คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เดชา สุวรรณโณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สินล้นพ้นตัว: ศาลยืนตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้จำเลยอ้างถูกหลอกลวง
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่นำสืบว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะความโง่ เขลาเบาปัญญาถูกนาย ว. หลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยต่างกับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้
การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหนี้สินและล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้และการมีทรัพย์สินไม่เพียงพอชำระหนี้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่นำสืบว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาถูกนาย ว. หลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยต่างกับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า: การประเมินจากชื่อในโฉนดและหลักฐานการรับเงิน
โจทก์ที่ 2 ร่วมกับ ป. จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซื้อ ขายและแบ่งแยกขายที่ดิน แต่ห้างหุ้นส่วนมิได้ดำเนินการทำเองทั้งหมดได้ ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีชื่อ ในโฉนด ที่ดินและขายให้ลูกค้าเมื่อโจทก์ที่ 2 มีชื่อ ในโฉนด ถือ กรรมสิทธิ์อยู่ย่อมก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ทั้งตาม หลักฐานการซื้อ ขายมีชื่อ โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินย่อมต้อง ถือ ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินได้พึงประเมินนั้นไว้ ดังนี้มาตรา 61 แห่ง ป.รัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากผู้มีชื่อ ในหนังสือสำคัญนั้นก็ได้แต่ ถ้า มีการโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลอื่นบุคคลนั้นมีสิทธิหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่ง โอนให้แก่บุคคลอื่นตาม ส่วน การประกอบธุรกิจซื้อ ขายและแบ่งแยกขายที่ดิน เป็นการหาผลประโยชน์อันมีมูลค่าจากที่ดินที่จัดสรรและปลูกบ้านขายเป็นจำนวนมาก ดังนี้เป็นการประกอบการค้าอันต้อง เสียภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทเงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง: เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6)
โจทก์ได้ รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลป แผนปัจจุบันในสาขาเวชกรรมชั้นหนึ่งเป็นลูกจ้างโรงพยาบาล ล. ได้ รับค่าจ้างเป็นรายเดือน โดย นายจ้างมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิประกอบอาชีพอิสระส่วนตัวได้ โดย เสรีนอกเวลาทำงานและมีข้อตกลงพิเศษให้โจทก์ใช้สถานที่โรงพยาบาลประกอบวิชาชีพอิสระเป็นคลีนิคส่วนตัวนอกเวลาทำงานได้ ด้วย โดย แบ่งรายได้เข้าโรงพยาบาลตาม อัตราที่กำหนดดังนี้ เงินที่โจทก์ได้ รับจากคนป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาล ล.นอกเวลาทำการปกติของโจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากรมาตรา 40(1) แต่ เป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(6).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลางานเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิกพิเศษ นอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยเมื่อได้เงินมาก็แบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยของโจทก์เองที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาทำงานของแพทย์เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิกพิเศษนอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยแบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง จัดเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิก พิเศษ นอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยเมื่อได้เงินมาก็แบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยของโจทก์เองที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้ค้าประเวณี ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นเพียงพอ
ความผิดฐาน ดำรงชีพ จากรายได้ของหญิงซึ่ง ค้าประเวณีตามป.อ. มาตรา 286 นั้น จะต้อง ได้ความว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ หรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพจึงจะลงโทษจำเลยได้ เมื่อโจทก์นำสืบได้ แต่ เพียงว่าจำเลยได้รับเงิน ค่าบริการจากหญิงซึ่ง ค้าประเวณีเท่านั้น โดย ไม่ นำสืบให้เห็นว่า จำเลยไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ หรือไม่มีปัจจัย อันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ฐาน ดำรงชีพ อยู่ จากรายได้ของหญิงซึ่ง ค้าประเวณี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกหลายคน กรณีข้อพิพาทเรื่องยักยอกทรัพย์มรดก
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่าง ขอให้ตั้ง ตน เป็นผู้จัดการมรดกข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินบางรายการที่ทั้งสองฝ่ายกล่าวหาว่าแต่ ละฝ่ายได้ ยักยอกเอาทรัพย์สินของกองมรดกไปนั้น ยังฟังไม่ได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำผิด ดังนี้ เพื่อให้ผู้ร้องทั้งสองกับผู้คัดค้าน และทายาทอื่นทุกฝ่ายได้ รับประโยชน์จากกองมรดกด้วย ความเป็นธรรม มากที่สุด จึงสมควรให้ผู้ร้องทั้งสองกับผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. และการใช้รถไม่ตรงตามประเภท
พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 4 ไม่ใช้ บังคับแก่ การขนส่งโดย รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัมรถยนต์บรรทุกของจำเลยมีน้ำหนัก 1,050 กิโลกรัม จึงไม่เป็นรถที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ ดังนี้จำเลยนำรถคันนั้นมาใช้ รับจ้างบรรทุกขนส่งคนโดยสาร ก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 ประกอบด้วย มาตรา 126.
of 72