คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เดชา สุวรรณโณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องเทียบเคียงราคาสินค้าคุณภาพเดียวกัน การใช้ราคาสินค้าคุณภาพสูงกว่าเป็นฐานประเมินไม่ชอบ
การพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด ต้องนำราคาขายส่งสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันมาเทียบเคียง การหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ จึงต้องเทียบเคียงกับราคาของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน การที่กรมศุลกากรนำราคาผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าที่นำเข้าแล้วลดราคาลงมาเทียบเคียง ย่อมไม่ใช่ราคาขายส่งของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่นำเข้าดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรโดยวิธีการดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาขายส่งสินค้าชนิดเดียวกัน อะไหล่เทียมกับอะไหล่แท้ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้
การพิจารณาถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด จะต้องนำราคาขายส่งเงินสดของสินค้าอย่างเดียวกันมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบการหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมที่อาจใช้ทดแทนอะไหล่แท้ได้ แต่คุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร จึงต้องนำราคาขายส่งเงินสดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมอย่างเดียวกันที่มีผู้อื่นนำเข้ามาเป็นเครื่องเปรียบเทียบ การที่จำเลยหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการนำเอาราคาขายส่งของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้มาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบแทนโดยลดราคาลงร้อยละ 20 ตามระเบียบปฏิบัติของจำเลยในการประเมินราคาอะไหล่รถยนต์ จึงไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของคำว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์นำเข้า ต้องเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทและชนิดเดียวกัน มิใช่สินค้าที่เป็นอะไหล่แท้
โจทก์นำเข้าบูช ยี่ห้อโอริฮาชิ ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์ที่เพียงแต่อาจใช้ทดแทนอะไหล่แท้ได้ แต่คุณภาพต่างกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทและชนิดเดียวกับบูช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้ การที่จำเลยหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการนำเอาราคาของบูช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้มาเป็นหลักในการคำนวณว่า ถ้า อะไหล่แท้มีราคาเท่าใดเมื่อลดให้ร้อยละ 20 ราคาที่เหลือถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของบูช ที่โจทก์นำเข้า ย่อมไม่ชอบด้วยเหตุผล และยังไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของคำว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องเทียบกับสินค้าชนิดเดียวกัน ห้ามใช้ราคาอะไหล่แท้เทียบกับอะไหล่เทียม
การพิจารณาถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด จะต้องนำราคาขายส่งเงินสดของสินค้าอย่างเดียวกันมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบการหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมที่อาจใช้ทดแทนอะไหล่แท้ได้ แต่คุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร จึงต้องนำราคาขายส่งเงินสดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมอย่างเดียวกันที่มีผู้อื่นนำเข้ามาเป็นเครื่องเปรียบเทียบ การที่จำเลยหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการนำเอาราคาขายส่งของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้มาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบแทนโดยลดราคาลงร้อยละ 20 ตามระเบียบปฏิบัติของจำเลยในการประเมินราคาอะไหล่รถยนต์ จึงไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของคำว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมเงินแก่ลูกหนี้ที่มีหนี้สินจากการซื้อกิจการ ไม่ถือว่าเจ้าหนี้จงใจให้ก่อหนี้เกินตัว
การที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินในวันเดียวกับที่ลูกหนี้ไปค้ำประกันเงินกู้ของบริษัท โดยการกู้ยืมเงินทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้ได้กิจการของบริษัทนั้นมา เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีหนี้สินอื่นใดมาก่อน จึงมิใช่กรณีเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นโดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ม.218 วรรคแรก ปัญหาข้อเท็จจริง-การแก้ไขโทษเล็กน้อย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264265 ให้จำคุก 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำคุก 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ บทมาตราแห่งความผิด เพียงแต่ ปรับบทกฎหมายที่ลงโทษให้ถูกต้อง และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า คำพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงดุลพินิจศาลในข้อเท็จจริง และการขอรอการลงโทษในความผิดที่มีโทษจำคุกเกินห้าปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 265 ให้จำคุก 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำคุก 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ บทมาตราแห่งความผิด เพียงแต่ ปรับบทกฎหมายที่ลงโทษให้ถูกต้อง และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า คำพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3253/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักยึดสินค้าและการประเมินภาษีอากรใหม่ของศุลกากร ไม่เป็นการละเมิด
สินค้าที่โจทก์นำเข้าบางส่วนไม่ตรงกับชนิดและราคาที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าและแบบรายการการค้า จำเลยได้ประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่และแจ้งให้โจทก์ทราบว่าอากรขาดไป และจำเลยเห็นว่ากรณีของโจทก์เป็นความผิดตามมาตรา 99,27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 สมควรทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากรโดยเปรียบเทียบปรับและให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน ซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เมื่อโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วย จำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งหมดไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อว่าจำเลยกลั่นแกล้ง อันเป็นการจงใจให้โจทก์เสียหาย แต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายให้ไว้ จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธสัญญากู้และการแปลงหนี้ รวมดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นต้นเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยสัญญากู้เป็นโมฆะ
จำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ โจทก์จำเลยจึงตกลงแปลงหนี้ตามสัญญากู้นั้น ซึ่งรวมดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้นมาเป็นต้นเงินกู้ด้วย ดังนี้ ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้น จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113มาตรา 654 และมาตรา 655 จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 5,080 บาท แต่หนี้ที่จำเลยชำระเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่คิดโดยวิธีทบต้น เพราะหลังจากชำระเงินจำนวนนั้นให้โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าต้นเงินกู้ได้ลดลงแต่ประการใดดังนั้น จำนวนเงินที่จำเลยชำระจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามอำเภอใจจะนำเงินจำนวนนั้นมาหักต้นเงินกู้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ไม่ได้ทั้งจะนำมาหักหนี้ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดก็ไม่ได้ด้วย เพราะจำเลยมิได้ชำระดอกเบี้ยจำนวนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนและหลังล้มละลาย: ความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ล้มละลาย และผลของการจำนองต่อเนื่อง
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะจดทะเบียนจำนองทรัพย์ พิพาทซึ่ง เดิมเป็นของลูกหนี้ไว้กับผู้คัดค้านที่ 3 หลังลูกหนี้ถูก ฟ้องขอให้ล้มละลาย แต่ เมื่อเป็นการจดทะเบียนจำนองเพราะผู้คัดค้านที่ 2รับโอนทรัพย์พิพาทมาจากผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับเป็นลูกหนี้จำนองแทนผู้คัดค้านที่ 1 เท่ากับการจดทะเบียนจำนองดังกล่าวมีผลสืบเนื่องมาจากภารจำนองเดิม ระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3ซึ่ง ทำขึ้นก่อนลูกหนี้ถูก ฟ้องขอให้ล้มละลาย ถือ ไม่ได้ว่าการที่ผู้คัดค้านที่ 2 จดทะเบียนจำนองดังกล่าว เป็นการกระทำภายหลังมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3 จึงได้ รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116.
of 72