พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องรอการประเมินภาษีและแจ้งรายการประเมินให้ลูกหนี้ทราบก่อน จึงจะบังคับชำระหนี้ได้
แม้ลูกหนี้จะมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นรายปีก็ตาม แต่จะต้องเสียเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินภาษีและแจ้งรายการประเมินให้ลูกหนี้ทราบแล้วตามความในภาค 3เรื่องวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา 38ฉะนั้นเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้ประเมินภาษีและแจ้งให้ลูกหนี้ทราบจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย ลูกหนี้ก็ยังไม่ต้องชำระหนี้ภาษีดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ภาษีนั้น พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 43บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระ จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องรอการประเมินภาษีจากเจ้าหน้าที่ และห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนจากเงินเพิ่ม
แม้ลูกหนี้จะมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นรายปีก็ตาม แต่จะต้องเสียเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินภาษีและแจ้งรายการประเมินให้ลูกหนี้ทราบแล้วตามความในภาค 3เรื่องวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา 38ฉะนั้นเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้ประเมินภาษีและแจ้งให้ลูกหนี้ทราบจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย ลูกหนี้ก็ยังไม่ต้องชำระหนี้ภาษีดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ภาษีนั้น
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 43บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระ จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้.
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 43บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระ จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5504/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหนีหนี้ภาษี: เพิกถอนนิติกรรมได้หากโอนโดยรู้หนี้และเจตนาทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าตนได้ชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนจะต้องถูกประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่ม และหนี้ภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วนไว้ในปีใดก็เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้วในปีนั้น ไม่ใช่หนี้จะเกิดมีขึ้นในปีที่มีการแจ้งประเมิน การโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโอนไปโดยรู้อยู่ว่าตนมีหนี้ภาษีอากรที่จะต้องชำระ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้ภาษีอากรให้แก่โจทก์ได้ การทำนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 สมคบกับจำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์สามารถที่จะนำเอาทรัพย์ที่รับโอนมานั้นบังคับชำระหนี้ได้ แต่จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทแปลงหนึ่งจากจำเลยที่ 5 ไม่ได้รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้จำเลยที่ 5 เป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงไม่อาจจะเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 6 ได้ โจทก์คงมีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทสามแปลงที่เหลือเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5504/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหนี้สูญ การเพิกถอนนิติกรรมเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการกระทำที่ทำให้ทรัพย์สินลดลง
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าตนได้ชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนจะต้องถูกประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่ม และหนี้ภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วนไว้ในปีใดก็เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้วในปีนั้น ไม่ใช่หนี้จะเกิดมีขึ้นในปีที่มีการแจ้งประเมิน การโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโอนไปโดยรู้อยู่ว่าตนมีหนี้ภาษีอากรที่จะต้องชำระ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้ภาษีอากรให้แก่โจทก์ได้ การทำนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 สมคบกับจำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์สามารถที่จะนำเอาทรัพย์ที่รับโอนมานั้นบังคับชำระหนี้ได้ แต่จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทแปลงหนึ่งจากจำเลยที่ 5 ไม่ได้รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้จำเลยที่ 5 เป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงไม่อาจจะเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 6 ได้ โจทก์คงมีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทสามแปลงที่เหลือเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายหนี้สูญและการหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: หลักเกณฑ์การปฏิบัติโดยสมควรและการพิสูจน์รายจ่าย
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งต้องพิจารณาตามสภาพของกิจการที่ประกอบอยู่ว่าสมควรจะทำได้เพียงใดหนี้ของโจทก์เกิดจากการขายลดเช็คและทรัสต์รีซีท ลูกหนี้บางรายโจทก์ดำเนินคดีอาญาหรือฟ้องคดีแพ่งบางรายมิได้ฟ้องคดีเนื่องจากหนี้มีจำนวนเล็กน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่ายแต่โจทก์ได้ให้คนติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ปรากฏว่าไม่มีที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ จึงไม่ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีสำหรับรายที่ศาลพิพากษาแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จะนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นภายหลังมาเป็นตัวกำหนดเจตนารมณ์ในการแปล กฎหมายที่ใช้อยู่เดิมเพื่อเป็นการเพิ่มภาระของผู้เสียภาษีย่อมไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจำหน่ายหนี้เหล่านั้นเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิได้
โจทก์ทำหลักทรัพย์ขาดบัญชีโดยความบกพร่องหรือผิดพลาดในการบริหารงานของโจทก์ ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเป็นหุ้นที่ซื้อจากผู้ใด จำนวนกี่หุ้น เป็นเงินเท่าใด ได้รับมาครบถ้วนหรือไม่แม้โจทก์จะมีผู้สอบบัญชีอนุญาตตรวจรับรองว่าโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวซื้อหลักทรัพย์มาทดแทนส่วนที่หายไปก็ตาม ไม่ใช่เป็นกรณีจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี(18).
