พบผลลัพธ์ทั้งหมด 640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการรับฟังพยานหลักฐานประกอบเอกสาร
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยินหรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น ดังนี้ แม้คำเบิกความของ ฉ.และว.เป็นพยานบอกเล่า และแม้ผู้บอกเล่ายังมีตัวอยู่และสามารถนำสืบมาได้ศาลก็ย่อมมีอำนาจรับฟังคำพยานโจทก์ทั้งสองปาก ซึ่งเบิกความประกอบพยานเอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจากความขัดแย้งส่วนตัวและการด่าทอที่ไม่ถึงขั้นข่มเหงร้ายแรง
การที่โจทก์ร่วมค่าจำเลยว่า "คนอย่างมึงแก่แล้วตัณหากลับ แย่งผัวกูหรือ หรือเงี่ยนไม่รู้จักหาย คนอย่างมึงร้อยควย อย่างนี้ต้องเอาช้างเย็ด" ในขณะที่โจทก์ร่วมและจำเลยอยู่ด้วยกันสองต่อสอง และการด่ากันดังกล่าวเกิดจากการที่โจทก์ร่วมเข้าใจว่าจำเลยเป็นชู้กับสามีโจทก์ร่วม ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเป็นเรื่องไม่จริง เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าและลักทรัพย์ ศาลต้องลงโทษตามความผิดที่พยานหลักฐานรับฟังได้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ
จำเลยที่ 3 ฆ่าผู้ตายแล้วจึงได้เอาทรัพย์สินและรถจักรยานยนต์ของกลางไป จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่ง หามีความผิดฐานฆ่าผู้ตายเพื่อจะเอาทรัพย์สินตามมาตรา 289 (7) ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาของศาลว่าได้กระทำความผิดฐานดังกล่าวด้วย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้กระทำความผิดตามข้อหาที่ให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษในข้อหาความผิดที่รับสารภาพหาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่การกระทำเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 289 (7) และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่การกระทำเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 289 (7) และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745-3747/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยซ้ำซ้อน, ความรับผิดของบริษัทประกันภัย, การเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้, และดอกเบี้ยชดใช้
สต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าระหว่างผลิตส่วนสต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นสินค้าที่เก็บในโกดัง เป็นสต๊อกสินค้าต่างรายการกัน จึงมิใช่การเอาประกันภัยซ้ำซ้อน โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดที่ว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น โจทก์แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉล และโจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหาย เป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น นอกจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้เช่นนั้น หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสามไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ธนาคารผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ 3
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ 3 ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4)ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยใหัชัดเจน
ข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดที่ว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น โจทก์แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉล และโจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหาย เป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น นอกจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้เช่นนั้น หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสามไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ธนาคารผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ 3
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ 3 ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4)ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยใหัชัดเจน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ยตามสัญญา
สัญญามีข้อความตกลงเอาทรัพย์สินออกให้เช่าซื้อ โดยตกลงราคาเป็นเงิน 165,312 บาท กำหนดผ่อนชำระรวม 36 งวด งวดละ 4,592 บาทและกำหนดว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดถือว่าสัญญาเลิกกันทันที เจ้าของริบบรรดาเงินค่าเช่าซื้อที่ได้ชำระแล้วทั้งหมดเป็นของเจ้าของโดยผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน และผู้เช่าซื้อยอมส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าของโดยพลัน ใน สภาพเรียบร้อยด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อเอง ยอมให้เจ้าของหรือผู้แทนเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ได้ ถ้าเจ้าของต้องเสียค่าติดตามทรัพย์ ผู้เช่าซื้อต้องชดใช้คืนให้ หรือต้องส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง และเมื่อมีการเลิกสัญญาในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินให้ริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วเป็นของเจ้าของทรัพย์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อการที่สัญญากำหนดให้เจ้าของมีสิทธิโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้กับบุคคลใดก็ได้และที่สัญญามิได้ระบุกำหนดให้ทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเมื่อจำเลยได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ก็ไม่ทำให้สัญญาเช่าซื้อกลายเป็นสัญญาอื่น
ข้อสัญญาที่ระบุว่า "ถ้าเจ้าของขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญานี้ กับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เช่าซื้อจะชดใช้ให้เจ้าของจนครบถ้วน" ถือเป็นข้อสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา และเป็นข้อตกลงยินยอมของคู่สัญญา ย่อมใช้บังคับกันได้ไม่มีกฎหมายห้ามและข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ
ข้อสัญญาที่ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือค้างเงินใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้าง"นั้น ค่าเสียหายที่โจทก์ขายทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อไม่ได้ราคาเท่ากับราคาเช่าซื้อ ไม่ใช่เงินที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระตามความหมายของค้างเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามอัตราที่สัญญาดังกล่าวกำหนด คงเรียกได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224เท่านั้น.
