คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประชา บุญวนิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการไม่ถือเป็นการชำระค่าเสียหายซ้ำซ้อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่างานเพิ่มและค่าปรับให้แก่โจทก์จำนวน 17,328,145.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินดังกล่าวเป็นจำนวน3,718,526.33 บาท พร้อมดอกเบี้ย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดต่อโจทก์เพิ่มขึ้นอีก3,533,741.03 บาท นั้น มิได้เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์อีกต่างหากจากเงินค่าปรับและค่าเสียหายจำนวน 17,328,145.10 บาท จึงไม่เป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันผลงานและผลกระทบต่อการหักกลบลบหนี้: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิหักเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าจ้างที่โจทก์จะจ่ายให้จำเลยที่ 1แต่ละงวดเพื่อเป็นประกันผลงาน แต่โจทก์มิได้หักเงินจำนวนนี้ไว้เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันเงินจำนวนนี้ไว้กับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดใช้ค่าปรับและค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันที่ทำไว้กับโจทก์ เพราะหากจำเลยที่ 2 ไม่เข้าค้ำประกันเงินจำนวนดังกล่าวแล้วโจทก์ก็จะหักเงินจำนวนนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 และโจทก์มีสิทธิที่จะนำเงินดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับค่าปรับและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในคดีค่าเสียหาย: ไม่ถือเป็นการซ้ำซ้อนหากเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่างานเพิ่มและค่าปรับให้แก่โจทก์จำนวน 17,328,145.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินดังกล่าวเป็นจำนวน3,718,526.33 บาท พร้อมดอกเบี้ย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดต่อโจทก์เพิ่มขึ้นอีก3,533,741.03 บาท นั้น มิได้เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์อีกต่างหากจากเงินค่าปรับและค่าเสียหายจำนวน 17,328,145.10 บาท จึงไม่เป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินร่วมจากการอยู่กินฉันสามีภรรยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส การโอนโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่พิพาทมาในระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสนั้นถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง แม้ที่พิพาทจะมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเอาที่พิพาทส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนที่พิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จึงเป็นการไม่สุจริต ไม่ผูกพันส่วนของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาทด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน - ความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคลซึ่งเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดอย่างชัดเจน การอ้างคดีเก่าที่มีผลพิพากษาเหมือนกันไม่ถือเป็นเหตุพิจารณาใหม่
คำขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 จำเลยกล่าวเพียงว่ากรณีอย่างเดียวกันนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาแล้ว และศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดี ถ้าจำเลยมีโอกาสซักค้านพยานโจทก์และนำพยานหลักฐานเข้าสืบแสดงต่อศาล ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยชนะคดี เพราะพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยในคดีนี้กับคดีดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ถือไม่ได้ว่าได้กล่าวคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดชัดแจ้ง จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาและศาลอาจยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชัดเจน มิเช่นนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง คำขอให้พิจารณาใหม่จะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความได้ขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลการที่คำขอพิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งแต่เพียงเหตุที่จำเลยขาดนัด มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินของศาล ดังนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดชัดเจน การอ้างพยานหลักฐานชุดเดิมไม่ถือเป็นเหตุคัดค้าน
คำขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 จำเลยกล่าวเพียงว่ากรณีอย่างเดียวกันนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาแล้ว และศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดี ถ้าจำเลยมีโอกาสซักค้านพยานโจทก์และนำพยานหลักฐานเข้าสืบแสดงต่อศาล ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยชนะคดี เพราะพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยในคดีนี้กับคดีดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ถือไม่ได้ว่าได้กล่าวคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดชัดแจ้ง จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาและศาลอาจยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
of 64