรยาโจทก์แยกยื่นแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากโจทก์ เมื่อรายการที่ภรรยาโจทก์ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ การออกหมายเรียกมาไต่สวนตามนัยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานย่อมออกหมายเรียกไปยังภรรยาโจทก์ผู้ยื่นรายการมาทำการไต่สวน ไม่ใช่โจทก์ แต่เมื่อไต่สวนทราบจำนวนเงินภาษีอันถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแบ่งภาษีดังกล่าวออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภรรยาโจทก์แต่ละฝ่ายได้รับ โดยแจ้งให้โจทก์และภรรยาโจทก์เสียเป็นคนละส่วนได้แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสาม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานไต่สวนภรรยาโจทก์แล้ว ปรากฏว่าภรรยาโจทก์มีภาระต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่มเติมซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระโดยมิได้หมายเรียกโจทก์มาไต่สวน ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะมิใช่การตรวจสอบภาษี