คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เดชา สุวรรณโณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคุ้มครองชั่วคราว แม้มีทางอื่นใช้ได้ หากจำเลยปิดกั้นสิทธิของโจทก์
การฟ้องคดีต่อศาลซึ่งมิใช่เป็นคดีมโนสาเร่ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางพิพาท การที่โจทก์สามารถจะใช้เส้นทางอื่นออกไปสู่ทางสาธารณะ จึงหาตัดสิทธิของโจทก์ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาไม่ ดังนี้เมื่อคดีปรากฏว่าจำเลยปิดทางพิพาทตลอดมา จึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองโดยให้จำเลยเปิดทางพิพาทในระหว่างพิจารณาตามที่โจทก์ขอมาบังคับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีทายาท: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีจากผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ยื่นรายการเดิมถึงแก่ความตาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่ง เป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึง แก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่ง เป็นภรรยาของ อ. ในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ.แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้อง เสียภาษีเงินได้ของ อ.แต่ เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดย ไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้ วิธีคำนวณตาม ที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตาม นั้น ดังนี้โจทก์จะอุทธรณ์ต่อ ศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีหลังผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบไต่สวนทายาท/ผู้จัดการมรดกได้
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้มีหมายเรียก เพื่อทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. สามีโจทก์ประจำปี พ.ศ. 2519 ถึง 2523 ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2524สามีโจทก์ถึงแก่กรรมเสียก่อนทำการไต่สวนเสร็จ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ.ไปพบและทำการไต่สวน เมื่อผู้ถึงแก่ความตายต้องเสียภาษีผู้จัดการมรดกหรือทายาทเป็นผู้มีหน้าที่จัดการแทนผู้ตายตามป.รัษฎากร มาตรา 62 การที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์แทน อ. ผู้ตาย ดังนี้ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ลงชื่อในเอกสารโดยยอมสละประเด็นข้ออื่นที่ยกขึ้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพราะโจทก์เห็นว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ลดภาษีให้โจทก์ถึง 400,000บาทเศษ หาใช่โจทก์ลงชื่อเพราะถูกหลอกลวง อันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการประเมินได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีทายาท/ผู้จัดการมรดกได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ อ. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ
ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของ อ. แต่เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดยไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้วิธีคำนวณตามที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตามนั้น ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ต่อศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต อำนาจการดำเนินคดีเป็นของผู้ชำระบัญชี
จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ ถึงแก่ความตายไปก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย ห้างฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่สองคนคือจำเลยที่ 2 และ ว. จึงต้อง เลิกกัน เนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนย่อมไม่มีอยู่ต่อไปอีก คงมีอยู่แต่ เฉพาะ ว. ผู้เดียวหากจะดำเนิน กิจการของห้างฯ จำเลยที่ 1 ต่อไปก็เท่ากับดำเนินการในกิจการส่วนตัวของ ว. เท่านั้น เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1เลิกกันก็ต้อง จัดให้มีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 ถึง1273 ว. จึงไม่มีอำนาจตั้ง ตนเองเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และแต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1259(1) และกรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มาก่อน ว. จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1เพราะเหตุฉุกเฉิน ได้ ดังนี้ ศาลชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่ ว. แต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1เสียทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วน, อำนาจผู้ชำระบัญชี, การแต่งทนาย, และการดำเนินคดีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่งทนายสู้คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้งทนายสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้องเพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉินตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้องเป็นตัวแทนกันมาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดีแทน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรมห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่ง ทนายสู้ คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้ง ทนายสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้อง เพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้อง เป็นตัวแทนกันมาก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: สิทธิในการหักค่าใช้จ่ายและการถือว่าสินค้าขายหมด
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาได้ขายหมดไปแต่ ละปี ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอดเงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาได้ขายหมดไปแต่ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควร โดยนำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมจึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ตกลงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80 ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อผู้เสียภาษีไม่แสดงบัญชีสินค้าคงเหลือ เจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิคำนวณภาษีตามความจำเป็นและสมควร
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือ ว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปี ดัง นั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอด เงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตาม ความจำเป็นและสมควร โดย นำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ตกลง ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย ให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสองแห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11)พ.ศ. 2502 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุ “เปลี่ยนมือไม่ได้” ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ และเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนลงด้านหน้าว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" จะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 985, 917, 306 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนจึงต้อง ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏเพียงว่าผู้โอนโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ด้วยวิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเจ้าหนี้จึงยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วผู้โอนจะได้ทำคำบอกกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึงการสลักหลัง และส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม ก็หาทำให้เจ้าหนี้กลับเป็นผู้ทรงโดยชอบไม่ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ และไม่อาจนำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้
of 72