พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าคอนเดนเซอร์ และข้อยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 30
สินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.15 เป็นสินค้าประเภทที่ใช้เพื่อความสะดวกสบายหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอัตราอากรจึงได้ กำหนดไว้สูงถึงร้อยละ 80 ส่วนสินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.17 นั้น เป็นสินค้าที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการผลิตหรือเป็นสินค้าประเภทที่นำมาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการ ผลิตผลงานอย่างอื่น จึงได้กำหนดพิกัดอัตราอากรไว้ต่ำลงมาเพียงร้อยละ 30 คำว่า"เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จึงหมายถึงเครื่องปรับอากาศหรือส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่ใช้เพื่อความสะดวกสบาย ส่วนคำว่า"ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่84.17ก. นั้น หมายถึงเครื่องที่จะระบายความร้อนให้กับเครื่องจักรขณะที่เครื่องจักรทำงาน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรสินค้าคอนเดนเซอร์ที่โจทก์นำเข้ามา เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายและไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15ข.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทสินค้า (คอนเดนเซอร์) เพื่อเสียอากร และสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการยื่นคำขอตามมาตรา 30
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า เครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานจำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์ประกอบขึ้นด้วยกลอุปกรณ์ใด และสามารถผลิตสิ่งใดได้บ้าง ไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต คอนเดนเซอร์จึงมิใช่เครื่องจักรตามพิกัดประเภทที่ 84.17ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จำเลยยื่นคำขอและเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ได้ระบุในใบเสร็จว่า ประเภทอื่น ๆโดยมิได้ระบุเฉพาะลงไปว่าเป็นภาษีประเภทใด เมื่อจำเลยระบุในคำขอว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจการทำการค้า การที่จำเลยเสียภาษีอากรดังกล่าว ย่อมรวมถึงภาษีการค้าด้วย จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทสินค้า (คอนเดนเซอร์) เพื่อเสียอากรและสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามกฎหมาย
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า เครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานจำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์ประกอบขึ้นด้วยกลอุปกรณ์ใด และสามารถผลิตสิ่งใดได้บ้าง ไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต คอนเดนเซอร์จึงมิใช่เครื่องจักรตามพิกัดประเภทที่ 84.17ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15ข.
จำเลยยื่นคำขอและเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ได้ระบุในใบเสร็จว่า ประเภทอื่น ๆโดยมิได้ระบุเฉพาะลงไปว่าเป็นภาษีประเภทใด เมื่อจำเลยระบุในคำขอว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจการทำการค้า การที่จำเลยเสียภาษีอากรดังกล่าว ย่อมรวมถึงภาษีการค้าด้วย จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.
จำเลยยื่นคำขอและเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ได้ระบุในใบเสร็จว่า ประเภทอื่น ๆโดยมิได้ระบุเฉพาะลงไปว่าเป็นภาษีประเภทใด เมื่อจำเลยระบุในคำขอว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจการทำการค้า การที่จำเลยเสียภาษีอากรดังกล่าว ย่อมรวมถึงภาษีการค้าด้วย จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์การประเมินภาษีศุลกากร: การฟ้องคดีแม้มีการอุทธรณ์ และการประเมินราคาตามราคาตลาด
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิวรรคสามเป็นเพียงข้อกำหนดว่าอาจอุทธรณ์ได้ ถ้ามิได้อุทธรณ์ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อมีการอุทธรณ์แล้วแม้จะมิได้พิจารณาอุทธรณ์หรือพิจารณาไม่เสร็จก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีฉะนั้นเมื่อมีการประเมินภาษีอากรอันจะพึงต้องเสียและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่ชำระก็เป็นการโต้แย้งสิทธิและโจทก์มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้ทันที การที่จำเลยขอความเป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 เกี่ยวกับการประเมินภาษีถือเป็นการอุทธรณ์การประเมินอากร ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม แต่ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรศุลกากร: สิทธิในการอุทธรณ์และอำนาจฟ้องคดีเมื่อมีการประเมินภาษีและราคาอันแท้จริง
