พบผลลัพธ์ทั้งหมด 711 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีเมื่อไม่นำเอกสารหลักฐานมาให้ตรวจสอบ
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19,20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้ โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบและประเมินภาษี แม้จะเคยตรวจสอบแล้ว และการประเมินภาษีจากเอกสารที่ไม่สมบูรณ์
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 ถึง 2519 สรรพากรจังหวัดขอนแก่นได้เคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มเติมมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อในระยะเวลา 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขตครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่น ตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ครบถ้วน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2517ถึง 2519 เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ย่อมมีอำนาจแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มได้ โดยอาศัยอำนาจตามป.รัษฎากร มาตรา 19,20 โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้างโจทก์โดยมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินที่จ่ายโดยโจทก์ยินยอมและไม่ปรากฏว่าการคำนวณตามที่โจทก์ยินยอม โจทก์ต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเกินกว่าความเป็นจริงตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีดังกล่าวไม่ถูกต้องย่อมไม่ได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบและประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีจากหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่
ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้
โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).
ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้
โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4629/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีอากรเกิน 10 ปีเป็นโมฆะ ผู้มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมิน
การใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ต้องกระทำภายในสิบปี นับแต่วันอาจใช้อำนาจดังกล่าวได้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 และแจ้งการประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ทราบในเดือนสิงหาคม 2518 เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 แต่จำเลยเพิ่งมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ของโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2530 อันเป็นเวลาล่วงเลยกำหนดระยะเวลาสิบปีการยึดของจำเลยจึงไม่ชอบ การฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดมิใช่กรณีการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมิน จึงไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายจากเงินบำเหน็จออกจากงานตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2524 นายจ้างของโจทก์จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้โจทก์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2524 เป็นเงิน 94,140 บาทครั้นวันที่ 5 มกราคม 2525 จ่ายเงินบำเหน็จเพราะโจทก์ออกจากงานให้อีก 545,358.25 บาท ไม่ปรากฏว่านอกจากนี้นายจ้างยังจ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญอีก เงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์เพียงครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานชอบที่จะหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากเงินบำเหน็จและบำนาญเมื่อออกจากงาน: เงินบำเหน็จหักค่าใช้จ่ายได้
ตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อออกจากงานมีอยู่ 2 ลักษณะ คือเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และเงินได้จ่ายในลักษณะเป็นบำเหน็จจำนวนหนึ่งและมีลักษณะเป็นบำนาญอีกจำนวนหนึ่งซึ่งกรณีที่นายจ้างจ่ายในลักษณะหลังนี้ เงินบำนาญเท่านั้นที่จะหักค่าใช้จ่ายตามบทบัญญัติมาตรานี้ไม่ได้ และตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 4 ให้คำจำกัดความคำว่า บำเหน็จว่าเป็นเงินตอบแทนความชอบ ฯลฯ ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว ส่วนบำนาญหมายความว่าเป็นเงินตอบแทน ฯลฯซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่านอกจากนายจ้างของโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จให้โจทก์แล้ว นายจ้างยังได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนภายหลังโจทก์ออกจากเงินอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญด้วยฉะนั้นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดซึ่งรวมถึงเงินบำเหน็จด้วย จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ชอบที่โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามที่มาตรา 42 ทวิ วรรคสาม บัญญัติไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรกรณีสินค้าส่งออกต้องเป็นไปตามหลักฐานเดิมที่นำเข้า การสุ่มตรวจวัดน้ำหนัก/ความยาวต้องสมเหตุสมผล
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 มาตรา 19 (ง) กำหนดเวลาเฉพาะการขอคืนเงินอากรว่าจะต้องขอภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป มิได้มีบทบัญญัติว่าจะต้องคืนเมื่อใดหรือในกรณีที่จะไม่คืน จะต้องแจ้งให้ผู้ขอคืนทราบเมื่อใด จึงต้องพิจารณาตามการที่จะพึงปฏิบัติโดยปกติธรรมดาคือจะต้องคืนหรือแจ้งให้ผู้ขอทราบว่าคืนให้ไม่ได้ภายในเวลาอันสมควรเมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 6 ปีเศษ และเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยยังอ้างว่าอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะคืนให้หรือไม่อีก โดยไม่มีกำหนดเวลาว่าการพิจารณานั้นจะสิ้นสุดเมื่อใด เป็นการบ่ายเบี่ยงเสมือนไม่รับรู้สิทธิของโจทก์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินอากรให้โจทก์ตามที่ขอก็คือน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อหลาของสินค้าผ้าที่โจทก์นำเข้าและส่งออกนั้นต่างกัน แต่การคำนวณหาน้ำหนักและความยาวของผ้าทั้งตอนนำเข้าและส่งออก ได้มาโดยวิธีคำนวณเอาจากข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง สินค้าผ้าดังกล่าวมีความยาวต่อม้วนตั้งแต่ 21 - 188 หลา มีสีต่างกัน 10 - 11 สี เมื่อความยาวของผ้าแต่ละม้วนแตกต่างกันอย่างมากและน้ำหนักของผ้าเป็นกรัมต่อหลาจะแตกต่างกันไปตามสีของผ้า การคำนวณโดยวิธีสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งน้ำหนักเฉลี่ยต่อหลาที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันไม่ถึง 0.1 กิโลกรัมต่อหนึ่งหลา จะฟังเอาข้อแตกต่างที่ได้มาโดยคลาดเคลื่อนต่อความจริงและแตกต่างเพียงเล็กน้อยมาฟังว่าเป็นสินค้าคนละรายไม่ได้ ในชั้นตรวจปล่อยสินค้าพิพาท หากเป็นสินค้าคนละรายกับที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานของจำเลยน่าจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีเช่นนั้น แต่เจ้าพนักงานของจำเลยหาได้ดำเนินการใด ๆ คงตรวจปล่อยสินค้าพิพาทออกไป เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อโจทก์ขอคืนเงินค่าภาษีอากร ข้ออ้างของจำเลยข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้
ข้อที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินอากรให้โจทก์ตามที่ขอก็คือน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อหลาของสินค้าผ้าที่โจทก์นำเข้าและส่งออกนั้นต่างกัน แต่การคำนวณหาน้ำหนักและความยาวของผ้าทั้งตอนนำเข้าและส่งออก ได้มาโดยวิธีคำนวณเอาจากข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง สินค้าผ้าดังกล่าวมีความยาวต่อม้วนตั้งแต่ 21 - 188 หลา มีสีต่างกัน 10 - 11 สี เมื่อความยาวของผ้าแต่ละม้วนแตกต่างกันอย่างมากและน้ำหนักของผ้าเป็นกรัมต่อหลาจะแตกต่างกันไปตามสีของผ้า การคำนวณโดยวิธีสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งน้ำหนักเฉลี่ยต่อหลาที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันไม่ถึง 0.1 กิโลกรัมต่อหนึ่งหลา จะฟังเอาข้อแตกต่างที่ได้มาโดยคลาดเคลื่อนต่อความจริงและแตกต่างเพียงเล็กน้อยมาฟังว่าเป็นสินค้าคนละรายไม่ได้ ในชั้นตรวจปล่อยสินค้าพิพาท หากเป็นสินค้าคนละรายกับที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานของจำเลยน่าจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีเช่นนั้น แต่เจ้าพนักงานของจำเลยหาได้ดำเนินการใด ๆ คงตรวจปล่อยสินค้าพิพาทออกไป เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อโจทก์ขอคืนเงินค่าภาษีอากร