ข้อสัญญาที่ระบุว่า "ถ้าเจ้าของขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญานี้ กับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เช่าซื้อจะชดใช้ให้เจ้าของจนครบถ้วน" ถือเป็นข้อสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา และเป็นข้อตกลงยินยอมของคู่สัญญา ย่อมใช้บังคับกันได้ไม่มีกฎหมายห้ามและข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ
ข้อสัญญาที่ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือค้างเงินใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้าง"นั้น ค่าเสียหายที่โจทก์ขายทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อไม่ได้ราคาเท่ากับราคาเช่าซื้อ ไม่ใช่เงินที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระตามความหมายของค้างเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามอัตราที่สัญญาดังกล่าวกำหนด คงเรียกได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: สิทธิเจ้าของในการเรียกค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา และลักษณะของข้อตกลงเบี้ยปรับ
สัญญาเช่าซื้อที่กำหนดให้เจ้าของมีสิทธิโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้กับบุคคลใด ก็ได้ และที่สัญญามิได้ระบุกำหนดให้ ทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อได้ ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตาม ที่กำหนดไว้ในสัญญาหาทำให้สัญญาเช่าซื้อกลายเป็นสัญญาอย่างอื่นไปไม่ ข้อสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า "ถ้า ผู้ซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ก็ดี กระทำผิดสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ...ถือ ว่าสัญญาเลิกกันทันทีโดย เจ้าของไม่ต้องบอกกล่าว ...ถ้า เจ้าของขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ไปแล้วยังไม่คุ้ม ราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตาม สัญญานี้กับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นผู้เช่าซื้อจะชดใช้ให้เจ้าของจนครบถ้วน" ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา และเป็นข้อตกลงยินยอมของคู่สัญญาย่อมใช้บังคับกันได้ ไม่มีกฎหมายห้าม ดังนี้ เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยตามสัญญา vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สัญญามีข้อความตกลงเอาทรัพย์สินออกให้เช่าซื้อ โดยตกลงราคาเป็นเงิน 165,312 บาท กำหนดผ่อนชำระรวม 36 งวด งวดละ 4,592 บาทและกำหนดว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดถือว่าสัญญาเลิกกันทันที เจ้าของริบบรรดาเงินค่าเช่าซื้อที่ได้ชำระแล้วทั้งหมดเป็นของเจ้าของโดยผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน และผู้เช่าซื้อยอมส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าของโดยพลัน ใน สภาพเรียบร้อยด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อเอง ยอมให้เจ้าของหรือผู้แทนเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ได้ ถ้าเจ้าของต้องเสียค่าติดตามทรัพย์ ผู้เช่าซื้อต้องชดใช้คืนให้ หรือต้องส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง และเมื่อมีการเลิกสัญญาในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินให้ริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วเป็นของเจ้าของทรัพย์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อการที่สัญญากำหนดให้เจ้าของมีสิทธิโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้กับบุคคลใดก็ได้และที่สัญญามิได้ระบุกำหนดให้ทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเมื่อจำเลยได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ก็ไม่ทำให้สัญญาเช่าซื้อกลายเป็นสัญญาอื่น ข้อสัญญาที่ระบุว่า "ถ้าเจ้าของขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญานี้ กับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เช่าซื้อจะชดใช้ให้เจ้าของจนครบถ้วน" ถือเป็นข้อสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา และเป็นข้อตกลงยินยอมของคู่สัญญา ย่อมใช้บังคับกันได้ไม่มีกฎหมายห้ามและข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ข้อสัญญาที่ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือค้างเงินใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้าง"นั้น ค่าเสียหายที่โจทก์ขายทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อไม่ได้ราคาเท่ากับราคาเช่าซื้อ ไม่ใช่เงินที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระตามความหมายของค้างเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามอัตราที่สัญญาดังกล่าวกำหนด คงเรียกได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากละทิ้งร้างและผลกระทบต่อฐานะยากจน ศาลสั่งให้หย่าและให้ค่าเลี้ยงชีพ
