พบผลลัพธ์ทั้งหมด 640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ การโอนเช็คไม่เข้าข่ายฉ้อฉล ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยฎีกากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลย เพราะไม่ทำให้การโอนเช็คพิพาทระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ไปได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ แม้มีการโอนสิทธิ แต่การโอนนั้นไม่เข้าข่ายฉ้อฉล ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเช็ค
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยฎีกากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลย เพราะไม่ทำให้การโอนเช็คพิพาทระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ไปได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ ผู้รับโอนเช็คสุจริต ไม่เป็นการคบคิดฉ้อฉล แม้มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยฎีกากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลย เพราะไม่ทำให้การโอนเช็คพิพาทระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ไปได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าและการรับผิดชอบเงินประกันความเสียหายของผู้รับโอน
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวให้เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้วก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินนี้ขึ้นใหม่ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสอง แต่อย่างใดเนื่องจากการคืนเงินนี้เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่ต้องรับผิดหนี้เงินประกันความเสียหายตามสัญญาเช่าเดิม
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้ว ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะการคืนเงินประกันความเสียหายเป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่า จึงไม่ใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตาม จำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1จะต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าและการรับผิดชอบเงินประกันความเสียหาย ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิดหากไม่มีข้อตกลงใหม่
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวให้เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้วก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินนี้ขึ้นใหม่ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสอง แต่อย่างใดเนื่องจากการคืนเงินนี้เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเมื่อถูกทำร้ายและการใช้อาวุธปืนเพื่อป้องกันตนเอง
โจทก์ร่วมได้ชกจำเลย 1 ที จำเลยจึงใช้เท้าถีบโจทก์ร่วม 1 ทีแล้วเดินถอยหลังลงบันได โจทก์ร่วมได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลย 1 นัดไม่ถูก จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม 1 นัด และลงบันไดหนีไปดังนี้ การที่โจทก์ร่วมชกจำเลย จำเลยใช้เท้าถีบโจทก์ร่วม แล้วถอยหลังลงบันไดไปนั้น ไม่เป็นการสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กับโจทก์ร่วมเมื่อจำเลยถอยหนีลงบันได โจทก์ร่วมใช้อาวุธปืนยิงจำเลยอีกจึงเป็นการประทุษร้ายต่อจำเลยโดยละเมิดต่อกฎหมาย และโจทก์ร่วมสามารถใช้อาวุธปืนยิงจำเลยได้ตลอดเวลา ถือได้ว่าเป็นภยันตรายใกล้จะถึง จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมไป 1 นัด แล้วลงบันไดหนีไปเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวตามกฎหมายอาญา: การกระทำเพื่อป้องกันภัยอันตรายที่ใกล้จะถึง
โจทก์ร่วมได้ชกจำเลย 1 ที จำเลยจึงใช้เท้าถีบโจทก์ร่วม 1 ทีแล้วเดินถอยหลังลงบันได โจทก์ร่วมได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลย 1 นัดไม่ถูก จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม 1 นัด และลงบันไดหนีไปดังนี้ การที่โจทก์ร่วมชกจำเลย จำเลยใช้เท้าถีบโจทก์ร่วม แล้วถอยหลังลงบันไดไปนั้น ไม่เป็นการสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กับโจทก์ร่วมเมื่อจำเลยถอยหนีลงบันได โจทก์ร่วมใช้อาวุธปืนยิงจำเลยอีกจึงเป็นการประทุษร้ายต่อจำเลยโดยละเมิดต่อกฎหมาย และโจทก์ร่วมสามารถใช้อาวุธปืนยิงจำเลยได้ตลอดเวลา ถือได้ว่าเป็นภยันตรายใกล้จะถึง จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมไป 1 นัด แล้วลงบันไดหนีไปเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011-4012/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อร่วมกัน, ผู้เสียหายบุคคลภายนอก, การแบ่งความรับผิด, หนี้ไม่อาจแบ่งแยก
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และรถคันที่จำเลยที่ 3 ขับได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 3 กับผู้ตายขับรถชนกันโดยประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยทั้งสามกับผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 เจ้าของรถคันที่ผู้ตายขับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเท่ากันแต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องผู้ตายให้ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายด้วยจำเลยทั้งสามก็ควรจะรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงกึ่งหนึ่ง และเนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกชำระได้แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกาก็ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ความรับผิดระหว่างจำเลยทั้งสามกับโจทก์ที่ 2 ภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 3 บุตรของผู้ตายจึงต้องเป็นพับ กันไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011-4012/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้าง ผู้ขับขี่ และผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการแบ่งความรับผิดเมื่อประมาทร่วมกัน
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และรถคันที่จำเลยที่ 3 ขับได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 3 กับผู้ตายขับรถชนกันโดยประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยทั้งสามกับผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 เจ้าของรถคันที่ผู้ตายขับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเท่ากันแต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องผู้ตายให้ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายด้วยจำเลยทั้งสามก็ควรจะรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงกึ่งหนึ่ง และเนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกชำระได้แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกาก็ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ความรับผิดระหว่างจำเลยทั้งสามกับโจทก์ที่ 2 ภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 3 บุตรของผู้ตายจึงต้องเป็นพับ กันไป