พบผลลัพธ์ทั้งหมด 640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีเนื่องจากตำแหน่งไม่ใช่การเฉพาะตัว
ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ข้อ (1) ระบุว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองยินยอมตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6(จังหวัด พิษณุโลก ) เป็นผู้ชำระบัญชี ซึ่งขณะนั้น ม.ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 ม. จึงเป็นผู้ชำระบัญชีโดยตำแหน่งราชการไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัว เมื่อ ม. ย้ายไปรับราชการที่อื่นและ จ. ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 แทน จ. ก็ย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีในคดีนี้ต่อไปได้ การที่ศาลแต่งตั้ง จ. เป็นผู้ชำระบัญชีคนใหม่แทน ม. ผู้ชำระบัญชีคนเดิม จึงไม่เป็นการผิดวัตถุประสงค์เดิมของโจทก์และจำเลย ทั้งไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาตามยอมของคู่ความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2549/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุก ทำร้ายร่างกาย และลักทรัพย์: การพิจารณาเจตนาและขอบเขตความผิด
จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหาหยเพื่อทวงค่าแรงที่ผู้เสียหายค้างบุตรชายของจำเลยเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุผลสมควรโดยสุจริต แม้จำเลยจะได้ถือมีดไปด้วย แต่ก็เป็นเพียงมีดเหลียนซึ่งโดยทั่วๆไปใช้สำหรับหวดหญ้า และไม่ปรากฏว่าจำเลยตั้งใจจะไปทำร้ายผู้เสียหายตั้งแต่แรก จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุก
จำเลยทวงค่าแรงจากผู้เสียหายไม่ได้ จึงโกรธและใช้มีดเหลียนฟันพยายามทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป มิใช่เป็นการฟันผู้เสียหายเพื่อความสะดวกหรือเพื่อเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป การเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไปเกิดขึ้นหลังจากการทำร้ายร่างกายขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
แม้จำเลยเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไปเพื่อยึดเอาไว้ให้ผู้เสียหายไปจ่ายค่าแรงบุตรชายจำเลยแล้วจำเลยจะคืนให้ก็ถือได้ว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะจำเลยไม่มีอำนาจเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยพลการได้.
จำเลยทวงค่าแรงจากผู้เสียหายไม่ได้ จึงโกรธและใช้มีดเหลียนฟันพยายามทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป มิใช่เป็นการฟันผู้เสียหายเพื่อความสะดวกหรือเพื่อเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป การเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไปเกิดขึ้นหลังจากการทำร้ายร่างกายขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
แม้จำเลยเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไปเพื่อยึดเอาไว้ให้ผู้เสียหายไปจ่ายค่าแรงบุตรชายจำเลยแล้วจำเลยจะคืนให้ก็ถือได้ว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะจำเลยไม่มีอำนาจเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยพลการได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2549/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุก ททำร้ายร่างกาย และลักทรัพย์: ความผิดฐานต่างๆ และเจตนาในการกระทำ
จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อทวงค่าแรงที่ผู้เสียหายค้างบุตรชายของจำเลย เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุผลสมควรโดยสุจริตแม้จำเลยจะได้ถือมีดไปด้วย แต่ก็เป็นเพียงมีดเหลียนซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปใช้สำหรับหวดหญ้า และไม่ปรากฏว่าจำเลยตั้งใจจะไปทำร้ายผู้เสียหายตั้งแต่แรก จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุก จำเลยทวงค่าแรงจากผู้เสียหายไม่ได้จึงโกรธและใช้มีดเหลียนฟันพยายามทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไปมิใช่เป็นการฟันผู้เสียหายเพื่อความสะดวกหรือเพื่อเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป การเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไปเกิดขึ้นหลังจากการทำร้ายร่างกายขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ จำเลยเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไปเพื่อยึดเอาไว้ให้ผู้เสียหายไปจ่ายค่าแรงบุตรชายจำเลยแล้วจำเลยจะคืนให้ ถือได้ว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะจำเลยไม่มีอำนาจเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยพลการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2549/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ และการบุกรุก: ศาลฎีกาพิพากษาจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์
จำเลยใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายเพราะโกรธที่ผู้เสียหายไม่จ่ายค่าแรงบุตรชายจำเลยตามที่จำเลยทวง มิใช่เพื่อความสะดวกหรือเพื่อเอาเครื่องสูบน้ำของผู้เสียหายไป ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการทำร้ายร่างกายขาดตอนแล้ว จำเลยไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่จำเลยไม่มีอำนาจเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยพลการแม้จำเลยยึดเอาไปไว้ให้ผู้เสียหายไปจ่ายค่าแรงบุตรชายจำเลยจึงจะคืนให้ ก็ถือได้ว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่หลังขาดนัดยื่นคำให้การและเหตุผลความล่าช้าที่ศาลรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกกำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น มีความหมายว่าห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม
จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้
จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า: เหตุพฤติการณ์นอกเหนือควบคุมและกรอบเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208
ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก กำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น 2 ประการ กล่าวคือประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดา หรือโดยวิธีอื่นแทนก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ภายใน15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 2 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นมีความหมายว่า ห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่เมื่อพ้น 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม.
จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว ศาลชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณา ใหม่ได้แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ.
จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว ศาลชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณา ใหม่ได้แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า - เหตุสุดวิสัยและการบรรยายเหตุผล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกกำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น2 ประการ กล่าวคือ ประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น มีความหมายว่าห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่นอกระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เหตุสุดวิสัยต้องระบุชัดเจน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก กำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก จะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น มีความหมายว่า ห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับ โดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าวแม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน การเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงที่ดิน และการพิพากษานอกคำฟ้อง
จำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์นำไปจัดสรรขาย โดยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปดำเนินการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อยและขายที่ดินที่แบ่งแยกได้ เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ดินให้จำเลย เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจัดสรรที่ดินขาย โดยโจทก์ลงทุนปรับปรุงที่ดินจำเลยลงทุนเป็นที่ดิน จำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปคืน ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไปแล้ว เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
นิติกรรมอันเป็นโมฆะที่คู่กรณีกลับคืนยังฐานะเดิม จะต้องเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วมีการบอกล้าง มิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่แรก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจัดสรรที่ดินขาย โดยโจทก์ลงทุนปรับปรุงที่ดินจำเลยลงทุนเป็นที่ดิน จำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปคืน ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไปแล้ว เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
นิติกรรมอันเป็นโมฆะที่คู่กรณีกลับคืนยังฐานะเดิม จะต้องเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วมีการบอกล้าง มิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่แรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการคืนเงินค่าที่ดินและค่าใช้จ่ายในการจัดสรร
จำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์นำไปจัดสรรขาย โดยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปดำเนินการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อยและขายที่ดินที่แบ่งแยกได้ เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ดินให้จำเลย เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจัดสรรที่ดินขาย โดยโจทก์ลงทุนปรับปรุงที่ดินจำเลยลงทุนเป็นที่ดิน จำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปคืน ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไปแล้ว เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นิติกรรมอันเป็นโมฆะที่คู่กรณีกลับคืนยังฐานะเดิม จะต้องเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วมีการบอกล้าง มิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่แรก.