การที่โจทก์ป่วยเป็นอัมพาตได้ประมาณ 3 เดือนแล้วจำเลยได้ออกจากบ้านไปโดยมิได้กลับมาอีกเป็นเวลาประมาณ 7 ปี ทั้งมิได้ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรแต่อย่างใดนั้นเป็นการจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินหนึ่งปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(4) โจทก์ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จำเลยรับราชการไม่มีเวลาดูแล รักษาพยาบาลโจทก์ได้ โจทก์จึงนำน้องชายมาอยู่ในบ้านด้วยเพื่อให้เป็นผู้ช่วยเหลือดูแล ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุผลอันจำเป็นและสมควรเป็นอย่างยิ่ง การที่น้องชายโจทก์ทะเลาะกับจำเลยและทำร้ายจำเลยนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องร้ายแรง ทั้งจำเลยเองก็มีอำนาจที่จะบอกให้น้องชายโจทก์ออกไปจากบ้านได้ แต่จำเลยก็มิได้กระทำเช่นนั้น กลับออกไปจากบ้านเสียเอง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าโจทก์ป่วยเป็นอัมพาตช่วยเหลือตนเองมิได้และกำลังต้องการความช่วยเหลือจากจำเลยอยู่ เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยถือโอกาสละทิ้งร้างโจทก์โดยมิได้ตั้งใจจะอยู่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามความสามารถและฐานะของตน จึงถือได้ว่าเหตุแห่งการหย่าดังกล่าวเป็นเพราะความผิดของจำเลยเองแต่เพียงฝ่ายเดียว และเนื่องจากโจทก์มีอาชีพค้าขายของชำแต่หลังจากป่วยเป็นอัมพาตแล้วโจทก์มิได้ทำมาค้าขายอีก ทำให้ขาดรายได้ต้องอาศัยญาติพี่น้องออกค่ารักษาพยาบาลและค่าเลี้ยงดูประมาณเดือนละ 1,000 บาท โจทก์จึงมีฐานะยากจนลงเช่นนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์หลังจากหย่าขาดจากกัน จำเลยเป็นข้าราชการมีรายได้เดือนละ 3,425 บาท ที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 700 บาท จึงเหมาะสมดีแล้ว การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1531 วรรคสองคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีกทั้งตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หย่าโดยความยินยอมจากบันทึกข้อตกลง & สินสมรสจากทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส
การที่โจทก์ จำเลย ประสงค์จะหย่าขาดจากกันจึงไปทำบันทึกในรายงานประจำวัน ณ สถานีตำรวจมีข้อความว่าโจทก์และจำเลยจะทำการหย่าร้างจากการเป็นสามีภริยากันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลังส่วนเรื่องทรัพย์สินของสามีภริยาส่วนตัวจะไปทำความตกลงกันเองโดยโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 นาย ลงลายมือชื่อไว้ด้วย นั้น แม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนายลงลายมือชื่อในฐานะพยาน แต่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวก็กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามหน้าที่และรับรู้ข้อตกลงของโจทก์จำเลย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงนี้ เมื่อข้อความในบันทึกดังกล่าวระบุอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์ จำเลยจะทำการหย่าร้างกันตามกฎหมาย โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึก และมีพยานลงลายมือชื่ออีก 2 คนแล้วบันทึกดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงการหย่าโดยความยินยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1514 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนหย่าได้ ที่ดินและบ้านโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มาหลังจากทำการสมรสกับจำเลยแล้วโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันซื้อมา จึงเป็นสินสมรส ตู้เย็น โทรทัศน์สี และตู้ลำโพง อันเป็นของใช้ภายในบ้านเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส ที่ดินซึ่งจำเลยซื้อมาในระหว่างสมรสและมีชื่อ โจทก์ จำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โดยจำเลยนำเงินที่ได้จากการค้าขายและเงินเดือนไปซื้อ นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส การที่จำเลยนำเงินที่เป็นสินสมรสไปซื้อที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าโดยความยินยอมจากบันทึกข้อตกลงที่มีพยานรับรอง
ตามบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีของโจทก์จำเลยที่ระบุว่า"นายสุรชัยและนางจุฑาทิตจะทำการหย่าร้างจากการเป็นสามีภริยากันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลัง... ส่วนเรื่องทรัพย์สินของสามีภริยาส่วนตัวจะไปทำความตกลงกันเอง..." โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่โจทก์จำเลยจะหย่ากันตามกฎหมายแม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่า เจ้าพนักงานตำรวจสองนายที่ลงชื่อไว้นั้นลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยาน แต่เมื่อผู้ที่ลงลายมือชื่อนั้นเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามหน้าที่และรับรู้ข้อตกลงของโจทก์จำเลย ถือได้ว่าเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงการหย่าโดยความยินยอมแล้ว บันทึกดังกล่าวจึงเป็นการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์จำเลยโดยทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 วรรคสอง.