คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เดชา สุวรรณโณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองรถยนต์โดยไม่สุจริตของผู้ซื้อรายแรก ทำให้สิทธิในรถยนต์ของผู้ซื้อรายหลังมีน้ำหนักกว่า
โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยได้ขายรถยนต์พิพาทให้ผู้ร้องสอดแต่กลับรับรถยนต์นั้นไว้ก่อน กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้การครอบครองรถยนต์ไว้โดยสุจริต การที่โจทก์นิ่งเสียไม่แจ้งเรื่องที่โจทก์ได้ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยให้ผู้ร้องสอดทราบในขณะที่ผู้ร้องสอดและจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทกันยังไม่เสร็จ ย่อมทำให้ผู้ร้องสอดหลงผิดเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้ผู้ร้องสอดได้ ดังนี้ โจทก์จะมาอ้างในภายหลังว่ารถยนต์ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะโอนให้ผู้ร้องสอดอีก เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เงินบำรุงการศึกษาต้องเป็นไปตามระเบียบ หากนำไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ถือเป็นละเมิดทำให้เกิดความเสียหาย
เงินบำรุงการศึกษามีระเบียบให้ใช้เฉพาะเพื่อกิจการของสถานศึกษาเท่านั้น น้ำดื่มสำหรับครูไม่ใช่กิจการของสถานศึกษา และโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดหา จำเลยจึงไม่มีอำนาจนำเงินบำรุงการศึกษามาจ่ายได้
จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เงินบำรุงการศึกษาต้องเป็นไปตามระเบียบ การจ่ายเงินโดยไม่มีอำนาจทำให้เกิดความเสียหาย
เงินบำรุงการศึกษามีระเบียบให้ใช้เฉพาะเพื่อกิจการของสถานศึกษาเท่านั้น น้ำดื่มสำหรับครูไม่ใช่กิจการของสถานศึกษาและโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดหา จำเลยจึงไม่มีอำนาจนำเงินบำรุงการศึกษามาจ่ายได้ จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียจำกัดเฉพาะทายาทและผู้ร้องขอเท่านั้น
คดีร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ดังนี้การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าทรัพย์ตามคำร้องเป็นของ จ. ตกทอดแก่ผู้คัดค้านจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นชอบที่ผู้คัดค้านจะไปดำเนินคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย แต่ไม่มีทรัพย์ใดที่โจทก์จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จำเลยจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
นอกจากจะเป็นหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยังมีหนี้สินอื่นอีก โดยที่จำเลยมีเพียงเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ส่วนทรัพย์สินอื่นไม่มีพอที่จะชำระหนี้ จึงสมควรให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนลดรับ-จ่ายจากการประกันภัยต่อ ไม่ใช่เบี้ยประกันภัยที่จะนำไปคำนวณเงินสำรองตามกฎหมายภาษีอากร
เงินส่วนลดรับและส่วนลดจ่ายเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาหรือจ่ายไปในกรณีที่โจทก์รับประกันภัยต่อหรือเอาประกันภัยต่อ ถ้าโจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้วได้ไปเอาประกันภัยต่อกับบริษัทอื่นอีก เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยมาแล้วก็ต้องจ่ายให้บริษัทที่รับประกันภัยต่อ บริษัทที่รับประกันภัยต่อก็จะจ่ายเงินส่วนหนึ่งตอบแทนให้โจทก์ เรียกว่าส่วนลดรับ ในกรณีกลับกันเมื่อบริษัทอื่นรับประกันภัยไว้แล้ว ได้เอามาประกันภัยต่อกับโจทก์ เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยแล้ว โจทก์ก็จะจ่ายเงินตอบแทนให้แก่บริษัทนั้น ซึ่งเป็นเงินส่วนลดจ่าย ทั้งสองกรณีเห็นได้ชัดว่าเป็นเงินตอบแทนในเมื่อมีประกันภัยต่อ มิใช่เบี้ยประกันภัยที่จะนำไปคำนวณลดหรือเพิ่มจากเบี้ยประกันภัยของโจทก์ในการกำหนดเงินสำรอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1) (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนลดรับ-จ่ายในการประกันภัยต่อ ไม่ถือเป็นเบี้ยประกันภัยที่จะนำไปคำนวณเงินสำรองภาษี
