พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220: ศาลมีดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน และการโต้แย้งข้อเท็จจริง
การฟังหรือไม่ฟังพยานหลักฐานใด ในคดีอยู่ในดุลพินิจ ของศาลการที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ไม่พิจารณาพยานหลักฐานบางประการของโจทก์เป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นฎีกาโต้เถียง ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นถูกจำกัดเฉพาะที่ดินเดิมที่แบ่งแยกมา แม้ที่ดินเดิมเคยเป็นแปลงเดียวกัน
เจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมสามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด จะแปลโดยอนุโลมหาได้ไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 จะเคยเป็นที่แปลงเดียวกับที่ดินจำเลยมาก่อนก็ตาม จะถือโดยอนุโลมว่าที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินจำเลยด้วยหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะภายในบริเวณที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่ที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเดินทางผ่านที่ดินปิดล้อม: การแบ่งแยกที่ดินต้องพิจารณาที่ดินเดิมที่แบ่งแยกมา ไม่ใช่ที่ดินแปลงแรก
การที่เจ้าของที่ดินที่ถูก ที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมใช้ สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่ง ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะนั้น เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ จึงต้อง แปลโดย เคร่งครัดดังนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนด เลขที่ 33092ก็ต้อง ถือ โดย เคร่งครัดว่าที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 เท่านั้น แม้ที่ดินโฉนด เลขที่ 33092 จะเคยเป็นที่แปลงเดียว กับที่ดินจำเลยมาก่อนก็ตาม จะถือ โดย อนุโลมว่าที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินจำเลยด้วย หา ได้ ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ เฉพาะ ภายในบริเวณที่ดินโฉนด เลขที่ 33092 ซึ่ง เป็นที่ดินแปลงที่ที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 จะใช้ สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางผ่านที่ดินปิดล้อม: การแบ่งแยกที่ดินต้องพิจารณาตามโฉนดที่ดินปัจจุบัน ไม่สามารถอ้างสิทธิทางผ่านจากที่ดินเดิมได้
เจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมสามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด จะแปลโดยอนุโลมหาได้ไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 จะเคยเป็นที่แปลงเดียวกับที่ดินจำเลยมาก่อนก็ตาม จะถือโดยอนุโลมว่าที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินจำเลยด้วยหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะภายในบริเวณที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่ที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางผ่านที่ดินปิดล้อม: การแบ่งแยกที่ดินและการตีความสิทธิเรียกร้องทางผ่าน
การที่เจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้นั้น เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด จะแปลโดยอนุโลมหาได้ไม่เมื่อที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่33092 แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 จะเคยเป็นที่แปลงเดียวกับที่ดินจำเลยมาก่อนก็ตามจะถือโดยอนุโลมว่าที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินจำเลยด้วยหาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะภายในบริเวณที่ดินโฉนดเลขที่ 33092 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่ที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบเนื่องจากจำเลยไม่ได้รับแจ้งและไม่มีโอกาสคัดค้านราคา จำเลยมีสิทธิเข้าร่วมฟังการขาย
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยร่วมกันชำระหนี้ให้โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนอง ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในชั้นบังคับคดีจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไม่ชอบ เนื่องจากในวันขายทอดตลาดจำเลยทั้งสองได้เข้าพบผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเพื่อนำหลักฐานมาแสดงว่าได้มีการตกลงกับโจทก์ให้งดการบังคับคดีไว้ ซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลก็ได้มีคำสั่งให้เลื่อนการขายทอดตลาดจากเวลา 10 นาฬิกาไปเป็นเวลา 14 นาฬิกาเพื่อให้จำเลยนำหลักฐานมาแสดงและกำชับด้วยว่าให้มาศาลก่อนขายทอดตลาดจำเลยมาศาลเวลา 13.20 นาฬิกา ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปแล้วถ้า ข้อเท็จจริงเป็นดัง จำเลยอ้างก็อาจเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบเนื่องจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่อยู่ในเวลาขายทอดตลาด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไปโดยไม่ได้ไต่สวนให้ได้ความชัด เสียก่อนว่า สมควรเพิกถอนการขายทอดตลาดหรือไม่ ดังนี้ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไป และสั่งใหม่ตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรขณะคดีอุทธรณ์ยังไม่สิ้นสุด การรอคำวินิจฉัยศาลก่อนชำระภาษี
ผู้ต้องเสียภาษีฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลภาษีอากรกลาง กรมสรรพากร กลับนำมูลกรณีเดียว กันมาฟ้องขอให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระค่าภาษีอากรตาม ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย ดังนี้ โดย ที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติว่า ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อ ศาลนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ ว่าที่บัญญัติไว้เช่นนี้ ก็โดย วัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไข ยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อผู้ต้อง เสีย ภาษีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อ ศาลอยู่ โจทก์มีสิทธิจะได้ รับชำระภาษีตาม ที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอฟังคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ชำระภาษีอากรตาม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องไม่ เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อ ศาลก็จะไร้ผล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากมีพฤติการณ์ไม่สุจริตและไม่พยายามชำระหนี้
จำเลยและสามีต่าง รับราชการมีเงินเดือนซึ่ง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่ สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วย เงินเดือนได้ จำเลยจึงมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใด อีกถือ ได้ ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ และการอ้างทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และกำหนดจำนวนได้แน่นอน แม้จำเลยและสามีจะเป็นข้าราชการมีเงินเดือนรวมกันเดือนละ 8,590 บาท แต่เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) โจทก์ไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้จำเลยอ้างว่ามีเงินเหลือเดือนละ 4,000 บาท แต่จำเลยก็ไม่ชำระซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่มีความสุจริตในการชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นแม้จำเลยจะเป็นข้าราชการแต่ไม่ชำระหนี้อีกทั้งไม่แสดงว่าพยายามจะชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์โดยสุจริต จึงสมควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน 60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน 60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ และการอ้างทรัพย์สินภายหลังศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และกำหนดจำนวนได้แน่นอน แม้จำเลยและสามีจะเป็นข้าราชการมีเงินเดือนรวมกันเดือนละ8,590 บาท แต่เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)โจทก์ไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้จำเลยอ้างว่ามีเงินเหลือเดือนละ 4,000 บาท แต่จำเลยก็ไม่ชำระซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่มีความสุจริตในการชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นแม้จำเลยจะเป็นข้าราชการแต่ไม่ชำระหนี้อีกทั้งไม่แสดงว่าพยายามจะชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์โดยสุจริต จึงสมควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้.