โจทก์ทำหลักทรัพย์ขาดบัญชีโดยความบกพร่องหรือผิดพลาดในการบริหารงานของโจทก์ ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเป็นหุ้นที่ซื้อจากผู้ใด จำนวนกี่หุ้น เป็นเงินเท่าใด ได้รับมาครบถ้วนหรือไม่แม้โจทก์จะมีผู้สอบบัญชีอนุญาตตรวจรับรองว่าโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวซื้อหลักทรัพย์มาทดแทนส่วนที่หายไปก็ตาม ไม่ใช่เป็นกรณีจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี(18).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายหนี้สูญและการหักค่าใช้จ่ายทางภาษี การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและขอบเขตการพิสูจน์
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งต้องพิจารณาตามสภาพของกิจการที่ประกอบอยู่ว่าสมควรจะทำได้เพียงใดหนี้ของโจทก์เกิดจากการขายลดเช็คและทรัสต์รีซีท ลูกหนี้บางรายโจทก์ดำเนินคดีอาญาหรือฟ้องคดีแพ่งบางรายมิได้ฟ้องคดีเนื่องจากหนี้มีจำนวนเล็กน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่ายแต่โจทก์ได้ให้คนติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ปรากฏว่าไม่มีที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ จึงไม่ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีสำหรับรายที่ศาลพิพากษาแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จะนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นภายหลังมาเป็นตัวกำหนดเจตนารมณ์ในการแปล กฎหมายที่ใช้อยู่เดิมเพื่อเป็นการเพิ่มภาระของผู้เสียภาษีย่อมไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจำหน่ายหนี้เหล่านั้นเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์ทำหลักทรัพย์ขาดบัญชีโดยความบกพร่องหรือผิดพลาดในการบริหารงานของโจทก์ ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเป็นหุ้นที่ซื้อจากผู้ใด จำนวนกี่หุ้น เป็นเงินเท่าใด ได้รับมาครบถ้วนหรือไม่แม้โจทก์จะมีผู้สอบบัญชีอนุญาตตรวจรับรองว่าโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวซื้อหลักทรัพย์มาทดแทนส่วนที่หายไปก็ตาม ไม่ใช่เป็นกรณีจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี(18).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้า, หน้าที่ชำระภาษีอากร, การประเมินราคา, และข้อยกเว้นการเรียกดอกเบี้ย
การนำสินค้าเข้าเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเมื่อจำเลยนำสินค้าเข้ามาในอาณาจักรสำเร็จ จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้โจทก์ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้คืนสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายและผู้ขายได้คืนเงินค่าสินค้าให้จำเลยแล้ว ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้า, ความรับผิดทางภาษีอากร, การประเมินราคา, และดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
การนำสินค้าเข้าเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเมื่อจำเลยนำสินค้าเข้ามาในอาณาจักรสำเร็จ จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้โจทก์ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้คืนสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายและผู้ขายได้คืนเงินค่าสินค้าให้จำเลยแล้ว ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.
ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเสียภาษี: การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าสำหรับผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งแล้วขายไปได้กำไรเพียงเล็กน้อย แต่โจทก์ซื้อมาแล้วขายไปภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษ และก่อนขายที่ดินแปลงนี้ โจทก์ก็ได้ขุดหน้าดินไปถมที่ดินของคนอื่นซึ่งโจทก์รับเหมาถมที่ดินไปแล้ว เมื่อรวมเงินจากการขายที่ดินและเงินที่โจทก์ได้รับจากการขุดหน้าดินขายดังกล่าวแล้ว โจทก์มีกำไรมิใช่น้อย อีกทั้งโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้และขอยกเว้นการเสียภาษีดังกล่าวตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ที่ดินแปลงนี้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้
การที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพรับจ้างถมดินซื้อที่ดินสองแปลงในระยะเวลาเดียวกันเพื่อขุดเอาหน้าดินไปถมที่ดินแปลงอื่น แล้วขายหรือจำหน่ายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นหลังจากขุดหน้าดินไปแล้ว นั้นถือได้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ซื้อขายที่ดินร่วมกับ ส. เข้าลักษณะของคณะบุคคลมีเงินได้พึงประเมินและรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 และ 77 โจทก์จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีของคณะบุคคลนั้นทั้งหมดเต็มจำนวน มิใช่รับผิดเพียงครึ่งเดียว
การที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพรับจ้างถมดินซื้อที่ดินสองแปลงในระยะเวลาเดียวกันเพื่อขุดเอาหน้าดินไปถมที่ดินแปลงอื่น แล้วขายหรือจำหน่ายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นหลังจากขุดหน้าดินไปแล้ว นั้นถือได้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ซื้อขายที่ดินร่วมกับ ส. เข้าลักษณะของคณะบุคคลมีเงินได้พึงประเมินและรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 และ 77 โจทก์จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีของคณะบุคคลนั้นทั้งหมดเต็มจำนวน มิใช่รับผิดเพียงครึ่งเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร และการระบุหน้าที่เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าสำหรับคณะบุคคล
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งแล้วขายไปได้กำไรเพียงเล็กน้อย แต่โจทก์ซื้อมาแล้วขายไปภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษ และก่อนขายที่ดินแปลงนี้ โจทก์ก็ได้ขุดหน้าดินไปถมที่ดินของคนอื่นซึ่งโจทก์รับเหมาถมที่ดินไปแล้ว เมื่อรวมเงินจากการขายที่ดินและเงินที่โจทก์ได้รับจากการขุดหน้าดินขายดังกล่าวแล้ว โจทก์มีกำไรมิใช่น้อย อีกทั้งโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้และขอยกเว้นการเสียภาษีดังกล่าวตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ที่ดินแปลงนี้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินแปลงนี้ การที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพรับจ้างถมดินซื้อที่ดินสองแปลงในระยะเวลาเดียวกันเพื่อขุดเอาหน้าดินไปถมที่ดินแปลงอื่น แล้วขายหรือจำหน่ายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นหลังจากขุดหน้าดินไปแล้ว นั้นถือได้ว่าโจทก์ขายที่ดินเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ซื้อขายที่ดินร่วมกับ ส. เข้าลักษณะของคณะบุคคลมีเงินได้พึงประเมินและรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 และ 77โจทก์จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีของคณะบุคคลนั้นทั้งหมดเต็มจำนวนมิใช่รับผิดเพียงครึ่งเดียว