ข้ออ้างของจำเลยข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิเรียกคืนภาษีอากร: ศาลฎีกาวินิจฉัยการเพิกเฉยของเจ้าหน้าที่รัฐและการมีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม2515 ข้อ 18 มาตรา 19(1) กำหนดเวลาไว้เฉพาะการขอคืนเงินอากรว่าจะต้องขอภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป โดยมิได้มีบทบัญญัติว่าจะต้องคืนเมื่อใด หรือกรณีที่จะไม่ให้คืนจะต้องแจ้งให้ผู้ขอคืนทราบในเวลาเท่าใด ในกรณีเช่นนี้จะต้องพิจารณาตามการที่ควรจะพึงปฏิบัติโดยปกติธรรมดา คือจะต้องคืนหรือแจ้งให้ผู้ขอทราบว่าคืนให้ไม่ได้ในเวลาอันควร โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากโจทก์ยื่นคำร้องของคืนถึง 6 ปีเศษและเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยก็ยังอ้างว่าอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะคืนให้หรือไม่ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยบ่ายเบี่ยงไปทำเสมือนไม่รับรู้สิทธิของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณกำไรสุทธิและค่าใช้จ่ายในการต่อเรือตามประมวลรัษฎากร การหักค่าใช้จ่ายต้องเป็นของรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ บัญญัติว่า "การคำนวณกำไรสุทธิฯลฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย ฯลฯ" ดังนั้น รายจ่ายอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรีย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ แต่รายจ่ายนั้น ๆ จะต้องเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่คำนวณกำไรสุทธินั่นเองเมื่อปรากฎว่าต้นทุนการต่อเรือ 4,632,314.33 บาท เท่านั้นที่เป็นรายจ่ายของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2520ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อเรือสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2520 จึงนำค่าใช้จ่ายอื่นดังกล่าวนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักข้าวโพดตามความชื้น และความจำเป็นในการมีหลักฐานการขาย
โจทก์รับซื้อข้าวโพดจากพ่อค้าและสหกรณ์ของชาวไร่ซึ่งมีความชื้น 17-18 เปอร์เซ็นต์แต่โจทก์จะคิดหักน้ำหนักข้าวโพดโดยถือน้ำหนักในระดับความชื้น 14.7 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดตามสูตรที่พ่อค้าข้าวโพดในประเทศไทยยอมรับใช้กันทั่วไปเมื่อโจทก์รับซื้อแล้วจะนำไปอบให้มีความชื้นไม่เกิน 14.5 เปอร์เซ็นต์ย่อมทำให้น้ำหนักลดลงไปอีก ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2515ถึง 1516 โจทก์ซื้อข้าวโพดรวม 147,493,815 ตัน ยอดสินค้าข้าวโพดคงเหลือยกมา 31,616,977 ต้น รวมเป็นสินค้ามีไว้ขายระหว่างปี 179,100.792 ตัน ยอดขายในระหว่างปีจำนวน 162,259.859 ต้น สินค้าคงเหลือปลายปีควรจะเป็น 16,840.933 ตัน แต่ยอดคงเหลือ15,749,793 ตัน น้ำหนักข้าวโพดขาดหายไปจำนวน 1,091.140 ตัน เมื่อเทียบส่วนน้ำหนักที่ขาดไปไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์น้อยกว่าขั้นต่ำของน้ำหนักที่ลดซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการเกษตรว่า เมล็ดข้าวโพดที่เก็บไว้นานน้ำหนักจะละระหว่าง 193 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ยซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของเมล็ดข้าวโพด ประกอบกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ออกเมื่อปี 2515 ห้ามมิให้โจทก์จำหน่ายข้าวโพดในประเทศ การขายข้าวโพดออกไปต่างประเทศมีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากจึงเป็นการยากที่โจทก์จะละเว้นไม่ลงบัญชี จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชี 1,091.140 ต้น เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพดที่ส่งออกไปต่างประเทศแต่ละครั้งมีน้ำหนักสุทธิ 494,210 เมตริกตัน และ237,505 เมตริตัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะส่งออกไปเพียงประมาณ1,000 ต้นเศษ โดยไม่ลงหลักฐานการขายไปต่างประเทศ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเป็นการขายโดยไม่ลงบัญชีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีในส่วนข้าวโพดที่ขาดหายไปย่อมไม่ถูกต้อง เพราะน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเนื่องจากความชื้น เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นกับสินค้าประเภทเมล็ดข้าวโพด