เงินส่วนลดรับและส่วนลดจ่ายเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาหรือจ่ายไปในกรณีที่โจทก์รับประกันภัยต่อหรือเอาประกันภัยต่อ ถ้าโจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้ว ได้ไปเอาประกันภัยต่อบริษัทอื่นอีก เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยมาแล้วก็ต้องจ่ายให้บริษัทที่รับประกันภัยต่อ บริษัทที่รับประกันภัยต่อก็จะจ่ายเงินส่วนหนึ่งตอบแทนให้โจทก์ เรียกว่าส่วนลดรับ ในกรณีกลับกันเมื่อบริษัทอื่นรับประกันภัยไว้แล้ว ได้เอาประกันภัยต่อกับโจทก์เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยแล้วโจทก์ก็จะจ่ายเงินตอบแทนให้แก่บริษัทนั้น ซึ่งเป็นเงินส่วนลดจ่าย ทั้งสองกรณีเห็นได้ชัดว่าเป็นเงินตอบแทนในเมื่อมีประกันภัยต่อ มิใช่เบี้ยประกันภัยที่จะนำไปคำนวณลดหรือเพิ่มจากเบี้ยประกันภัยของโจทก์ในการกำหนดเงินสำรอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1)(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาชนิด เวลาที่นำเข้า และปัจจัยตลาด หากโจทก์พิสูจน์ราคาอันแท้จริงไม่ได้ ให้สันนิษฐานตามราคาที่สำแดง
โจทก์ฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลยให้การว่าราคาสินค้าในใบขนสินค้าสำแดงตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง ดังนี้ เป็นการปฏิเสธข้อกล่าวอ้างในคำฟ้องของโจทก์ ภาระการพิสูจน์ตามข้ออ้างตกเป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้าง
การที่จะถือว่าเป็น "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" หรือ "ราคา" ตามความหมายของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 นั้น จะต้องพิจารณาถึงประเภท ชนิด เวลาที่นำเข้าของสินค้าเป็นสำคัญ ส่วนการจะเรียกเก็บภาษีอากรในพิกัดเดียวกันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ภาวะความต้องการของผู้บริโภค ตามเวลาและโอกาสที่แตกต่างกัน
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนที่ว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และจำเลยไม่สุจริตอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าราคาสินค้าที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าสำแดงตามราคาท้องตลาดที่แท้จริงตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระงับด้วยการส่งมอบรถยนต์ ไม่เป็นหนี้ที่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันว่า จำเลยกับพวกร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์ 290,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที โดยยอมส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้โจทก์ในสภาพใช้การได้ ถ้าจำเลยชำระหนี้ครบถ้วนก็ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าวเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยผิดนัดและส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์แล้ว จึงไม่มีหนี้ที่จะบังคับคดีต่อไป โจทก์จะถือเอาจำนวนเงินในสัญญายอมจำนวน 240,000 บาท มาอ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวยังไม่ได้ เพราะหากพิพาทกันในชั้นบังคับคดีต่อไปก็ยังไม่แน่นอนว่าจำเลยจะอ้างชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์อาจต้องยอมรับรถคืนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องเทียบเคียงราคาสินค้าคุณภาพเดียวกัน การใช้ราคาสินค้าคุณภาพสูงกว่าเป็นฐานประเมินไม่ชอบ
การพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด ต้องนำราคาขายส่งสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันมาเทียบเคียง การหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ จึงต้องเทียบเคียงกับราคาของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน การที่กรมศุลกากรนำราคาผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าที่นำเข้าแล้วลดราคาลงมาเทียบเคียง ย่อมไม่ใช่ราคาขายส่งของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่นำเข้าดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรโดยวิธีการดังกล่าวจึงไม่ชอบ
of 72