คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เดชา สุวรรณโณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงกฎหมายเงินทุนโดยใช้วิธีการกู้ยืมเงินผ่านตัวกลาง ทำให้ธุรกรรมเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนต้องการให้ผู้คัดค้านที่ 3ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน กู้ยืมเงิน แต่ไม่สามารถทำได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 35 จำเลยจึงให้ผู้คัดค้านที่ 1 กู้ยืมเงินเพื่อนไปให้ผู้คัดค้านที่ 3กู้ยืมเงินนั้นต่อด้วยวิธีให้ผู้คัดค้านที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลยที่ 1 โดยผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับอาวัล และผู้คัดค้านที่ 3 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้รับอาวัล ต่อมาก่อนผู้คัดค้านที่ 3 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ได้มีการหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินกันระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1และผู้คัดค้านทั้งสามย่อมเป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 นิติกรรมการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีผลบังคับโดยศาลไม่จำต้องเพิกถอน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะเรียกเงินกู้คืนจากผู้คัดค้านที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรเกิดจากมารดาต่างด้าว: การตีความประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และอำนาจหน้าที่นายอำเภอ
หลังจากจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารแล้วเศรษฐกิจของบ้านเมืองเปลี่ยนไป วัสดุก่อสร้างขึ้นราคา ทางราชการโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงคิดค่าวัสดุก่อสร้างที่ราคาเพิ่มขึ้นชดเชยให้แก่ผู้ก่อสร้างที่รับจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ของทางราชการ สัญญาชดเชยค่าก่อสร้างให้ผู้รับจ้างระบุให้ยึดถือ สัญญาการก่อสร้างที่ได้ทำไว้ต่อกันเป็นสัญญาเดิมและเป็นหลักที่จะปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไป เงินชดเชยค่าก่อสร้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาก่อสร้างเดิม การรับเหมาก่อสร้างเป็นลักษณะของการรับจ้างทำของชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 โจทก์เป็นพ่อค้ารับจ้างทำของเรียกร้องเอาค่าทำของจึงต้องเรียกร้องเอาภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบของ กรณีของโจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2518 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2527 เกิน 2 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าเช็คในฐานะผู้รับอาวัล: เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ สิทธิไล่เบี้ย 10 ปี
เจ้าหนี้สลักหลังเช็คพิพาทเป็นอาวัลผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารตามเช็คพิพาทปฏิเสธการจ่ายเงิน เจ้าหนี้ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรง เจ้าหนี้ย่อมได้สิทธิในอันที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยบุคคลซึ่งตนได้ประกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 940 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ให้สินเชื่อแม้ลูกหนี้มีหนี้เดิม เหตุผลหลักทรัพย์มีมูลค่าเพียงพอ ไม่ถือว่ารู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลูกหนี้ชำระเงินตามฟ้องให้เจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระและเจ้าหนี้มิได้ดำเนินการบังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ กลับให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีกแต่เมื่อปรากฎว่าหนี้ดังกล่าวมีที่ดินซึ่งมีมูลค่ามากกว่าจำนวนหนี้จำนองเป็นประกัน และไม่ปรากฎว่าเจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ มากมายไม่มีทางชำระหนี้ ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่า หนี้รายดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ทำขึ้นเมื่อได้รู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำหนี้ไปขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม - สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชี - ดอกเบี้ยเพิ่ม - สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 โดยถือเอาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 13777 ของจำเลยที่มีไว้กับโจทก์เพื่อเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2526 จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,256,239.21 บาท จำเลยได้จำนองที่ดินและเครื่องจักรเป็นประดับหนี้ดังกล่าว หนี้ถึงกำหนดแล้วแต่จำเลยยังไม่ชำระให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้หากไม่ชำระให้ครบ ให้ยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินยังไม่ชำระหนี้ก็ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์จนครบ คำฟ้องดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำของบีงคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้าหาครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก และวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเพิ่มดอกเบี้ยย้อนหลังในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ย่อมใช้บังคับได้ หากเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาโดยไม่ขัดกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาตกลงกับโจทก์ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 12.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 15 ต่อปี และร้อยละ18 ต่อปี แม้เป็นการเพิ่มดอกเบี้ยย้อนหลัง แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างธนาคารโจทก์กับจำเลยอันเป็นคู่สัญญา มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก ทั้งวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีตามสัญญาประกัน: พนักงานอัยการต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไร จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับ คือจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลภายใน 10 ปีเมื่อพนักงานอัยการมาร้องขอให้ศาลบังคับคดีเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไป ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีจากสัญญาประกัน: พนักงานอัยการต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไร จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับ คือจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลภายใน 10 ปี เมื่อพนักงานอัยการมาร้องขอให้ศาลบังคับคดีเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไป
ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าและลักทรัพย์ ศาลต้องลงโทษตามความผิดที่พยานหลักฐานรับฟังได้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ
จำเลยที่ 3 ฆ่าผู้ตายแล้วจึงได้เอาทรัพย์สินและรถจักรยานยนต์ของกลางไป จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่ง หามีความผิดฐานฆ่าผู้ตายเพื่อจะเอาทรัพย์สินตามมาตรา 289 (7) ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาของศาลว่าได้กระทำความผิดฐานดังกล่าวด้วย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้กระทำความผิดตามข้อหาที่ให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษในข้อหาความผิดที่รับสารภาพหาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่การกระทำเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 289 (7) และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: ผลของการไม่บังคับจำนองตามคำพิพากษาเดิม
ในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยกับพวกให้ร่วมกันรับผิดใช้เงินแก่ผู้ร้อง มิฉะนั้นให้นำทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ผู้ร้องนั้น ศาลเพียงแต่พิพากษาให้จำเลยร่วมกับพวกชำระหนี้แก่ผู้ร้องเท่านั้น มิได้กล่าวถึงการบังคับจำนองด้วย จึงต้องถือว่าคำฟ้องที่ผู้ร้องขอให้บังคับจำนอง ศาลนั้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อผู้ร้องไม่อุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษานั้นจึงผูกพันผู้ร้องมิให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองรายนี้ต่อไป ดังนั้นผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สินในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทางจำนองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 อีกไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
of 72