คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515 ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีไม่จ่ายค่าจ้าง: เจ้าหน้าที่แรงงานร้องทุกข์แทนลูกจ้างได้ แม้ลูกจ้างมิได้ร้องทุกข์เอง
ความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้างเป็นกรณีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ซึ่งลูกจ้างซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ด้วยตนเองเมื่อปรากฎว่าเจ้าหน้าที่แรงงานผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้ร้องทุกข์ไว้แล้วพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: กรณีหลอกลวงรับสมัครงานและเรียกเก็บเงินประกัน/หุ้น
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงานโดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเองหรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงานแต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่จำเลยที่1และที่2ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำแต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัครการกระทำของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,343วรรคแรก การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ30หุ้นเป็นเงิน3,000บาทมีลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ135บาทจึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา3เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบหรือจ่ายหรือตกลงหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าวและในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ135บาทหรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ54ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา5แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวจึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา5 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สามโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกันการกระทำของจำเลยที่1และที่2ที่ได้กระทำในนามของบริษัทโดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดีการรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดีการคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด6เดือนแล้วก็ดีล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้แสดงว่าจำเลยที่1และที่2หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นมิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทำงานเพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำที่จำเลยที่1และที่2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรกๆและจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่งซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้กรณีจึงมิให้เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(2)ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง20ปีนั้นไม่ถูกต้องที่ถูกต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)รวมจำคุกคนละ50ปีแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้าคงแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดสำหรับพนักงานขับรถ: การคำนวณอัตราการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงาน ไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม งานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ 54 ชั่วโมงหรือวันละ 9 ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา 6.00 นาฬิกา เลิกงาน18.00 นาฬิกาเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก 1 ชั่วโมง และเวลาทำงานปกติ 9 ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ 2 ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด 24 ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่ 2 ชั่วโมงนั้น จำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วย กล่าวคือ เมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้ว จึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ 2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ ส่วนระยะเวลา 12 ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน
จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด 12 ชั่วโมง จึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่ 2 ชั่วโมงด้วย จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ 2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่า และจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้ เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ 2 ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด: การคำนวณอัตราค่าจ้างและการจ่ายค่าล่วงเวลาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงานไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมงานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ54ชั่วโมงหรือวันละ9ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา6.00นาฬิกาเลิกงาน18.00นาฬิกาเป็นเวลา12ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก1ชั่วโมงและเวลาทำงานปกติ9ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ2ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด24ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่2ชั่วโมงนั้นจำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วยกล่าวคือเมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้วจึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ส่วนระยะเวลา12ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด12ชั่วโมงจึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่2ชั่วโมงด้วยจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่าและจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ2ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่อง-ต่ออายุ ไม่ใช่สัญญาใหม่: ลูกจ้างมีสิทธิค่าชดเชย แม้สหกรณ์อ้างไม่แสวงหากำไร
เมื่อโจทก์ทำงานถึงอายุ 60 ปีแล้วมีการต่ออายุการทำงานออกไปคราวละ 1 ปี จนกระทั่งโจทก์มีอายุครบ65 ปีนั้น การต่ออายุการทำงานแต่ละคราวเป็นเพียงการขยายกำหนดเวลาจ้างเดิมออกไปไม่ใช่ตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มิได้กำหนด ระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอยู่เช่นเดิม แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่ออายุการทำงาน จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิ ของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดกับประกาศคณะปฏิวัติว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกตามอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 หมวด 5 กำหนดอัตราค่าชดเชยซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำที่เลิกจ้าง และประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้อ 13 วรรคสองระบุว่า'ผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ค่าจ้างหรือเงินอื่นจากนายจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 13ตุลาคม 2501 ให้คงรับต่อไป' ดังนั้นการที่โจทก์ในฐานะลูกจ้างและจำเลยในฐานะนายจ้างได้ตกลงกำหนดจำนวนเงินค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอันหมายถึงเงินค่าชดเชยและเงินค่าครองชีพนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงที่ผิดแผกแตกต่างกับบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อยังให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมืองอันถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าว ซึ่งมีการตกลงผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานจากความผิดของหุ้นส่วน ความรับผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ
เหตุที่ใบอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่องจักรของห้างจำเลยถูกสั่งพักใช้และถูกสั่งให้เพิกถอนก็เนื่องมาจากหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ มิใช่เป็นความผิดของทางราชการ ดังนั้น การที่คนงานทั้งหมดต้องออกจากงานจึงเป็นการกระทำของจำเลยและถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างคนงานทั้งหมดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุ พนักงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้ได้รับบำเหน็จ
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จะออกโดยฝ่ายบริหาร แต่ก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ฯ ข้อ 2 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุแต่อย่างใด เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและ พนักงานรัฐวิสาหกิจฯก็มิได้บัญญัติว่าการที่พนักงาน ต้องพ้น ตำแหน่งเพราะครบ 60 ปีบริบูรณ์ไม่เป็นการเลิกจ้าง จึงไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศดังกล่าวในข้อที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่จ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เป็นเงิน ประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้จะมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยก็หาเป็นค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเงินทดแทนต้องวางเงินตามคำสั่งก่อน หากไม่วางเงิน ศาลไม่รับฟ้อง
การที่โจทก์จะนำคดีมาสู่ศาลในกรณีที่อธิบดีกรมแรงงานมีคำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายเงินทดแทนให้แก่ผู้ยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทนนั้นตามข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 โจทก์จะต้องวางเงินต่อศาลเป็นจำนวนตามคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงาน จึงจะฟ้องคดีได้ ถ้าปรากฏว่าโจทก์มิได้วางเงินดังกล่าวต่อศาลโจทก์ก็นำคดีมาสู่ศาลไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การเล่นการพนันในบริษัทเป็นเหตุร้ายแรง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้น มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 68ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จะต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและต้องมีรายการต่าง ๆ ตามที่ข้อ 68 กำหนดไว้ซึ่งข้อ 68(6) มีรายการเรื่องวินัยและโทษทางวินัยด้วยฉะนั้น นายจ้างจึงมีสิทธิที่จะออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าการเล่นการพนันในบริเวณบริษัทเป็นความผิดสถานหนักมีโทษถึงปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยได้ ส่วนการจ่ายค่าชดเชย ต้องบังคับตามข้อ 47(3)ของประกาศกระทรวงมหาดไทย ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติงานหรือนอกเวลาก็ตาม นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมทำลายความสามัคคีในระหว่างหมู่คณะ ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง
of 2