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิวรรคสามเป็นเพียงข้อกำหนดว่าอาจอุทธรณ์ได้ ถ้ามิได้อุทธรณ์ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อมีการอุทธรณ์แล้วแม้จะมิได้พิจารณาอุทธรณ์หรือพิจารณาไม่เสร็จก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีฉะนั้นเมื่อมีการ ประเมินภาษีอากรอันจะพึงต้องเสียและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่ชำระก็เป็นการโต้แย้งสิทธิและโจทก์มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้ทันที
การที่จำเลยขอความเป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 เกี่ยวกับการประเมินภาษีถือเป็นการอุทธรณ์การประเมินอากร ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม แต่ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด
การที่จำเลยขอความเป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 เกี่ยวกับการประเมินภาษีถือเป็นการอุทธรณ์การประเมินอากร ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม แต่ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากร: ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเกณฑ์สำคัญ และการอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
จำเลยยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1เกี่ยวกับการประเมินภาษีศุลกากร ถือว่าเป็นอุทธรณ์การประเมินอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม ไม่ใช่เป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้โจทก์ที่ 1 จะไม่ได้วินิจฉัยหรือวินิจฉัยไม่เสร็จ เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีอากรตามที่ได้ประเมินย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง พนักงานของโจทก์ที่ 1 ประเมินเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับสินค้าจำพวกเขากวางอ่อนติดกะโหลกที่จำเลยนำเข้าระหว่างวันที่ 2 และ 6พฤศจิกายน 2521 การกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาด โดยอาศัยราคาจากบัตรวิเคราะห์ราคาทำขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ห่างจากวันที่จำเลยนำสินค้าพิพาทเข้าประมาณ 3 เดือน ซึ่งโจทก์สอบถามไปยังกงสุลฝ่ายศุลกากรประจำกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง โดยได้ทำการสอบราคาจากร้านสรรพสินค้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน 3 ร้าน และร้านขายเครื่องยาจีนที่มีขนาดใหญ่พอสมควร 4 ร้าน แล้วเฉลี่ยราคา เพื่อความเป็นธรรมจากนั้นจึงลดราคาเป็นการขายส่งอีกร้อยละ 20 คิดเป็นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3,179.74 เหรียญฮ่องกง แต่ได้มีการปัดเศษราคาตามบัตรราคาจึงเป็นกิโลกรัมละ 3,180 เหรียญฮ่องกง ถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าการประเมินของโจทก์จึงชอบ จำเลยต้องรับผิดชำระภาษีอากรเพิ่มจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินประกันคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นจากตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087 โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087
โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087
โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4775/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่แท้จริงในท้องตลาด: การประเมินอากรตามบัญชีราคาสินค้า vs. ราคาตกลงซื้อขายจริง
ราคาตามบัญชีราคาสินค้าหรือไพรซ์ลิสท์ ที่จำเลยใช้ประเมินเรียกเก็บอากรเพิ่มจากโจทก์ เป็นราคาที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าที่โจทก์นำเข้าในต่างประเทศกำหนดขึ้นสำหรับเสนอขายสินค้าเป็นการทั่วไปโดยผู้ผลิตสินค้าแจ้งมาว่า ราคาตามบัญชีราคาสินค้าที่ตั้งขึ้นเพื่อเสนอขายดังกล่าวจำเป็นต้องตั้งราคาขายไว้เพื่อการเจรจาซื้อขายกันต่อไป เมื่อมีการเจรจาขายสินค้าแล้วตกลงซื้อขายกันราคาจะต่ำกว่าราคาที่บริษัทกำหนดขึ้นเพื่อขาย ดังนี้ ราคาสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าหรือไพรซ์ลิสท์ จึงไม่ใช่ราคาที่ได้มีการซื้อขายกันแท้จริง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงเป็นราคาทำขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับโจทก์และเป็นราคาสินค้าที่ใช้จำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าเป็นราคาที่มีการตกลงซื้อขายกันจริงโดยมิได้มีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขายให้ราคาต่ำกว่าปกติที่จะซื้อขาย จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนหรือระหว่างดำเนินคดี
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้วไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง