พบผลลัพธ์ทั้งหมด 640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภารจำยอมต้องเริ่มนับอายุความหลังแบ่งแยกที่ดิน การใช้ทางก่อนแบ่งแยกไม่ถือเป็นอายุความ
เดิมที่ดินของโจทก์จำเลยเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของคนเดียวกันเมื่อแบ่งแยกแล้วทางพิพาทอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลย แม้โจทก์จะได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะมาเกิน 10 ปีการที่โจทก์อยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินนั้นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะในระหว่างนั้น ย่อมเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นบริวารและใช้โดยอาศัยอำนาจของเจ้าของเดิมเมื่อที่ดินเป็นของเจ้าของรายเดียวกัน ย่อมไม่มีเจ้าของสามยทรัพย์กับเจ้าของภารยทรัพย์อันจะทำให้เกิดมีภารจำยอมขึ้นได้ ผู้อยู่ในที่ดินจะใช้ทางนานเพียงใด ทางพิพาทก็ไม่ตกอยู่ในภารจำยอม อายุความการได้ภารจำยอมหากจะมีก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่ได้แบ่งแยกที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อบัญชีเดินสะพัดหยุดเดิน ย่อมชอบหักเงินฝากชำระหนี้ได้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้ มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อมีการ ปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้อง ปฏิบัติ ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำเมื่อมีการ หัก ทอน บัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้วนั้น ฉะนั้น เมื่อ ครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไปก็เห็นได้ว่า คู่สัญญา ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและ เรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว แต่ถ้าหากบัญชีเดินสะพัด ไม่ เดิน ต่อไปแสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็น อัน สิ้นสุด ลง ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเกินบัญชี สิ้นสุด ลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็น หลักฐาน แสดง ว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชี ต่อไป อีก แสดง ว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็น อัน สิ้นสุด ลง ตาม กำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช. นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระ หนี้ย่อมเป็นการ ผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลง โดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช. ชำระหนี้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ผลของการสิ้นสุดสัญญาและการหักเงินจากบัญชีประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้วนั้น ฉะนั้นเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไปก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว แต่ถ้าหากบัญชีเดินสะพัดไม่เดินต่อไป แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วงเงินจำนองครอบคลุมดอกเบี้ยหรือไม่? สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด?
วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้น หาได้รวมถึงหนี้ดอกเบี้ยด้วยไม่ ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับผู้ร้องไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องได้ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งไม่ปรากฏรายการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเดิมอีกต่อไป
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับผู้ร้องไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องได้ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งไม่ปรากฏรายการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเดิมอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตวงเงินจำนอง, ดอกเบี้ยทบต้น, และการสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้นหาได้รวมถึงหนี้ดอกเบี้ยด้วยไม่ ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับผู้ร้องไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องได้ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งไม่ปรากฏรายการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเดิมอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ: ความเห็นต่างและความถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่
การที่ผู้คัดค้านไม่เห็นพ้องด้วยกับการแต่งตั้งกรรมการใหม่8 คน ของมูลนิธินั้น มิได้แสดงว่าความเห็นของผู้คัดค้านจะถูกต้องเสมอไป การแต่งตั้งกรรมการในกรณีเช่นนี้ย่อมจะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนพอใจได้ยาก การขัดแย้งกันในด้านความเห็นย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา การที่กรรมการใหม่ปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงกับผู้คัดค้านก็มิได้แสดงว่าผู้คัดค้านเป็นฝ่ายที่ปฏิบัติศาสนกิจถูกต้องกว่ากรรมการใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความและการรุกล้ำที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินและผู้รุกล้ำ
การที่ ส. และจำเลยที่ 2 มีข้อตกลงกับบริษัท ท. ว่าบริษัทท. ยอมให้อาคารเลขที่ 390/8 และ 390/9 ชั้นที่ 3 และ 4รุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 40581 ของบริษัท ท. คงเป็นอยู่ตามเดิม โดย ส. และจำเลยที่ 2 ต้องยอมให้บริษัท ท. ติดตั้งป้ายโฆษณาที่ด้านหน้าของอาคารดังกล่าว ชั้น 3 และ 4 ในส่วนที่รุกล้ำเป็นการแลกเปลี่ยนนั้น มิใช่เป็นการที่เจ้าของทรัพย์ยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือรับประโยชน์ในตัวทรัพย์ หากแต่เป็นเพียงการยอมให้รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์เท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นการชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดตลอดจนมิได้มีค่าเช่าอีกด้วย กรณีไม่เข้าลักษณะเช่าทรัพย์
กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่อสังหาริมทรัพย์แปลงหนึ่งต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้อง ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ข้อตกลงนี้จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิ เมื่อส. และบริษัท ท. มิได้จดทะเบียนหนังสือข้อตกลงดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวนั้นจึงไม่โอนมายังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอน
ผู้ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมและไม่ว่าผู้รับโอนภารยทรัพย์จะรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตามก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมดังกล่าวได้
กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่อสังหาริมทรัพย์แปลงหนึ่งต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้อง ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ข้อตกลงนี้จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิ เมื่อส. และบริษัท ท. มิได้จดทะเบียนหนังสือข้อตกลงดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวนั้นจึงไม่โอนมายังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอน
ผู้ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมและไม่ว่าผู้รับโอนภารยทรัพย์จะรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตามก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความและการรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเมื่อมีการซื้อขายทรัพย์สิน
การที่ ส.และจำเลยที่2มีข้อตกลงกับบริษัทท. ว่าบริษัทท. ยอมให้อาคารเลขที่ 390/8 และ 390/9 ชั้นที่ 3 และ 4รุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 40581 ของบริษัท ท. คงเป็นอยู่ตามเดิมโดยส.และจำเลยที่2ต้องยอมให้บริษัทท. ติดตั้งป้ายโฆษณาที่ด้านหน้าของอาคารดังกล่าว ชั้น 3 และ 4 ในส่วนที่รุกล้ำเป็นการแลกเปลี่ยนนั้น มิใช่เป็นการที่เจ้าของทรัพย์ยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือรับประโยชน์ในตัวทรัพย์ หากแต่เป็นเพียงการยอมให้รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์เท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นการชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดตลอดจนมิได้มีค่าเช่าอีกด้วย กรณีไม่เข้าลักษณะเช่าทรัพย์ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่อสังหาริมทรัพย์แปลงหนึ่งต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ข้อตกลงนี้จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิ เมื่อส.และบริษัทท. มิได้จดทะเบียนหนังสือข้อตกลงดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวนั้นจึงไม่โอนมายังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอน ผู้ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมและไม่ว่าผู้รับโอนภารยทรัพย์จะรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตามก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และการเรียกร้องค่าเสียหาย
ก. กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมาประกอบกิจการรับขนส่งด้วยกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของ ก. ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างของ ก. กับจำเลยที่ 2 ร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินค่าซ่อมรถที่เอาประกันภัยไปแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานว่าได้จ่ายไปในวันใดจึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโอนสิทธิจากผู้ไม่เป็นเจ้าของ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ และสิทธิเรียกร้องคืน
แม้จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ขายและเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม เมื่อปรากฏว่าผู้ขายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เป็นแต่เพียงผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ในที่พิพาท จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้โอน จำเลยคงมีสิทธิเท่าที่ผู้ขายมีอยู่ จึงเท่ากับอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์เช่นกัน ดังนั้น จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง เว้นแต่จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
จำเลยเพิ่งโต้แย้งสิทธิโจทก์ซึ่งถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
จำเลยเพิ่งโต้แย้งสิทธิโจทก์ซึ่งถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375